(กำลังเขียน)
ในเรื่องนี้เราจะเรียนเชิงค้นคว้าในเรื่องไฟฟ้า เครื่องกล พลังงาน หรืออะไรก็ได้ จากการอ่านได้ป้ายระบุไฟฟ้า(electrical name plate)หรือป้ายที่บอกถึงคุณลักษณะของผลิตภัณท์ ซึ่งจริงๆแล้วผมก็ได้ความรู้จากป้ายเหล่านี้แล้วก็ค้นคว้าจากกูเกิ้ลทำให้ได้ความรู้ความคิดอย่างกว้างขวางมากครับ
ในบทความนี้จะมีความเยิ่นเย้อ วกวนอย่างมาก เพราะป้ายระบุผลิตภัณท์อะไรก็ตามเราสามารถนำมาวิเคราะห์และแตกแขนงออกไปซึ่งมีจำนวนมากมาย แล้วจับภาพรวมมาชนกัน จะมีทั้งพื้นฐานไฟฟ้าในบ้าน เลยไปจนถึงพื้นฐานของวิชาหลายแขนง ซึ่งอาจนอกเหนือไปจนถึงไฟฟ้าโรงงานและการคำนวน เท่าที่ผู้เขียนจะสามารถหาความรู้มาบรรยายได้ การเรียนรู้เชิงค้นคว้านี้ทำให้ผู้ที่สนใจใฝ่รู้ รู้จักคุย คิด แล้วคลิ๊กไอเดีย จากนั้นก็ลงมือคลำและทำให้มีข้อผิดพลาดที่น้อยลงความสำเร็จในการทำจะมากขึ้น
จริงๆในใจผมก็แค่อย่างน้อยก็ขอให้ท่านผู้สนใจอ่านป้ายระบุผลิตภัณท์ไฟฟ้าเป็น รู้ว่ากินไฟกี่วัตต์ ใช้ไฟกี่โวลท์กี่แอมป์ หรือแยกแยะได้พอสมควร เท่านี้ก็พอใจแล้วครับ ส่วนตรงไหนยากๆแปลกๆไม่เข้าใจมีคำนวนด้วย ก็ให้อ่านข้ามๆไป ถ้าวันหน้าจะใช้งานก็พอให้มีค้นคว้าได้
เนื้อหาในเรื่องคงจะมีเรื่องเหล่านี้ ป้ายไฟฟ้าเหล่านี้
1 หลอดฟลูออเรสเซนต์ หลอดไฟฟ้า สวิทช์ ปลั๊ก เต้ารับ
2 เบรกเกอร์ รีเลย์ แม็กเนติก โอเวอร์โหลด
3 หม้อแปลง
4 ฮีตเตอร์ ปืนเป่าความร้อน เครื่องทำน้ำอุ่น กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า
5 แอร์ ชิลเลอร์ เครื่องทำน้ำเย็น ตู้เย็น
6 มอเตอร์
7 ปั๊มน้ำ
พื้นเรียนไฟฟ้า จากป้ายเครื่องใช้ไฟฟ้า
ขอเริ่มจากแอร์ก่อนนะ.
5 แอร์ ชิลเลอร์ เครื่องทำน้ำเย็น ตู้เย็น
สิ่งที่เราสนใจในเรื่องอุปกรณ์ทำความเย็นทั้งหลาย เช่นแอร์นั้น คือมันใช้ระบบไฟฟ้าหรือโวลท์กี่โวลท์ ใช้ไฟกี่สาย ใช้ไฟกี่แอมป์ ใช้เบรกเกอร์กี่แอมป์ดี ลากสายไฟใหญ่แค่ไหน กินไฟกี่วัตต์กี่บาท และสิ่งสำคัญคือมันทำความเย็นได้กี่มากน้อยเท่าไหร่และต่างกับแอร์อีกเครื่องที่ทำความเย็นได้มากกว่าอย่างไรและอันไหนจะประหยัดไฟมากกว่ากัน
5.1 แอร์ -Air conditioner
แอร์ของจำเป็น?
เอาละครับ เรามาลองสนใจป้ายระบุแอร์กันดู ว่ามันมีอะไรน่าสนใจบ้าง ป้ายระบุไฟฟ้านี้เป็นป้ายเครื่องปรับอากาศยี่ห้อ SAIJO DENKI รุ่น SHW-13UB ขนาดการทำความเย็น หรือ cooling capacity =13,140 Btu/h (3,850w) (ในป้ายผมว่ามันแปลผิดนะว่าเป็นประสิทธิภาพแต่ผมว่าไม่ใช่แน่นอน) ขนาดแอร์ประมาณ 1ตันนิดๆ(1ton=12,000Btu/h) ดูเหมือนเรื่องขนาดการทำความเย็นจะเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจเพิ่มสักนิดซึ่งผมจะอธิบายอย่างละเอียดในภายหลัง แต่นิยามในเรื่องตันหรือบีทียูของแอร์นี้ มันเป็น Btu(พลังงานในหน่วยอังกิด) ต่อ h (ชั่วโมง) จะได้ไม่สับสน บีทียู/ชั่วโมง ในที่นี้คือแอร์ดูดพลังงานความร้อนออกไปได้เท่าไหร่ใน1ชั่วโมง คือได้ 13140 บีทียู ฉะนั้นคุยกันคนละความหมายแต่ใช้ให้ถูกกาลก็จะเข้าใจว่าทุกครั้งที่คุยกันเรื่องแอร์ว่ากี่บีทียู จะหมายถึง บีทียูต่อชั่วโมง บีทียูยิ่งมากก็ทำความเย็นได้ดีกว่าอีกเครื่อง
ส่วนเรื่องสารทำความเย็นคือ R22 ซึ่งเป็นสารเคมี ที่ชื่อว่า Chlorodifluoromethane ซึ่งทำลายชั้นโอโซนถ้ามันหลุดรั่วออกไปแต่น้อยกว่า CFC11,CFC12 ซึ่งมีอะตอมของคลอรีนในโมเลกุลมากกว่า(3, 2อะตอม)และทำลายชั้นโอโซนมากกว่า ซึ่งสารทำความเย็น R22 เป็นเคมีทำความเย็นรุ่นเก่านี้ซึ่งจะค่อยๆเลิกใช้ไปในอีก 20กว่าปีข้างหน้า ปัจจุบันมีสารทำความเย็นอีกตัวที่เริ่มเข้ามาไม่กี่ปีนี้เองคือ R410A ซึ่ง เอาไปเติมแทนกันไม่ได้ ดูเหมือนจะดีกว่าในเรื่องโอโซน ความดันที่ใช้ในระบบก็สูงกว่า และราคาก็สูงกว่าด้วย สรุปเครื่องนี้ตามป้ายอีก 20 ปีก็ไม่มีให้เติมแล้วเนอะ R22
ส่วน ระบบไฟฟ้า 220 V 1 ph 50hz แสดงว่าใช้ไฟกับบ้านเราได้(เมืองนอกบางประเทศเขาใช้ไฟฟ้า100V) 1 ph คือใช้ระบบสองสายไฟ หรือใช้สายไฟสองสาย มีสาย ไลน์ กับ นิวตรอลต่อผ่านเบรกเกอร์ แล้วเข้าไปที่แอร์ ใช้กระแสไฟ=5.51 แอมป์ กินไฟ1,213 วัตต์ ขนาดการกินไฟพอๆกับเตารีด อย่างนี้น่าจะเสียบปลั๊กใช้งานได้เลยนิ? แอร์เสียบปลั๊กก็ได้หรือนี่?
