พื้นฐานไฟฟ้าในบ้าน ตอนที่1 -0 เกริ่นวิธีการเรียน ติดดราม่านิดหน่อย

จะพูดคุยเชิญที่นี่นะครับ>> http://www.ac108.com/forum_thai/index.php?topic=768.0

พื้นฐานไฟฟ้าในบ้านตอนที่1 นี้ จะพูดถึงพื้นฐานภาคปฏิบัติที่ควรเป็น หรือควรฝึกหัดจนเป็น คือการต่อหลอดฟลูออเรสเซนต์ การต่อปลั๊กไฟ เราจะเรียนหรือหาที่เรียนอย่างไร ถ้าเป็นแล้วก็ข้ามบทนี้ไปได้เลย  >>ไปหมวด ไฟฟ้าพื้นฐาน สำหรับ DIY 

จะเขียนเรื่องนี้อย่างไรถ้าคนอ่านไม่มีพื้นฐานเรื่องไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน ค่าไฟฟ้าจากอุปกรณ์ต่าง ทั้งคำว่า โวล์ท กระแส ความต้านทาน วัตต์ และอื่นๆค่อนข้างต้องใช้ประสบการณ์และอุปมาอุปไมยเยอะ ยังไงก็ตามผมจะพยายามใช้ภาษาที่ง่าย ถ้าตรงไหนยากผมจะบอกว่ายากให้อ่านผ่านๆหรืออ่านข้ามๆไป หรือใช้กูเกิ้ลค้นหาคำที่ไม่เข้าใจ

เข้าใจว่าผมจะเขียนไปเรื่อยๆอีกหลายตอนจนกว่าท่านผู้สนใจจะดีไอวายหรือทำอะไรยากๆซับซ้อนๆหน่อยเป็น มันจะไปยากอะไรครับผมเรียนมาทางเครื่องกล เรื่องไฟฟ้าผมก็ไม่เคยกลัว ลองทำมันดูแล้วจะเป็นประสบการณ์ชีวิตที่ดี

ระบบสายส่งไฟฟ้าในประเทศไทย Thailand electricity transmission line anime สายส่งกระแสไฟฟ้า สายส่ง สายส่งไฟฟ้า เสาไฟฟ้าแรงสูง เสาไฟฟ้า
ระบบสายส่งไฟฟ้าในประเทศไทย เป็นภาพแบบการ์ตูนแสดงให้เห็นระบบสายไฟ เสาไฟฟ้าแรงสูง จริงๆมันวิ่งมาด้วยสายไฟสามชุด ผ่านหน้าบ้านทุกคนด้วยสายไฟ4เส้น แต่จะจั๊มเข้าบ้านเราเพียงสองเส้นคือ L และ N (ไลน์และนิวทรอล) ภาพ CC by pui108diy ก๊อปเอาไปใช้ได้เลยครับwiki <ที่นี่

 

ไฟฟ้าคืออะไร คืออะไรก็ช่างก่อนนะ แต่การไฟฟ้าส่งสิ่งนั้นมาตามสายไฟให้เราใช้ ด้วยการเสียบเครื่องใช้ไฟฟ้า แล้วเราก็ใช้มัน ถึงเวลาก็จ่ายตังค์ ถ้ามองในแง่มันสร้างงานให้เราได้ ไฟฟ้าทำให้พัดลมหมุนแล้วเราก็รู้สึกเย็นขึ้น ไฟฟ้าทำให้หม้อหุงข้างร้อนหุงข้าวให้เราจนสุกกินได้ มองในแง่ที่เราใช้มันเป็นไหมก็ต้องบอกว่าทุกคนใช้มันเป็นด้วยการเลียนแบบคนที่ใช้เป็นหรือศึกษาจากสื่ออะไรก็ได้ที่ทำให้เราใช้เป็น รู้แค่นี้ใช้เป็นพอไหม ผมว่าก็พอแล้วนะ

แต่ถ้าจะโมดิฟาย หรือ diy อะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า รู้แค่นี้ยังไม่พอครับ     ถ้าจะไปเรียนต่อไฟฟ้าเพื่อโมดิฟาย อันดับแรกๆที่ต้องเรียนพื้นฐานที่สำคัญก่อน ต่อหลอดไฟฟ้าทำแบบปลั๊กเสียบเป็นหรือยัง ฟิวส์ เบรกเกอร์ในบ้านรู้จักและซ่อมเป็นหรือยัง ถ้าไม่เป็นอะไรเลย หาโรงเรียนสารพัดช่างที่มีครูที่เสียสละเวลามาสอนหาเรียนซะคอสนึง เพราะไฟฟ้ามันมีคุณทำงานให้เราได้แต่มันก็มีโทษมากเช่นกันเพราะอาจจะเกิดอุบัติเหตุได้โดยไม่มีใครดูแลเรา

เรื่องโดนไฟดูดหรือครับถ้าบอกว่าเป็นช่างไฟ ซ่อมไฟเป็น ทำเองเป็น แต่ยังไม่เคยโดนไฟดูด ก็แสดงว่ายังไม่เข้าใจถึงอันตรายของมัน การศึกษาเองเรียนเองทำเองนั้นขั้นแรกควรมีครูสอน เวลาโดนดูด หรือเสียบแล้วมันบึ้มจะได้รู้เท่าทันถึงอันตรายอันจะเกิดขึ้นได้ มีคนถีบเวลาโดนดูดอย่างน้อยก็เพื่อนที่เรียนด้วยกันช่วยถีบ

เล่าเรื่องพื้นฐานไฟฟ้าของผมแนวดราม่าสักเล็กน้อยSmile

พอดีผมก็ไม่เคยไปเรียนโรงเรียนเสริมซะด้วย แต่ที่โรงเรียนผมสมัยเรียนมัธยมต้น อย่างแรกวิชาไฟฟ้าที่ครูสอนให้เรียนคือ ต่อหลอดฟลูออเรสเซนต์ครับ โดยที่ยังไม่ต้องรู้หรอกว่าไฟฟ้าคืออะไร  จำได้ว่า ห้องลูกกรงใต้ตึกสุวรรณสมโภชที่เรียกว่าห้องไฟฟ้าครูที่สอนผมเรียกว่ามาสเตอร์นะ มาถึงมาสเตอร์สราวุธก็ไม่พูดพร่ำทำเพลง แจกกล่องไฟฟ้าที่ทุกคนต้องซื้อ ข้างในกล่องเหล็กสีฟ้า มีอุปกรณ์คือไขควงชุดแช๊มเปี้ยนซองสีเขียว ด้ามใส เปลี่ยนปลายด้ามได้หลายแบบ ตั้งแต่ปากแฉก+2 ปากแฉก+1  จนถึงปากแบนเบอร์ไรไม่รู้  หัวแร้งแช่20W ยี่ห้อ hakko ซึ่งใช้โคตรดีจนยังใช้อยู่ทุกวันนี้(ซื้อมาใหม่อันเก่าหายไปแล้ว) ฐานหัวแร้งพร้อมสก๊อตไบรต์1อัน ฟลั๊กสำหรับเชื่อม ยี่ห้อ BURNLEY1ตลับ ค้อนช่างไฟ คีม1อันยี่ห้อไรจำไม่ได้หายไปนานแล้ว  ตะกั่วม้วนเล็กมากอย่างดี ทุกอย่างดีเพอเฟคหมด

กล่องเครื่องมืองานไฟฟ้า my electrical tool box
กล่องเครื่องมือสำหรับงานไฟฟ้าของผมเอง ที่เห็นนี่เป็นเครื่องมือพื้นฐาน บางตัวโดยเฉพาะกล่องนี่อยู่กับผมมาตั้งแต่มัธยมต้น ทุกวันนี้ก็ยังใช้อยู่ในบ้าน ภาพ CC by pui108diy