ผมรู้สึกว่าในป้ายบอกว่าใช้กระแส 5.5 สำหรับแอร์ 1213 วัตต์ มันแหม่งๆอยู่ไม่น่าจะใช้นะครับน่าจะมากกว่า5.5A
เรื่องโวลท์ หรือแรงดันที่ใช้งาน หลายคงพอเข้าใจแล้วว่า ประเทศไทยใช้แรงดันไฟฟ้า 220-240 โวลท์ กระแสสลับ ชนิด 50 hz (เฮิทซ์) ส่วนประเทศอื่นๆเช่น ประเทศญี่ปุ่น ใช้แรงดันไฟฟ้าที่ 100-110v 50/60 hz เอาล่ะครับเราไม่ได้อยู่ญี่ปุ่นไม่มีปัญหา ส่วนแรงดันใช้งานในบ้านจริงๆจะวัดได้ประมาณ 230V แล้วแต่บ้านนะครับ ส่วนกระแสที่ใช้งานอยู่ที่ 5.5 A กำลังวัตต์หรือการกินไฟอยู่ที่ 1,213 วัตต์ เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้วเกิดความน่าสงสัยเป็นอย่างมากว่ากระแสที่ใช้งานน่าจะมากกว่า 5.5A เพราะอัตราการกินไฟอยู่ที่ 1,213 วัตต์ แอร์หรือเครื่องปรับอากาศเป็นโหลดมอเตอร์ซะ95เปอร์เซนต์ แต่ถ้าคิดว่าเป็นโหลดฮีตเตอร์ กระแสที่ใช้จะเป็น (หาอ่านเรื่องโหลดมอเตอร์ โหลดฮีตเตอร์กับการกินไฟได้ที่นี่)
ฮีตเตอร์ขนาด 1,213w จากP=IV =1,213 =I*220
I= 1213/220 =5.51A
แต่อันนี้เป็นแอร์โหลดเป็นมอเตอร์หรือโหลดL กระแสควรจะมากกว่า 5.5A ควรจะเป็น 6-7A ด้วยซ้ำไป เนื่องจากพวกมอเตอร์กินกระแสสูงกว่าฮีตเตอร์เพราะพวกมันต้องการกระแสไฟฟ้าไปสร้างสนามแม่เหล็ก(มอเตอร์ชนิดเหนี่ยวนำ ไม่ใช่มอเตอร์DC) แต่การกินไฟจะมากหรือน้อยขึ้นกับโหลดที่มอเตอร์รับ(แต่จะน้อยกว่าเอากระแสคูณโวล์ทแน่นอนครับ) แต่ป้ายฉลากนี้บอกว่า 1,213 วัตต์ ค่าวัตต์นี้ก็คงพอเชื่อถือได้ มากกว่าค่าแอมป์ เนื่องจากไปลองค้นดูแอร์เจ้าอื่นที่ไม่ใช่อินเวอตเตอร์ในโบรชัวร์ ก็บวกค่านี้อย่างน้อย 0.3-0.5 A ทั้งนั้นขึ้นกับขนาดแอร์ ส่วนแอร์อินเวอตเตอร์หลังๆมอเตอร์จะเป็นแบบดีซีกำลังขับดีกินกระแสเยอะแต่วัตต์ไม่สูง กระแสกระฉูดเลยรุ่นใหม่ๆตัวไม่ถึงตันแต่กินกระแสmaxที่ 10 A
คิดถึงสายไฟแอร์ และ เบรกเกอร์แอร์ นอกเรื่องไปปลั๊ก
ส่วนใหญ่แอร์หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่เป็นพวกมอเตอร์จะต่อเอามาใช้งานที่บ้านนั้น จะต่อผ่านเบรกเกอร์ โดยให้ใช้เบรกเกอร์มีขนาด 2-2.5 เท่าของกระแสไฟฟ้าที่ใช้งาน ฉะนั้นแอร์ที่กินไฟ1,213 วัตต์นี้ กินกระแสประมาณ7Amax ควรใช้เบรกเกอร์ควรใช้อย่างน้อย 10A หรือจะเลือกใช้เป็นเบรกเกอร์16A ก็ได้ราคาก็เท่าๆกัน(ถ้าเบรกเกอร์จะตัดก็คงมีประมาณช็อตแบบลัดวงจรหรือคอมเพรสเซอร์ไหม้มันก็จะตัดเหมือนๆกันไม่มีอะไรแตกต่าง) อะไรคือข้อแตกต่าง ข้อแตกต่างคือสายไฟครับ ขนาดสายไฟถ้าคุณเลือกใช้
ตัวอย่างแอร์ ประมาณ 1 ตัน ตัวนี้กินไฟ 1213 วัตต์ ราวๆ 7แอมป์ ที่220V 1เฟส
ถ้าใช้สายไฟ1.5 sqmm (ทนกระแสได้ประมาณ 14A ) ควรใช้กับเบรกเกอร์10A เท่านั้น ซึ่งขัดกับวิธีการเลือกเบรกเกอร์กับมอเตอร์ ควรใช้เบรกเกอร์อย่างน้อย 14A ซึ่งจะเลือกใช้ 10A มันก็พอใช้ได้เพราะแอร์เครื่องเล็กปัจจุบันกระแสกระชากจะไม่สูงเหมือนแต่ก่อนคงมีรีรีสวาล์วไม่ให้ความดันตกค้างอยู่ในคอมเพรสเซอร์ก่อนสตาร์ท ไม่งั้นตอนสตาร์ทก็มีเหมือนไฟกระพริบแต่ที่ผมจะแนะนำเป็น ควรใช้สายไฟขนาด2.5 sqmm เพราะสายไฟมันทนกระแสได้18A กับ เบรกเกอร์16A เท่านั้น น่าจะเหมาะและไม่ขัดกับหลักการเลือกเบรกกอร์ ส่วนพวกแอร์อินเวอเตอร์ระบบใหม่ๆจะกินกระแสสูงกว่าแอร์ระบบธรรมดาอยู่เยอะเหมือนกัน(1.5-1.8 เท่า)การเลือกสายไฟต้องดูที่สเป็กป้ายหรือโบรชัร์การกินไฟmax หรือการกินกระแสไฟที่มากที่สุดแล้วเลือกจึงเลือกใช้เบรกเกอร์ให้ถูกต้องตามครับ การเลือกสายและขนาดของเบรกเกอร์ให้เหมาะกับแอร์ขนาดต่างๆหาอ่านได้ที่นี่