ตอนหลังไปซื้อตะกั่วเพิ่มที่หลังบ้าน  ซึ่งเชื่อมห่าอะไรไม่เคยติด เป็นตะกั่วม้วนสีเขียว ตอนนั้นยังสงสัยอยู่เลยว่าซื้อตะกั่วฟิวส์มาใช้หรือเปล่าวะนี่ เชื่อมไรไม่ติดเลย พอตอนหลังซื้อตะกั่วเชื่อมมาใหม่แบบมีน้ำยาเชื่อมอยู่ในแกนะตั่วกั่ว ยี่ห้อจำไม่ได้แล้วล่ะ เลยโยนไอ้ตะกั่วม้วนเขียวทิ้งไป น่าจะมีอุปกรณ์อื่นๆอีกแต่จำได้แค่นี้แหละ

หลังจากได้อุปกรณ์ทั้งหมดพร้อมกล่องในราคา 400 บาทแล้ว มาสเตอร์สราวุธ ก็ชี้ไปที่กระดานเขียวที่วาดวงจรด้วยช็อกสีขาว นี่คือวงจรหลอดไฟ แล้วก็แจกไม้หน้าสาม ขนาดราวๆ กว้าง5นิ้ว ยาว24นิ้ว หนาครึ่งนิ้ว พร้อมหลอดไฟ 18W บาลาสไฟฟ้า สตาร์ทเตอร์ ฐานสตาร์ทเตอร์ ขั้วหลอดฟลูออเรสเซนต์2อัน สายไฟอีก3เมตร และสวิทช์กลางทางอีกตัวหนึ่ง พร้อมปลั๊กตัวผู้   มาถึงเสียงแจ้วๆก็ดังไปทั่ว ต่อกันอย่างเมามันส์ จนหมดชั่วโมง ให้เอามาต่อใหม่สัปดาห์หน้าพร้อมส่ง  ตอนส่งงานนี้สนุกมาก ตอนเสียบส่งงานของบางคนมีเสียงบึ้มของเบรกเกอร์ที่ติดไฟในห้องไฟฟ้า ซึ่งมันเป็นที่ตื่นเต้นมาก

สัปดาห์ต่อไป ให้ไม้อัดมา ตลับเก็บสายไฟตอนเชื่อม ฐานหลอดไฟ  สวิทช์ 3ทาง2ตัว หลอดไฟแบบไส้ขนาดกี่วัตต์จำไม่ได้แระ สายไฟและปลั๊กตัวผู้  อ่าสัปดาห์นี้มาสเตอร์จะให้ต่อสวิทช์ 3 ทางกัน  ประโยชน์บลาๆๆ การต่อบลาๆๆๆ  บลาๆๆๆ= จำห่าอะไรที่มาสเตอร์สอนไม่ได้ จดวงจรจากกระดานเขียว  แล้วก็ต่อๆมันเข้าไป  สุดท้ายก็ใช้ได้  เปิดที่จุดนึง อีกจุดนึงก็ปิดได้ เปิดก็ได้    เพิ่งมารู้หลังๆจากต่อไปแล้วก็ค่อยรู้ประโยชน์ ว่าเอาไว้เปิดปิดไฟระหว่างชั้น

สัปดาห์ต่อไป  ……

สัปดาห์ต่อไป  วันนี้เราจะมาต่อ นาลิกาดิจิตอล คราวนี้มากันเป็นแผ่นปริ๊น แล้วกไอซี แล้วก็ หน้าปัดแอลอีดีเซเว่นเซ็กเม้น(ชื่อเรียกนี้เพิ่งรู้เมื่อไม่กี่ปีนี้แหละ)เป็นชนิดแผ่นแก้วซะด้วย คราวนี้มีวงจรกระดาษมาด้วย บลาๆๆๆ   สรุปก็เชื่อมวงจรกันอย่างเมามันส์ประกอบลงกล่อง

ความทรงจำในวัยเด็กรู้สึกว่าสนุก และ สนุกอย่างเดียว

พอโตขึ้นไปเรียนวิศวะ

โชคดีผมได้เรียนช็อบซ้ำถึงสองรอบเนื่องจากปีแรกตก ไม่ผ่านก็เลยได้เรียนซ้ำ ซึ่งช็อบ แปลว่าร้าน ถ้าแปลอีกอย่างก็ห้องทดลองซึ่งมีมากมายหลายอย่างมากเลย และแล้วผมก็เจอห้องไฟฟ้าอีกรอบ  คราวนี้อาจารย์ที่สอนผมจำไม่ได้แล้วน่ะ แต่ก็ต้องขอบคุณแกที่สอนผมจนมีความรู้ ตอนผมเรียนวิดวะลาดกระบัง ผมเรียนเครื่องกล แต่ที่นี่ปี1 ถึงปี2เทอม1 บังคับเรียนแบบไม่แยกสาย คือเรียนหมดทุกวิชาพื้นฐานสำหรับทุกวิศวะ ไฟฟ้า คอม แมท ไมโครโปร แลป หรือช็อบก็เรียนทั้งของ โยธา เครื่องกล ไฟฟ้ากำลัง ไฟฟ้าสื่อสาร ไฟฟ้าอินสตรู ในประเทศไทยคงมีไม่กี่ที่ที่เรียนหมดทุกภาควิชาโดยเฉพาะแลปทุกภาควิชาจริงๆ

มามา…ที่แลปไฟฟ้ากำลัง  ไฟฟ้ากำลังคืออะไรไม่รู้อีกเหมือนกัน มีแลปที่ให้ต่อแม็กเนติก อาจารย์แจกเอกสารให้ต่อตามนี้ ได้ผลอย่างไร ให้อาจารย์ตรวจก่อนเสียบปลั๊ก อ่ามีมันส์มีช็อต ไฟดูดนี่โดนมากับตัวเลยเด้งออกมาจากเก้าอีที่นั่งเลย สรุปต่อไปได้ผลตามที่สอน แต่กูไม่รู้จะเอาไปทำอะไร รู้แต่กดสวิทช์ แม่เหล็กในแม็กเนติกมันก็ดูดหลอดไฟมันก็ติด  ก็รู้แค่นี้แหละ  แต่พบว่าแลปทั้งหมดก็สนุกดี แต่ค่อนข้างเครียด เพราะไม่รู้ว่าเอาไปใช้ประโยชน์ต่อเนื่องได้อย่างไร

มามา…ทำงานซ่อมเครื่องจักร
เคสแรกที่เจอคือไฟฟ้า แต่กู กูจบเครื่องกลมา เครื่องร้องอลามไม่หยุดไม่หยุด ด้วยความใจดีสู้เสื้อปิดเบรกเกอร์เครืองจักรก่อนเปิดฝาเครื่องตู้ไฟฟ้าออกมา
พบอุปกรณ์ที่ไม่รู้จักมากกว่าครึ่งนึง แต่มีอุปกรณ์ที่รู้จักอยู่อีกครึ่งนึง กูทำไง เจอแม็กเนติกอ่ากูรู้จักๆ  แต่มีราวๆ4-5ตัว  มีตัวไรก็ไม่รู้ต่อพ่วงกับแม็กเนติก

Magnetic contactor ,overload on machine , แม็กเนติก โอเวอร์โหลด
หน้าตา แม็กเนติก และโอเวอร์โหลดในตู้ไฟฟ้าจริงๆ ที่ผมได้จับได้ซ่อมเป็นครั้งแรกตอนทำงานวันแรก แม็กเนติกหน้าตาก็เหมือนตอนสมัยเรียนภาคปฏิบัติ แต่ตอนเรียนมันไม่มีโอเวอร์โหลดนี่สิครับ ภาพ CC by pui108diy