ตารางบอกขนาดสายไฟ(mm2) หรือตารางมิลลิเมตร และกระแสไฟที่ทนได้ ที่อุณหภูมิภายนอก 40 C โดยมีชนิดฉนวนที่ทนดอุณหภูมิได้ 70 C แต่ถ้าจะใช้เสียบปลั๊กกับแอร์ก็ต้องใช้ปลั๊กไฟที่ได้มาตรฐานมียี่ห้อปลั๊กสวมแล้วต้องแน่นถึงแน่นมาก กระแสไฟเพียง5.5A-7A ก็เสียบปลั๊กใช้งานได้อย่างสบายแต่ส่วนใหญ่จะใช้งานเพียงชั่วคราวครับเพราะถ้าปลั๊กหลวม คอมเพรสเซอร์ของคุณอาจจะไหม้พังได้ง่ายๆนะครับ แต่ปลั๊กตัวผู้ยี่ห้อดีๆหาในเมืองไทยไม่ค่อยได้ สมัยก่อนมียี่ห้อเนชั่นแนลปลั๊กยางทนได้10Aเข้าใจว่าน่าจะเป็นของที่ไม่ได้มาตรฐานการใช้งานในประเทศไทยในปัจจุบันเดี๋ยวนี้ไม่มีขายแล้ว มีอีกแบบที่เป็นพลาสติกแข็งๆแบบสองขาแบนยี่ห้อวีน่าอันละ10 บาทได้ พวกนี้ไม่เหมาะที่จะใช้กับมอเตอร์ที่มีขนาด 1kw ขึ้นไปถ้าหลวมปลั๊กก็ละลายหรือไหม้ก็เห็นมาเยอะ มีอีกยี่ห้อที่น่าจะใช้ได้พอหาได้คือยี่ห้อ Eagle ของอเมริกา ที่มีขายส่วนใหญ่จะเป็นหน้าตาแบบข่างล่าง 125V(ซึ่งหลายคนเข้าใจว่าใฃ้กับ220Vได้ ไม่ได้ผ่าน มอก.) ทนกระแสได้15A ราคาตัวละ90บาทขึ้นไป
ปลั๊กตัวผู้ที่มีคุณภาพดีที่นิยมใช้กันในหมู่พวกที่ต้องการสร้างปลั๊กไฟที่มีคุณภาพใช้งานเอง ทนแรงดันได้125V(เอามาใช้ในเมืองไทยที่แรงดัน220V) ทนกระแสได้ 15A
ภาพที่อยากจะได้ประมาณ http://www.homelectrical.com/sites/default/files/imagecache/product-full-image/images/cwd/CWD-2867.jpg
จริงๆผมมีปลั๊กอยู่แต่ขี้เกียจถ่ายเองจัง ต้องแก้ไขเป็นที่น่าสังเกตคือ ปลั๊กตัวผู้ panasonic ไม่เห็นเคยทำออกมาขายเลย ไม่เข้าใจเหมือนกันหรืออาจเป็นเพราะมาตรฐาน มอก. ทำให้ผู้ผลิตใหญ่ๆไม่สามารถผลิตปลั๊กตัวผู้แบบที่ผู้ใช้ที่บ้านประกอบเองได้แบบฝรั่ง เพราะมีข้อกำหนดมากมาย อิงมาตรฐานของเมืองนอกดังๆแต่ไม่มีมาตรฐานแบบปลั๊กแบบประกอบเอง ผู้ใช้งานเลยประกอบปลั๊กเต้ารับยาวๆกว่า10เมตร ด้วยปลั๊กตัวผู้อันละ10-20บาทโดยไม่ได้ผ่านมาตรฐานอะไรเลย และเท่าที่ใข้งานมันก็ละลายมาเยอะแล้วครับโดยเฉพาะพวกเมืองจีนที่ทำหน้าตาเหมือนของอีเกิ้ลและขายตัวละ25บาทก็เคยลองใช้ดูแล้วในโรงงานเตะสายไปมาปลั๊กเริ่มหลวมจะหลุดออกจากเต้ารับสุดท้ายก็ละลายไหม้ ไปดูปลั๊กตัวผู้ที่ไม่ผ่าน มอก.ในประเทศ แต่บางตัวมีมาตรฐานนอก Nema5-15P แรงดันใช้งานmax 125V
มอก.ปลั๊กตัวผู้ตอนนี้มีแต่แบบหล่อสำเร็จประกอบเองไม่มีขายครับ ปลั๊กดีๆอะไรก็สามารถหลวมหลุดและไหม้ได้ครับ อาจเป็นเพราะเต้ารับไม่ดีเสียบแล้วหลวม หรือการใช้งานเช่นพรรคพวกเดินสะดุดสายเตะไปมาไม่กี่วันก็ไหม้ละลายเหมือนกัน
ภาพปลั๊กตัวผู้ที่ได้ มอก.166-2549 ปัจจุบัน หาดูได้จากหม้อหุงข้าวญี่ปุ่นรุ่นใหม่ๆจะเป็นแนวๆนี้ครับ ภาพจาก pantip http://pantip.com/topic/30609673 ไม่แน่ใจว่าภาพนี้ว่าต้องแก้ไขในเรื่องลิขสิทธิ์หรือเปล่า
ส่วนเต้ารับที่นิยมก็คือพานาอย่างที่เคยกล่าวไปแล้วในบทก่อนๆ อย่างไรก็ตามมีปลั๊กที่เหมาะกับการใช้งานและไม่ไหม้แน่เรียกว่าปลั๊กพาวเวอร์ (power plug ip44) ดังรูปข้างล่างซึ่งรูปแบบปลั๊กนี้นิยมใช้ในงานสนามที่ต้องการความปลอดภัยสูงกว่านิยมใช้ในโรงงานหรือเครื่องมือที่ใช้งานกระแสสูง
ปลั๊กพาวเวอร์ 220V-สีปลั๊กคือน้ำเงิน มีขนาด 16A และ 32A ถ้าใช้กับไฟสามเฟสตัวปลั๊กจะสีแดงๆ
อยากได้รูปภาพประมาณ http://76.my/Malaysia/5-meter-32amp-commando-plug-socket-extension-wingsoft-1301-13-wingsoft@14.jpgแอร์ที่บ้านกินไฟกี่วัตต์กี่บาท?