แต่ๆกู กูไม่รู้จัก ทำไง ทำไงดี เลยสนใจแต่ที่กูรู้จัก พบน็อตที่ขันล็อกสายไฟออกจากแม็กเนติกไม่แน่นเลยไขให้แน่น และอุปกรณ์ที่ไม่รู้จัก(จริงๆเรียกว่าโอเวอร์โหลด) ดูปุ่มมันแปลกๆกว่าอันข้างๆ อยาก อยากลองกดดู หวังว่าคงไม่พัง กดซะมีเสียงดังกริ๊ก แล้วก็ไล่ดูแต่อุปกรณ์ที่รู้จัก อ่าหมดปัญญาแล้วเปิดเครื่องดูดีกว่า เสียงอลามหายไปแล้ว ก็ไปบอกเขาว่าซ่อมเสร็จแล้ว  พอวันรุ่งขึ้นก็ไปค้นคว้าใหญ่ว่าที่ทำไปกูทำอะไรไปตรงไหน อ่านวงจรดูไล่ดู หาหนังสือดูว่าอุปกรณ์พวกนี้ทำหน้าที่อะไร พอปิ๊งกระจ่างก็รู้แล้วว่าทำถูกซ่อมถูก แต่ตอนนั้นกูไม่รู้ว่าทำถูกซ่อมถูกได้อย่างไร

 

กก
ภาพ CC by “Niabot, because wikimedia commons lost his roots” [GFDL or CC BY 3.0], via Wikimedia Commons
การต่อหลอดฟลูออเรสเซนต์ การต่อปลั๊ก ต่อไฟเบื้องต้น

หาวิธีเรียนรู้

 

หาที่เรียน  เช่น

โรงเรียนสารพัดช่างส่วนใหญ่ถ้าเป็นของกรุงเทพจะฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ต้องออกค่าอุปกรณ์คือซื้อเองบ้างหรือช่วยครูเป็นค่าเอกสารหรือค่าอุปกรณ์บางอย่างซึ่งครูจะแนะนำเองซึ่งค่าใช้จ่ายอย่างมาก็เป็นหลักร้อยน่ะครับซึ่งครูเหล่านี้เป็นบุคคลผู้เสียสละ สละทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายส่วนตัวหวังจะให้ผู้เรียนลูกศิษย์มีความรู้ประกอบอาชีพได้ ผมเคยไปเดินดูเหมือนกันส่วนใหญ่สอนด้วยความรักสนุกมากครับ คีย์เวิดในการค้นหาคือ “ศูนย์ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร” หรือ “โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร

วิทยาลัยสารพัดช่าง ก็เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าศึกษาเพื่อเอาไปประกอบอาชีพ ค่าเรียนก็ถูกแสนถูกเป็นหลักร้อย แถมคอสที่เรียนจะลงลึกมากว่ามาก ลองหาดูนะครับ ตัวอย่างของวิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร> electric.bpc.ac.th   ลองหาดูคำว่าหลักสูตรระยะสั้น  ส่วนใหญ่เรียนกัน 45-150 ชั่วโมง ค่าสมัครอยู่ที่ 50-160 บาท

เรียนด้วยตนเอง

ถ้าคุณอ่านออกเขียนได้ พิมพ์คอมได้ เล่นอินเตอร์เน็ทได้ดี ในเว็ปก็มีครับเยอะแยะดังนี้

ลองหาในกูเกิ้ลครับบล็อกต่างๆก็มีมากมาย แต่ถ้าต้องการวีดีโอ แนะนำยูทูปครับ คีย์เสิชในยูทูป เช่น “เรียนรู้ช่างไฟฟ้าเบื้องต้น”“ไฟฟ้าเบื้องต้น”  หรือคำอะไรก็ได้ที่คุณอยากรู้ เช่น  หลอดไฟฟ้าการเปลี่ยนปลั๊กไฟ

ถ้าเป็นเว็ปความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับไฟฟ้า หลักการของไฟฟ้า ไฟฟ้ากระแสตรง กระแสสลับ คำจำกัดความของ โวลท์ แอมป์ โอมห์ และอื่นๆเกี่ยกับไฟฟ้า และฟิสิกส์อื่น แนะนำ  ฟิสิกส์ราชมงคล เป็นเว็ปการเรียนรู้ด้วยตนเองที่ดีที่สุดที่ผมเคยเจอมาครับ www.rmutphysics.com/charud/scibook/index/index.htm   ทั้งคนที่เคยมีพื้นฐานอยู่แล้วหรือยังไม่มีพื้นฐาน ทางเว็ปฟิสิกส์ราชมงคลจัดให้ทุกอย่าง  ถ้าลองหาอ่านดูบรรทัดล่างสุด ในหมวดคำว่า การเรียนการสอนฟิสิกส์ 2  ผ่านทางอินเตอร์เน็ต จะมีคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวกับไฟฟ้าให้เลือกเรียนได้มากมายครับ แถมยังมีภาพและลูกเล่นให้เรียนและรู้ทฤษฎีอย่างแน่นครับ แต่ไม่มีวิธีการต่อหลอดไฟ ปลั๊กนะครับ

มีเว็ปที่ให้ความรู้จริงๆในด้านไฟฟ้า และไฟฟ้าอุตสาหกรรม เป็นวีดีโอ และความรู้อื่นๆอีกมากมายครับ แนะนำเว็ปนี้ edltv.vec.go.th ครับ เป็นโครงการ E learning เพื่อพัฒนาอาชีพตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพฯ ใช่ครับมันไม่ใช่มีแต่เรื่องไฟฟ้ามีทุกเรื่อง  สำหรับเรื่องไฟฟ้า>> edltv.vec.go.th คลิ๊กได้เลย มีอาจารย์สอนบรรยายเป็นเรื่องๆ แต่จะหนักเป็นทฤษฎีมากหน่อย

 

การต่อปลั๊กให้ถูกและสวยงามต้องต่อให้ได้แบบนี้นะครับ Tongue Out ภาพ จากเว็ปแห่งหนึ่งของญี่ปุ่นโมกันสนุกมาก

plug_create_charactor copy

introduce_web_plug_create_gundum
แนะนำเว็บไซต์การต่อปลั๊กเป็นกันดั้ม >> portal.nifty.com/kiji/121116158385_1.htm by 平井聡平(ひらいそうへい )

อย่างไรก็ตามผม เน้นการปฏิบัติ คือการทำ มากกว่า ถ้าได้เรียนมีครูสอน เราจะไม่กลัวโดนไฟดูดนัก อย่างน้อยก็มีคนช่วยถึบเราออกจากไฟดูด แบบฝึกหัดแรกๆคือ ต่อหลอดไฟให้เป็น ต่อปลั๊กให้เป็น ป้องกันอันตรายจากไฟดูดให้เป็น และรู้จักเข้าใจระบบตัดตอนป้องกันอุปกรณ์เสียหาย หรือกันช็อตให้เป็น ส่วนทางทฤษฎีลองหาในอินเตอร์เน็ท อย่างน้อยเว็ปของฟิสิกส์ราชมงคลก็ให้คำตอบได้เกือบหมด

และพื้นฐานไฟฟ้าในบ้านในตอนต่อๆไป ผมจะพยายามเพิ่ม ในส่วนที่ใช้กับชีวิตจริงให้มากเข้าและพยายามไม่ให้ซ้ำหรือซ้ำน้อยที่สุดในการให้คำจำกัดความและการเอาไปใช้จริงที่มีเว็ปอื่นๆให้ความรู้อยู่แล้ว

 

ขอขอบคุณ วีดีโอการต่อไฟเบื้องต้น จากครูทั้งหลายที่เสียสละเวลามาสอนครับ
1 หลักการต่อไฟฟลูออเรสเซนต์ youtube by vecstudy