การกินไฟนั้นบ่งบอกไปถึงค่าไฟ กี่วัตต์ให้ดูจากป้ายเท่านนั้น ส่วนกี่บาทนั้น อย่างแรกที่คุณควรรู้คือ ค่าไฟที่บ้านคุณหน่วยละกี่บาท? ถ้าที่บ้านคุณเสียค่าไฟหน่วยละ 4.5 บาท บ้านผมราคานี้อ่ะครับปี56 (ถ้าคำนวนค่าไฟจากบิลค่าไฟฟ้าไม่เป็นให้ไปอ่านที่นี่เรื่องมิเตอร์ไฟฟ้า) ซึ่งแต่ละบ้านค่าไฟต่อหน่วยจะไม่เท่ากันขึ้นกับการใช้ไฟมากหรือน้อย ยิ่งใช้ไฟฟ้าน้อยค่าไฟต่อหน่วยจะถูกลง ยิ่งใช้ไฟมากค่าไฟต่อหน่วยจะเข้าใกล้ค่าคงทีค่านึง (ค่าไฟฐาน3.96บาท/หน่วย+ft+vat7%)
บิลค่าไฟบ้านกระผมเดือน พฤษภาคม ปี56 ,57 ,58 ยกตัวอย่างให้พอเข้าใจ
ค่าไฟปี2556 4.46 บาท/หน่วย
(ค่าไฟหน่วยละ 4.46 บาท ได้จากเอา 3,498.41 บาท/783 หน่วย)
(บิล=3,498.41บาท , 783หน่วย วันที่จด 6/6/56)
ค่าไฟปี2557 4.78 บาท/หน่วย
(บิล=5,420.82บาท , 1,134หน่วย วันที่จด 6/6/57)
ค่าไฟปี2558 4.60 บาท/หน่วย
(บิล=6,342.71บาท , 1,378หน่วย วันที่จด 6/6/58)
ดูเหมือนค่าไฟต่อหน่วยปี 2558 จะถูกลง เป็นเพราะค่า FT ลดลงจากปีก่อน 0.69 เป็น 0.49 บาท/หน่วย ดูให้ดีน่าจะเป็นผลจากน้ำมันราคาลดลงในช่วงนี้
วันที่จดคือวันที่6เดือน6 มันก็คือค่าไฟของเดือน5 ซึ่งเป็นเดือนที่ค่าไฟสูงที่สุดในรอบปีทุกปี เพราะมันร้อนที่สุด ส่วนค่าไปบ้านใครทะลุ400หน่วยไปเยอะแล้ว ค่าไปเฉลี่ยก็ใกล้เคียงกันมีสูงต่ำกว่ากันนิดหน่อยดูยาก ส่วนใหญ่ค่าไฟที่บ้านจะหนักค่าแอร์ประมาณ80เปอร์เซนต์ รองลงมาคือทีวีและคอมพิวเตอร์ ตามด้วยตู้เย็นพัดลมเตารีดและไฟส่องสว่าง ส่วนที่เหลือคือหม้อหุงข้าวไมโครเวฟ
ลองคำนวนค่าไฟจากแอร์กัน ชม.ละกี่บาท
ลองคำนวนว่าแอร์ที่บ้านกินไฟชม.ละกี่บาท ถ้าแอร์ไม่ตัด ถ้าเปิดแอร์ขนาด 13,140 Btu/hr ที่กินไฟหรือใช้กำลังไฟฟ้า 1,213 วัตต์ นาน 1ชั่วโมง จะกินไฟกี่บาท ถ้าค่าไฟหน่วยละ 4.5 บาท
ค่าไฟต่อชั่วโมง
= ค่าไฟต่อหน่วย(บาท/กิโลวัตต์-ชม.) x กำลังไฟฟ้า(กิโลวัตต์)
= 4.5 (บาท/กิโลวัตต์-ชม.) x 1,213/1000(กิโลวัตต์)
=5.46 บาท/ชม.
ค่าไฟ แอร์ 13140 Btu/hr saijo กินไฟ
ชั่วโมงละ 5.46 บาท
สมมติว่าคืนนี้อากาศร้อนเดือนพฤษภาคมเปิดแอร์ชิวๆ ตั้งไว้ที่25องศาC นาน 12 ชม. กินไฟ= 65.52 บาท โดยที่แอร์ไม่ถึง 25องศาc สักที และจะกินไฟ 131 บาท ต่อ 24 ชม.ในหน้าร้อน ถ้าแอร์มีขนาดทำความเย็นค่อนข้างมากอุณหภูมิจะลดลงถึง 25 ครับ แต่ห้องผมมันขนาด 22 ตรม. แต่ดันใช้แอร์ตันเดียว แถมมีกำแพงด้านนึงโดนแดด 5 ชม. อีกต่างหาก เปิดทั้งวันทั้งคืนก็ไม่มีทางถึง 24 องศาครับ เพราะอากาศด้านนอกห้องที่ไม่โดนแดดอุณหภูมิราวๆ34-35 องศา
แต่ถ้าไปเปิดในหน้าหนาว แอร์เด๋วทำงานเด๋วตัด ก็ลองดูอัตราส่วนของแอร์ที่ตัดกับแอร์ที่ทำงาน ถ้าตัดกับทำงานอยู่ที่ 50-50 ก็เสียเงินเพียงครึ่งเดียวเป็นต้น สามารถคำนวนดูได้หมดแแหละครับ
ที่บ้านคุณล่ะ เปิดแอร์ ชั่วโมงละกี่บาท?
EER และ COP ประสิทธิภาพของแอร์
ในป้าย Saijo SHW-13UB มีความสามารถทำความเย็นได้ 13,140 Btu/h(3,850w) กินไฟ 1,213W ระบุบนฉลากว่า ประสิทธิภาพของแอร์ตัวนี้ หรือERR =10.81/3.17 EERมันคือค่าอะไรและมาจากไหน?
มันมีค่าที่น่าสนใจในตารางคือค่า EER (Energy Efficiency Ratio) แปลตรงๆคือ อัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงาน หรือค่าประสิทธิภาพในการทำความเย็น(บีทียู/ชม.)ได้ต่อกำลังงาน(วัตต์)ที่ให้เข้าไป
และอาจจะระบุถึง COP (Coefficient of performance) หรือค่าประสิทธิภาพของแอร์ซึ่งบอกถึงประสิทธิภาพการทำความเย็น(วัตต์)ได้ต่อกำลังงาน(วัตต์)ที่ให้
ซึ่งถ้ามีความรู้เรื่องหน่วย ถ้าแปลงหน่วยจาก Btu/hr เป็น Watt ได้ EERกับCOPมันก็คือค่าๆเดียวกัน แต่ดันไปพูดกันคนละหน่วยทำให้คนทั่วๆไปงงเล่น (คุยเรื่องแอร์ก็คุยเรื่องบีทียูเพราะฝารั่งเป็นคนคิด) เพราะ บีทียู/ชม. ก็แปลงเป็นวัตต์ได้อยู่แล้วเอาเป็นว่าแปลง่ายคือ EER และ COP ก็คือประสิทธิภาพของแอร์ในการทำเย็นต่อกำลังไฟฟ้าที่ให้ ถ้ามีค่าสูงแสดงว่าอะไรครับ?
ในป้าย Saijo SHW-13UB รุ่นเล็ก มีความสามารถทำความเย็นได้ 13,140 Btu/h(3,850w) กินไฟ 1,213W ระบุบนฉลากว่า ประสิทธิภาพของแอร์ตัวนี้ หรือERR =10.81/3.17 EERมันคือค่าอะไรและมาจากไหน?
ถ้าเราลองเอาปริมาณทำความเย็นได้ของแอร์เครื่องนั้น หารด้วย การกินไฟ หรือกำลังไฟฟ้าที่มันต้องใช้ในการทำเย็น ก็จะได้ประสิทธิภาพ(EER)ของแอร์ (ถ้าเอาปริมาณการทำความเย็นเป็นหน่วยวัตต์ หารด้วยการกินไฟ ก็จะได้ค่าCOP ตัวหลังเครื่องหมาย/)
ประสิทธิภาพของแอร์ไซโจ รุ่น 13,140 บีทียู หาได้จาก
EER =13,140/1,213 =10.832 (Btu/h)/w
หรือCOP = 3,850/1,213 = 3.1739 w/w
ซึ่งได้ค่าตรงกับฉลากแอร์ EER = 10.81/3.17
ฉะนั้น EER ของแอร์จึงบอกถึงประสิทธิภาพการทำความเย็นของเครื่องนั้นๆว่าประหยัดไฟกว่าแอร์อีกเครื่องหรือไม่ เมื่อให้กำลังงานไฟฟ้าเท่ากัน
และแอร์ Saijo Denki รุ่นใหญ่ SHW-18up ขนาดทำความเย็น 1,8950 Btu/h (หรือทำความเย็นได้ 5,590W) ระบบไฟ 220V 1ph 50hz กระแส=7.9A กินไฟ 1,668w
EER /COP = 11.36/3.33 <<คราวนี้ป้ายระบุชัดเจน ว่าEER และ COP
ป้ายระบุไฟฟ้าแอร์ไซโจSHW-18UB ประมาณ 1คันครึ่ง ประสิทธิภาพของแอร์ไซโจรุ่นนี้ 18,950 บีทียู หาได้จาก
EER =18950/1668 = 11.3609 (Btu/h) /w
มาถึงคำถามที่สำคัญแล้ว
แอร์ที่มีค่าEER มากกว่าจะประหยัดค่าไฟได้กี่บาท?
ถ้าห้องผมยัง 22 ตารางเมตรเหมือนเดิม แต่ตอนนี้มีแอร์ ตัวเล็ก1ตัน ถ้าเปลี่ยนเป็นตัวใหญ่ตันครึ่งที่มีEERมากกว่าเดิม0.52 (Btu/h) /w จะประหยัดค่าไฟกว่าไหมครับ?? เดือนละกี่บาท?? ถ้าผมยังเป็นคนเดิม นิสัยเหมือนเดิม ความขี้ร้อนเท่าเดิม
ทั้งสองเครื่อง EER ไม่เท่ากัน เครื่องใหญ่ มากกว่า เครื่องเล็ก เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ถ้าเราเลือกเครื่อง EER มากกว่าแล้วจะประหยัดไฟได้เดือนละกี่บาทครับ ช่วยกันคิดหน่อยเร็ว แอร์สองตัวนี้ มีค่า ตัวเล็ก EER 10.81 < ตัวใหญ่ EER 11.36 เมื่อเอามาลบกัน จะได้ผมต่างของ EER = 0.52 (Btu/h) /w เมื่อตั้งคำถามว่าเดือนละกี่บาทอ่ะที่ประหยัด
สมมติสภาพแวดล้อมให้ถูกต้องก่อนแก้โจทย์
ป้ายมันบอกว่าแอร์18,950 บีทียู/ชม. ประสิทธิภาพดีกว่า คือ ถ้าห้องเล็กๆของผมเปลี่ยนจากแอร์ 13,140 บีทียู/ชม. เป็นตัวใหญ่ จริงๆจะบอกว่าแอร์ทั้งสองตัวเป็นแอร์ที่บ้าน ผมก็เคยนอนทั้งสองห้องมาแล้วใช้เวลาเปิด-ปิดแอร์เหมือนที่สมมติไว้จริงๆครับ ผมเอาพฤติกรรมของผมจริงๆเป็นเกณท์แล้วจึงสมมติเรื่องความร้อนที่ต้องเอาออกจากห้องนอน การที่จะตอบคำถามว่ากี่บาท ต้องสมมติโจทย์ให้ถูกต้อง ดังนี้
ถ้าผมยังเป็นคนเดิมสมมติอยู่ในหน้าฝนเซทติ้งอุณหภูมิเหมือนเดิมทุกอย่าง จาก30C เย็นถึง28ผมรู้สึกเย็นพอก็ปิดแอร์ทันที(เปิดพัดลมเป่าตลอดเวลา พอรู้สึกร้อนก็ค่อยเปิดใหม่ ) ตัวใหญ่จะทำความเย็นได้เร็วกว่าเพราะแอร์ตัวใหญ่กว่าบีทียูเยอะกว่า มันทำให้อากาศในห้องเย็นได้ในเวลาประมาณ 20นาที ส่วน ไอ้ตัวเล็กใช้เวลาประมาณ30นาที ซึ่งแอร์ทั้งสองของที่บ้านปรกติก็ตั้งเวลาประมาณเท่านี้จริงๆ มันบอกว่าอะไรครับถ้าความรู้สึกเย็นแล้วผมรีบปิด ก็คือไอ้ตัวใหญ่ประหยัดไฟกว่าหรือเปล่า คำตอบคือใช่ครับ แล้วมันประหยัดไฟกว่ากี่บาท กี่บาทมันตอบยากครับเอาอย่างงี้ครับ ถ้าในห้องมีอากาศที่มีค่าความร้อนที่ต้องเอาออกเพื่อให้อากาศเย็นเย็นปุ๊ปปิดไม่สนใจความร้อนจากกำแพงและสิ่งของในห้อง สมมติว่าอากาศมีความร้อนต้องเอาออกเพื่อให้อุณหภูมิในห้องลดลงจาก30C เป็น 28C เป็นปริมาณความร้อน 6,570บีทียู(หน่วยของพลังงานไม่ใช่บีทียูต่อชม.) หรือ 6955 กิโลจูลที่ต้องเอาออกจากอากาศ มาลองคำนวนดูว่าแอร์เครื่องเล็กและแอร์เครื่องใหญ่เอาความร้อนออก 6,570 บีทียูออกไป จะกินไฟต่างกันกีบาทครับ
หมายเหตุ ที่ผมตั้งค่า 6,570 บีทียู นี้แสดงว่าความร้อนที่เอาออกประมาณนี้ไม่ว่าเครื่องเล็กหรือเครื่องใหญ่ทำให้ผมรู้สึกเย็นพอที่จะปิดแอร์แล้ว ค่าความร้อนนี้ผมคิดง่ายๆว่าเครื่องเล็กเปิดครึ่งชม. ก็เลยเอาขนาดบีทียูเครื่องเล็กมาหารสองจากแอร์ 13,140 บีทียู/ชม แสดงว่า1ชม. เอาความร้อนออกได้ 13,140 บีทียู ครึ่งชม.เลยได้ค่าความร้อน 6,570 บีทียู
ส่วนเครื่องใหญ่เมื่อลองเอาค่าความร้อนที่ต้องเอาออกจากห้องมาหาร ด้วยบีทียูต่อชั่วโมงจะได้ค่าชั่วโมงออกมาดังนี้
จำนวนชม.เปิด เครื่องใหญ่1ครั้ง เมื่อเอาความร้อนออก 6570บีทียู
= ค่าความร้อนที่ต้องเอาออก/ค่าความร้อนที่แอร์เอาออกได้ต่อชม.
= 6,570 (บีทียู)/ 18,950 (บีทียู/ชม.)
= 0.3467 ชม. (*60 จะได้ 20.8 นาที )
ใกล้เคียงกับที่เปิดแอร์ตัวใหญ่จริงๆในชีวิตประจำวัน ครั้งละ20นาที
เปิดแอร์เล็ก 1,3140 บีทียู/ชม. เอาความร้อน6,570 บีทียูออกใช้เวลา 0.5 ชั่วโมง กำลังไฟฟ้าที่แอร์ต้องการคือ 1,213W (อ่านจากป้าย) ใช้ไฟฟ้าไปกี่หน่วยกี่บาท
แอร์เล็กนี้เปิดครึ่งชั่วโมงใช้ไฟไปกี่หน่วย
= (1,213W /1000) *0.5 ชั่วโมง = 0.6065 หน่วย
หน่วยมิเตอร์ไฟฟ้า คือ Kwh (กิโลวัตต์-ชั่วโมง) หรือ 1ชั่วโมงกินไฟ1000w
แอร์เครื่องเล็กเดินครึ่งชม.เย็นแล้วปิดแอร์คิดเป็นเงิน
=0.6065หน่วย*4.5 บาทต่อหน่วย = 2.72925 บาท
เปิดแอร์ใหญ่ 18950 บีทียู/ชม. เอาความร้อน6570 บีทียูออกใช้เวลา0.3467 ชม. (20.8 นาที) กำลังไฟฟ้าที่แอร์ต้องการคือ 1,668W(อ่านจากเนมเพลท) ใช้ไฟฟ้าไปกี่หน่วยกี่บาท?
ใช้ไฟไปกี่หน่วย = 1.668Kw * 0.3467 h =0.5782 หน่วย
คิดเป็นเงิน =0.5782หน่วย*4.5 บาทต่อหน่วย= 2.6019 บาท
ผลต่างของการกินไฟคือเครื่องใหญ่หรือแอร์ที่มีEERมากกว่าอีกเครื่องอยู่0.52 (Btu/h) /w จะประหยัดเงินกว่าเมื่อเปิด1ครั้งแล้วความเย็นถึงเป็นเงิน
= 2.72925-2.6019
= 0.12735 บาท /ครั้งที่เปิด
ถ้าวันนึงผมเปิดๆปืดราวๆ6 ครั้งต่อวัน ใน1เดือนถ้าใช้เครื่องใหญ่ประหยัดเงินไปกี่บาท
1เดือนประหยัดเงินไป = 0.12735 บาท/ครั้ง*6ครั้ง/วัน*30วัน/เดือน
= 22.923 บาท/เดือน
จบการพิสูจน์ เงินที่ประหยัดได้ แปรผันตามผลต่างของค่าEER(ปรกติถ้าใช้เครื่องเล็กและมีพฤติกรรมแบบนี้ใน1เดือนผมเสียค่าไฟประมาณ 491 บาท)
พฤติกรรมการใช้งานเปิดๆปิดๆแบบนี้มันเป็นเชิงสมมติ ก็สรุปวันนึงในหน้าฝน เปิดแอร์เครื่องเล็กไป 3 ชม. ต่อวัน พอเย็นก็ปิดแล้วนอน ส่วนเครื่องใหญ่จะเปิดไป 2.08 ชม.ต่อวัน อย่างนี้เครื่องใหญ่กินไฟน้อยกว่าเดือนละ 22.923 บาท อันนี้เป็นพฤติกรรมการใช้แอร์ของผมโดยที่เปิดพัดลมไปด้วยตลอดเวลาครับ
สำหรับผมผมตอบได้ว่าการเปลี่ยนแอร์ที่มีค่าEER เพิ่มขึ้นจะประหยัดค่าไฟกี่บาทนั้น เป็นคำตอบของผม ซึ่งขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้แอร์ของแต่ละคนแต่ละบ้านซึ่งมันซับซ้อนตรงที่แอร์ทั่วๆไปจะตัดคอมเพรสเซอร์และชุดพัดลมคอยล์ร้อนเมื่ออุณหภูมิต่ำถึงจุดที่ตั้งไว้ซึ่งจะต้องคำนวนให้ละเอียด แม้ฤดูก็มีส่วนซึ่งพฤติกรรมแอร์แต่ละฤดูก็ไม่เหมือนกัน จะได้ค่าไฟต่างกัน ยิ่งถ้าเป็นแอร์ชนิดอินเวอตเตอร์มันปรับรอบช้ารอบเร็วได้ยิ่งคำนวนยากแต่เอาแบบกลางๆคำนวนที่ๆมันเป็นรอบปรกติกช่วงทำความเย็นช่วงกลางเราเอาค่าEER เฉพาะช่วงนั้นมาลองคำนวนดูคร่าวๆก็ได้ เพราะEER ของแอร์อินเวตเตอร์บางตัวมัน กด EER เข้าไปถึง 18 แต่มันไม่ใช่ค่า EERคงที่สิครับ
ถ้าEER ในระบบอินเวตเตอร์คงที่ตลอดเวลา ถ้าผมเปลี่ยนไปใช้ ตัวเล็กกว่านี้ตัวท็อบที่เขาโฆษณากัน แต่ค่าEER กดไป18 ผมจะประหยัดเงินได้เดือนละ200 บาท สรุปเดือนนึงค่าไฟ ประมาณ 300 บาท ว่ะ เป็นไปได้หรือครับ จาก 491 ลดเหลือเป็นประมาณ 300 (ประมาณ 40% คำนวนเดาๆอย่างงี้มันผิดเปล่าหว่า? เอามาจากไหน? )
สมมติว่าแอร์ตัวเล็ก(1,3140 บีทียู/ชม.)ตัวเดิม มีค่า EER จาก 10.8 เป็น 18 จะประหยัดเงินได้เดือนละกี่บาท ยังไงมาลองเดาๆกันดู มันก็เปิดครึ่งชม./ครั้ง เหมือนเดิมก็เย็นแล้วแล้วปิด (ตกวันละ3ชม. เดือนละ 90 ชม.) แต่กำลังไฟอินพุทหรือกำลังไฟที่แอร์ใช้ไปมันน้อยลงไปมากเลย
EER = การทำความเย็นได้(Btu/h)/กำลังไฟฟ้าที่ใช้(w)
18 = 1,3140/กำลังไฟฟ้าที่ใช้
กำลังไฟฟ้าที่ใช้ = 1,3140/18 =730 วัตต์
ฉะนั้น ใน1เดือนจะใช้ไฟไป = 0.730กิโลวัตต์*90ชม.
=65.7 Kwh หรือ 65.7 หน่วย
1เดือนเปิดแอร์ EER=18 จะเสียค่าไฟเป็นเงิน
=65.7หน่วย*4.5 หน่วย/บาท = 295.65 บาท
แต่เมื่อไปสอบถามคนอื่นๆบางคนไม่นอนแอร์ บางคนต้องเปิดแอร์ให้ฉ่ำนอนห่มผ้าห่มตลอดคืน กด24C ทั้งคืน บางคนมีเปิดให้พอเย็นจะนอนแล้วปิด บางคนใช้แอร์เครื่องเล็กกว่าพื้นที่ห้องที่เขาแนะนำแล้วเปิดพัดลมตลอดเวลา ค่าไฟของแต่ละคนจะเป็นอย่างไร ดูจะน่าสนใจไม่น้อย
พฤติกรรมการใช้แอร์เป็นแบบเย็นซาดิสก็จะประหยัดเงินได้มากขึ้นยิ่งถ้าค่า ERR ต่างกันมากๆแล้ว เป็นหลักร้อยถึงหลักพันบาท สมมติว่าเลือกใช้แอร์อินเวอตเตอร์บางตัว กดERR=18 ตอนช่วงรักษาความเย็น หรือเร่งรอบตอนเปิดค่าERRก็มากกว่าแบบที่ไม่ใช้อินเวอตเตอร์ แต่ถ้าเวลาปรกติก็กดได้11-13 เท่านั้น ตอนโหลด100% ความเร็วมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ปรกติที่ 50-60รอบ/นาที ดูแล้วก็เหมือนๆกัน ERR ตามป้ายแอร์ทั่วไป เป็น EER ขณะโหลดแอร์ 100% หรือแอร์คอมทำงานอยู่และไม่มีแบบอินเวอตเตอร์หรือปรับความเร็วรอบไม่ได้ ส่วนแอร์อินเวอตเตอร์มักบอกค่า ERR ที่ขณะโหลดไม่ใช่100% หรือขณะโหลดมากกว่า100% หรือเร่งรอบมากกว่า 50hz ในระยะเวลาสั้นๆ แต่พอเดินแบบธรรมดา ค่า EER ก็แทบไม่แตกต่างกันเลย อยู่ที่10.5-13.5 ฉะนั้นการเลือกแอร์ถ้าเลือกได้ก็เลือกEER สูงๆ และเลือกจากพฤติกรรมการใช้แอร์จะดีกว่า ไม่ต้องคิดมากปวดหัว แต่ระวังเรื่องค่าซ่อมสำหรับแอร์อินเวอตเตอร์สักหน่อยโดยเฉพาะคอนโทรลซึ่งต้องมีสักวันอยู่แล้วที่ชำรุดหยอดกระปุกเอาไว้บ้างสำหรับค่าซ่อมคอนโทรล ซึ่งเอาค่าประหยัดไฟกว่านี่แหละหยอดกระปุกไป อาจจะมีการชำรุดเมื่อมันมีอายุมากกว่า5ปีมั้งอันนี้ไม่รู้เหมือนกัน
เลือกแอร์จากEER??
บัดนี้เราพอรู้แล้วว่า EER ช่วยประหยัดค่าไฟและประหยัดเงินในกระเป๋า ฉะนั้นเราควรศึกษาต่อไปว่า จะเลือกแอร์จากEER อย่างไร เพราะถ้าเลือกแต่EER เป็นหลักโดยไม่คิดถึงพฤติกรรมหรือนิสัยการนอนแอร์ หรือพวกอินเวอตเตอร์ถ้าเลือกแอร์ขนาดเล็กเกินไปอาจทำให้จ่ายค่าไฟมากกว่าแอร์ปรกติก็ได้ มาลองดูว่ามันจริงหรือเปล่า
55
5ถ้าเรามาดูแอร์ของมิตซูเปรียบเทียบกันดูจาก catalog เอาเลยดีกว่า
ขนาด Btu/hr และ ขนาดห้องเป็นตารางเมตรที่แนะนำ (ดูในแคตตาล็อกก็มี)
Btu/hr >> 9000 13000 18000 24000 ตรม.พื้นที่ห้องที่แนะนำ>> 9-14 14-20 20-28 28-36
กรณีการเลือกแอร์
1 เลือกแอร์ที่มีขนาดBtu/hr เล็กกว่าขนาดห้องเล็กน้อยแล้วเปิดพัดลมเป่า ห้องนอนเปิดประมาณ2-3ชม.ก่อนนอนแล้วปิด
ก1.1 แอร์ธรรมดา
ก1.2 แอร์อินเวอตเตอร์
2 เลือกแอร์ที่ประหยัดไฟที่สุด ต้องศึกษา EER และพฤติกรรมของแอร์และของคนที่ทำให้ประหยัดไฟมาลองเลือกแอร์จาก EER โดยการคำนวน EER อย่างละเอียดจะพบว่า มีไม่กี่รุ่นที่น่าใช้
มาลองคำนวน EER ของแอร์ Mitsubishi Econo 2012 น้ำยา R22 มาลองคำนวน EER ของแอร์ Mitsubishi Econo 2014 น้ำยา R410A มาลองคำนวน EER ของแอร์ Mitsubishi Inverter 2015 น้ำยา R410A มีคำว่า SEER อีกน่าสนใจไหมครับ ไม่รู้จะมีทำไมเยอะแยะ เอาเป็น S มันมีความหมายว่า seasonal
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าควรซื้อตัวไหน
ซื้อตัวไหนก็ได้ที่ควรซื้อ แต่ผมจะยกตัวอย่างในเรื่องประหยัดเงินในกระเป๋ามาเปรียบเทียบกันดูก่อน แต่เดิมผมใช้แอร์ไซโจ ขนาด13,140 Btu/h EER10.84 นิสัยของผมชอบเปิดแอร์ให้เย็นเร็วที่สุดแล้วปิดไม่เกินครึ่งชม. ร้อนแล้วเปิดใหม่ แอร์ตัวนี้ปรกติเปิดครั้งละครึ่งชม. ในหน้าฝน (แต่ละครั้งเอาความร้อนออกจากห้อง 6570 บีทียู ) อย่างที่ลองคำนวนไปแล้ว
ถ้าผมเปลี่ยนแอร์เป็นแอร์มิตซู ขนาดตันใกล้ๆกัน เอารุ่นEcon air MSGK-13VA 12430 Btu/h EER11.92 (แม้กดเครื่องคิดเลขได้ 12.19 แต่เอาตัวน้อยดีกว่าครับ)เปิด 1 ครั้ง เย็นปิด เปิด6ครั้งต่อวัน จะประหยัดเงินได้กี่บาทใน1เดือน
ในเรื่องแอร์อินเวอตเตอร์ อย่างแรกเราต้องรู้พฤติกรรมการเร่ง ผ่อน คง และลดของแอร์ แล้วจะรู้ว่าตัวไหนประหยัด
กราฟสมมติจังหวะการทำงานของแอร์ การทำความเย็น
และเวลาโดยสมมติเทียบเคียงกับการใช้งานในชีวิตจริงๆของผมเป็นประเภทเร่งให้เย็นเร็วที่สุดแล้วปิด
ถ้าดูจะพบว่า แอร์อินเวอตตเตอร์ ช่วงเร่งแรงจัดที่มีค่ามากกว่า10สำหรับผมแล้วมีแค่2รุ่นที่ประหยัดไฟ โดยเฉพาะรุ่น 12.2 ตอนเร่ง แต่ถ้าถามว่าแล้วจะจ่ายแพงกว่าทำไม ไม่เอารุ่น Eco ล่ะ มันได้12 อัพทุกตัว ถ้าโดยนิสัยการใช้แอร์ของผมแล้ว รุ่น Eco ประหยัดไฟที่สุดครับ
Inverter Operation Image (cooling mode) Mitsubishi ยืมลิงค์เขามา ทำไงให้ถูกหว่า
http://www.mitsubishielectric.com/bu/air/technologies/image/img_inve_02.jpg
แต่ถ้าชอบแบบม้าตีนปลาย มันต้องปรับหลายขั้นตอน ใช้ยากนะแต่ประหยัดไฟโคตร แล้วต้องให้มันค่อยๆเย็นช้า เช่นถ้าผมเลือก แอร์ อินเวอตเตอร์ รุ่นๆๆประหยัดไฟสุดๆ8870บีทียู ผมทำไงถึงจะได้ EER=22 ซึ่งมันเย็นช้ามากๆแต่ประหยัดไฟสุดๆๆ เริ่มแรกเปิดแอร์ต้องตั้งอุณหภูมิให้ต่ำกว่าอุณหภูมิห้อง1องศาพอ ….4780btu/hr ถ้าจะเอาออก6700btu ต้องเปิดอย่างน้อยชม.ครึ่ง แล้วต้อง.. อ่ะรอก่อนนะครับพอดีหมดวันแล้วจะมาพิมพ์ใหม่
รอกก่อนเด้อ
มาเข้าเรื่องขนาดการทำเย็นกันสักนิด ซึ่งจะยากสักนิดนุงนะครับ
ในป้ายบอกว่า ขนาดการทำความเย็น =13,850 Btu/h หรือ 3850 วัตต์ มันหมายถึงอะไรครับ การกินไฟเรารู้อยู่แล้วว่าแอร์ตัวนี้กินไฟ เท่ากับ 1,213วัตต์ แต่สามารถทำความเย็นได้ 3850 วัตต์
คำถามที่ถามเล่นๆ แสดงว่าถ้าผมเปิดเตารีด4 ตัวในห้องที่มีแอร์นั้น ห้องจะร้อนขึ้นหรือเย็นลงครับ ถ้าเตารีดทำงานตลอดเวลาโดยไม่ตัด
ใช่แล้วครับ เตารีด1ตัว ทำความร้อนได้1000วัตต์ เตารีด4ตัว=4000วัตต์ แอร์ตัวนี้ ไม่สามารถเอาชนะเตารีด 4 ตัวได้ เพราะมันทำความเย็นได้เพียง 3850 วัตต์ ห้องนั้นจึงค่อยๆร้อนขึ้นๆ
ทำไมผมยกตัวอย่างนี้ครับ ในหน้าร้อน กำแพงและสิ่งของต่างๆในห้องอุณหภูมิราวๆ35 องศาก่อนเปิดแอร์ ถ้ากำแพงและสิ่งของมีการสะสมความร้อนไว้มากมันก็เหมือนมีเตารีดอยู่ 3 ตัว กว่ากำแพงและโต๊ะตู้เตียงมันจะเย็นขึ้นทีละ1องศา อาจใช้เวลา2-3ชม. แต่อากาศในห้องอาจลดลงได้ถึง 29-30 องศาลงใน1ชม. แต่เราก็ยังรู้สึกร้อนเพราะกำแพงสามารถแผ่รังสีความร้อนมาที่เราโดยตรง ยิ่งถ้ามีกำแพงด้านนึงโดนแดดเราก็ยังรู้สึกร้อนแม้เปิดแอร์ทั้งวันเป็นต้น
ขนาดการทำความเย็น มีคำจำกัดความอยู่ดังนี้
Btu (British thermal unit) ความร้อน 1 Btu คือ ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1ปอนด์ มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1 องศาฟาเรนไฮต์ (ถ้าเอาออกก็ลดลง1องศาฟาเรนไฮต์)
Btu มันเป็นนิยามเรื่องหน่วยความร้อนของฝาหรั่ง ซึ่งอ่านแล้วไม่เข้าใจก็อ่านข้ามๆไปก่อน เรามาลองแปลงหน่วยกันจะได้เข้าใจดังนี้
1 kcal(กิโลแคลอรี่ ที่ 15 C) = 3.9673727 Btu
1 kg (กิโลกรัม) = 2.2046 ปอนด์(pound)
หน่วยกิโลกรัมกับ หน่วยกิโลแคลอรี่ คงพอเข้าใจนะครับ ที่เขาบอกว่ากินไอ้นี้ เช่นขนมปังแผ่นใหญ่หนา1แผ่น ได้ 150 แคลอรี่ จริงๆมันต้องได้ 150 kcal แต่เขาเรียกสั้นๆว่าแคลอรี่ เช่นผู้ชายหนุ่มควรกินอาหารให้ได้วันละ 2000 แคลลอรี่ หมายถึง 2000 kcal ลองดูการคำนวนแคลอรี่ และการออกกำลังลดน้ำหนัก http://www.doodeedai.com/diary/plan
(กำลังเขียน)
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=all4u&month=03-2007&date=17&group=7&gblog=7
26,419 total views, 18 views today