 

2 ไฟฟ้าเบื้องต้น  youtube by nammon

 

3 หลอดไฟฟ้า (ครู อภิชัย สังขมณี) youtube by POM2498

 

4 สวิทช์ 2 ทาง ตอนที่1 by KruPanyaWorks

 

5 สวิทช์ 2 ทาง ตอนที่2 by KruPanyaWorks

 

 

เกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้าพื้นฐานเบื้องต้น

ผลงานวีดีโอ ของครูปัญญา ทองทวีวัฒนา โรงเรียน ปัญญาวรคุณ มีเยอะมากจริงๆ พอย้อนกลับมาดูอีกทีมันมีมากจนไม่รู้ผมจะเขียนบทความไปทำไมหว่า

วีดีทัศน์ by KruPanyaWorks  ทั้งหมด

เครื่องมือ

ไขควง  ไขควงปลายแม่เหล็ก  ไขควงวัดไฟ  ตลับเมตร

คีมปากแหลม  คีมรวมหรือคีมผสม   สว่านไฟฟ้า   สว่านไฟฟ้า ชนิดเจาะกระแทก

สปริงดัดท่อ และเครื่องมือในการตัดท่อ พีวีซี ในงานไฟฟ้า

อุปกรณ์ วงจร และการสาธิตเบื้องต้น

 สายไฟ ชนิดและขนาดต่างๆ   การเดินสายไฟ   การต่อสายไฟแบบต่างๆ  เคเบิ้ลไทร์และไส้ไก่พันสายไฟฟ้า

 เต้าเสียบ ตอนที่1    เต้าเสียบ ตอนที่2

เต้ารับ ตอนที่1   เต้ารับ ตอนที่2

สวิทช์ การประกอบ   สวิทช์ 2ทาง ตอนที1    สวิทช์ 2ทาง ตอนที2

โครงสร้างของปลั๊กฟิวส์และลูกฟิวส์     cut out(คัทเอ้าท์)

โครงสร้างของตู้คอนซูเมอร์ ยูนิต  วงจรภายในคอนซูเมอร์ ยูนิต

ลงมือทำ

 อุปกรณ์ไฟฟ้าและวงจรไฟฟ้าอย่างง่ายวงจร

หลอดฟลูออเรสเซน(โคมหลอดตรง)  วงจรหลอดฟลูออเรสเซน 32 วัตต์(โคมโดนัท)

การต่อสวิตช์แบบฝังในบ๊อกซ์

การเข้าสายในบ๊อกซ์ตัวที่ 1และ 2 ของแผงสาธิตวงจร ตอนที่ 1 (ปลั๊ก สวิทช์ไฟ และสวิทช์ไฟ2ทาง)

การเข้าสายในบ๊อกซ์ตัวที่ 1และ 2 ของแผงสาธิตวงจร ตอนที่ 2

 

จบแค่นี้นะครับ ตอนต่อไปลิ้งค์ข้างล่างเลยครับ

 

พื้นฐานไฟฟ้าในบ้าน ตอนที่2 -0 วงจรหลอดไฟ สวิทช์สามทาง ปลั๊ก L N G และเบรกเกอร์

หมวด ไฟฟ้าพื้นฐาน สำหรับ DIY

 

 15,057 total views,  1 views today

Comments

comments

เผยแพร่โดย

pui

เรียน อนุบาลวัฒนา อัสสัมชัญ พระจอมเกล้าลาดกระบัง ทำงาน ซ่อมบำรุงเครื่องจักร ออกแบบโรงงาน ทีปรึกษาซ่อมเครื่องจักร อดิเรก ทำเว็บ ทำงานประดิษฐ์ ปลูกต้นไม้ เขียนบล็อก ทำสมาธิวิปัสสนา อนาคต ขายของ บวช เข้าถึงธรรมะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *