ผมขอปิดหัวข้อเดิมทั้งหมดขอพิจารณาแก้ไขทีละเรื่องจะได้ไม่มีการละเมิดลิขสิทธิ์
ผมขอปิดหัวข้อเดิมทั้งหมดแล้วค่อยๆแก้ไขทีละอัน อาจใช้เวลาเป็นเดือนต้องขออภัยด้วยครับ อันไหนที่เปิดผมก็ยังไม่แน่ใจว่าถูกลิขสิทธิ์อีกหรือเปล่า ก็เลยต้องมาศึกษากฎหมายและวิธีปฏิบัติ ทั้งในและต่างประเทศ และผมเข้าใจว่า มีทั้งรูปฟรี เอกสารฟรี วีดีโอฟรีที่เจ้าของอุทิศให้แก่โลกนี้ โดยไม่หวังเงินทอง โดยที่มีการบอกว่ามันฟรี และไม่ได้บอกว่ามันฟรี ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์
จึงขอปิดหัวข้อพวกนี้ศึกษาและแก้ไขให้มันแน่ชัดก่อน จึงค่อยๆเปิดนะครับ
- วันแรกหน้าแรก คุยกันก่อน 15/06/2013
- มิตรเทียม มิตรแท้ 4 ประเภท ธรรมะจากพระพุทธะ แล้วลองคิดกันดูว่าที่คบๆกันเราและเขาเป็นเพื่อนแบบไหน 05/08/2013
- .หัวข้อในหมวด พลังงาน 22/01/2013
- ความจริงเรื่องพลังงานฟรี จากการวนหลูปไฟฟ้า กังหันน้ำ และอื่นๆ 09/04/2015
- แก้กำแพงห้องร้อน ep1 – 0 เกริ่น งมลองหาเรื่องฉนวนก่อน เอาไงดีหว่า 06/06/2014
- แก้กำแพงห้องร้อน ep2- 0 เข้าใจง่ายๆเบื้องต้น ต้องรู้เรื่อง การนำ การพา และการแผ่รังสีความร้อน 08/06/2014
วัสดุ วัตถุดิบ เคมี สำหรับ DIY
- .หัวข้อในหมวด วัสดุ วัตถุดิบ เคมี สำหรับ DIY 01/01/2013
- How PVC Plastisol แนะนำ พีวีซีเหลว ที่หล่อเองได้ ,คุณสมบัติ ,ร้านขาย (กำลังเขียน) 15/11/2013
- How Silicone EP1 -0 แนะนำซิลิโคน, เกริ่น ,ชนิดของซิลิโคน 14/09/2013
- How Silicone EP2 -0 แนะนำชนิดซิลิโคนRTV ซิลิโคนที่หล่อเองได้ 17/09/2013
- How Silicone EP3a -012 แนะนำกาวซิลิโคนRTV ,ทดสอบตัวกันซิลิโคนติด ,ทดลองหล่อแบบด้วยกาว 11/10/2013
- How Silicone EP3b -12 ลิงค์เทคนิกการหล่อแบบด้วยกาวซิลิโคนRTV ,ทดลองตัวทำให้กาวเหลวเก็บแบบ ,ตัวเร่งแข็งกาวซิลิโคนหนาๆ 31/10/2013
- How Silicone EP4a -01 การเลือกใช้ซิลิโคนRTV ตอนที่1 ,แนะนำยี่ห้อผู้ขาย คุณสมบัติเด่นของซิลิโคน 18/02/2015
- How Silicone EP4b -01 การเลือกใช้ซิลิโคนRTV ตอนที่2 ,คุณสมบัติทั่วไป วิธีการเลือก และการแก้ปัญหา(กำลังเขียน) 19/02/2015
- โฟมแผ่น EPS เลือกซื้อโฟมที่ความแข็งอย่างไรจึงเหมาะกับงาน (กำลังเขียน) 20/05/2015
- .หัวข้อในหมวด ไฟฟ้าพื้นฐาน สำหรับ DIY 22/01/2013
- ความจริงเรื่องมิเตอร์การไฟฟ้า -012 Watt-hour Meter และค่าไฟฟ้าตามบ้าน โยงไปโรงงานเล็กน้อย 05/07/2013
- พื้นฐานไฟฟ้าในบ้าน ตอนที่1 -0 เกริ่นวิธีการเรียน ติดดราม่านิดหน่อย 02/07/2013
- พื้นฐานไฟฟ้าในบ้าน ตอนที่2 -0 วงจรหลอดไฟ สวิทช์สามทาง ปลั๊ก L N G และเบรกเกอร์ 06/08/2013
- พื้น ฐานไฟฟ้าในบ้าน ตอนที่2 -1 ค้นหาว่าเลือกซื้อเลือกใช้เบรกเกอร์ แบบไหนดี? ถูกหรือแพง? ต้องเลือกที่การทนกระแสลัดวงจรหรือ? ลองคำนวนดูเล่นๆ? 25/08/2013
- พื้นฐานไฟฟ้าในบ้าน ตอนที่2 -1ค้นหา L N G ไลน์ นิวทรอล กราวด์ เกี่ยวข้องกันอย่างไร(ยังเขียนไม่เสร็จ) 07/08/2013
- พื้นฐานไฟฟ้าในบ้าน ตอนที่3 -1 เรียนจากป้ายไฟฟ้าเครื่องใช้ไฟฟ้า -electrical name plate (กำลังเขียน) 01/06/2015
- มาทำอุปกรณ์เชื่อมแผ่นผ้าใบพีวีซีกันเถอะ ตอน2a- 012 เกริ่นพื้นฐานก่อนสร้างปืนเป่าลมร้อนสำหรับเชื่อมแผ่นคูนิล่อน 25/07/2015
- .หัวข้อที่ไม่มีหมวดหมู่ 22/01/2013
- สอนคอมผู้สูงอายุ -พื้นฐานภาพรวมก่อนจะเล่นอินเตอร์เน็ท วิธีการใช้งานเว็บไซต์ และโปรแกรมอื่นๆ 07/03/2015
- โฟมแผ่น EPS เลือกซื้อโฟมที่ความแข็งอย่างไรจึงเหมาะกับงาน (กำลังเขียน) 20/05/2015
ตอนนี้ผมกำลังศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์อยู่ ดูเหมือนจะทำอะไรผิดเยอะแยะมาก ก็เลยกำลังปรับปรุงและหาข้อมูลไปด้วย ว่าจะทำอย่างไรให้ถูกลิขสิทธิ์ เพราะงานเขียนสั้นๆในงานdiy ถ้าผู้มีความรู้ระดับเดียวกัน ก็จะเข้าใจกันสื่อได้เข้าใจ แต่ถ้าผู้ที่มีความรู้ต่างระดับกันมาก ย่อมหาความเข้าใจในการเชื่อมโยงกันได้ยากมาก ต้องทั้งอุปมาอุปไมย ทั้งมีรูปประกอบ มีวีดีโอ ค่อยๆตะล่อมที่ละเรื่องให้เข้าใจทีละเปาะ ซึ่งประมาณว่าต้องเหมือนเว็บ wikipedia แต่ต้องมีคนลงมือทำให้ดูด้วย ซึ่งมันมีทั้งข้อมูลให้ย่อยมากมายและใช้เวลาและแรงงานเยอะ ถ้าจะมาทำเองใหม่ทั้งหมด รูปทุกรูปก็ต้องเป็นของตัวเอง ทำวีดีโอใหม่เอง ดูเหมือนเวลาในโลกนี้จะไม่เพียงพอสำหรับเราๆที่มีอายุไม่ถึงร้อยปี
ผมลองค้นๆมีคำที่น่าสนใจ เช่น
copyleft
Free Art License
GNU Free Documentation License
Creative Commons
เหล่านี้ อาจะพอเป็นคำตอบสำหรับคนเขียนบล็อกก็ได้
มาลองวิเคราะห์กฎหมายลิขสิทธิ์ สำหรับคนเขียนบล็อก
ขอทำความเข้าใจกันนิดนึงก่อนจะได้อ่านง่ายๆและระวังๆ
ในหน้าสีแต่ละหน้าจะบ่งบอกดังนี้หน้าสีแดงหรือชมภู หมายถึง ต้องระวังอ่านให้ดีเพราะเป็นคำแปลหรือคำเข้าใจของผมเอง
หน้าเหลือง หมายถึง ยังก้ำกึ่งถ้าจะเอาไปใช้ควรปรึกษาผู้รู้
หน้าสีเขียว หมายถึง คำหรือสิ่งที่กฎหมาย บัญญติเอาไว้ แต่ควรพึงระวังเมื่อยกมาเพียงบางมาตรา ถ้าจะทำความเข้าใจเองจริงๆก็ต้องอ่านให้ครบทุกมาตราแล้วจะเข้าใจทั้งหมด การอ่านเพียงบางคำบางประโยคของกฎหมายเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะกฎหมายมันอิงและโยงใยกันข้ามมาตราหรือข้ามบรรทัดบางทีก็ข้ามฉบับและมีการยกเลิกหรือมีการแทรกบางมาตราบางคำหรือบางวรรค ในฉบับหลังๆ สิ่งที่ถูกควรอ่านทุกฉบับที่เกียวข้องไม่ควรอ่านเป็นประโยคๆหรือเป็นคำๆ ส่วนที่ผมยกมาบางประโยคที่เป็นหน้าสีเขียวจะเป็นคำหรือประโยคที่มีอยู่จริงในกฎหมาย และผมต้องการยกประโยคหรือมาตราเพื่อนำมาวิเคราะห์ เพราะผมอ่านทั้ง3ฉบับแล้วโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้อง (พวกนักแสดงผมอ่านข้ามๆ แต่อ่านคำเริ่มของมาตราและวรรคว่ามันเกี่ยวข้องกับอะไร)
กฎหมายลิขสิทธิ์ ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน(2558)
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗,ราชกิจจานุเบกษา
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘,ราชกิจจานุเบกษา
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๘,ราชกิจจานุเบกษาเมื่อผมได้อ่านกฎหมายลิขสิทธิ์ทั้งหมด และผมสนใจเพียงแต่เรื่องของการแชร์ คัดลอก ใช้ ดัดแปลงงานที่มีลิขสิทธิ์มาใช้ในเว็บของเรา จะพบว่า (อันนี้ผมวิจารณ์ในกฎหมายและเจตนาของผู้ที่เข้าข่ายที่อาจจะเป็นผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ แนวๆเอารูป เสียง วีดีโอ เอกสารมาใช้ในเว็บบล็อกเท่านั้น อย่างอื่นไม่สนใจ) อันนี้เป็นการวิเคราะห์วิจารณ์กฎหมายโดยใช้ความเข้าใจส่วนตัวและมีเฉพาะในแง่คนใช้งานอินเตอร์เน็ททั่วไป ซึ่งผมไม่ใช่นักกฎหมาย นั่นหมายถึงจะเอาไปใช้งานจริงควรตรวจสอบอีกทีจากผู้รู้ให้แน่นอนก่อน
ผู้สร้างสรรค์งาน ก็คือผู้ทำผลงานชิ้นหนึ่งออกมาโดยมีลิขสิทธิ์ (ทุกอันที่อยู่ในโซนแดงคือผมแปลเอง เข้าใจนะ)
ลิขสิทธิ์ จะเกิดขึ้นเมื่อผู้สร้างสรรค์ทำผลงานออกมา ผมสนใจในเรื่อง
1. งานจิตรกรรม งานภาพถ่าย งานภาพประกอบ ถือว่าเป็นงานศิลปกรรม แม้จะมีคุณค่าหรือไม่ก็ตาม(ตามมาตรา4 นิยามคำว่างานศิลปกรรม จะมีคำว่ามีคุณค่าหรือไม่ก็ตาม )
แสดงว่า ถ่ายรูปเล่นๆกับหมาที่บ้านอย่างนี้ถือว่ารูปนี้มีลิขสิทธิ์ ลิขสิทธิ์เป็นของผู้ถ่าย ไม่มีอะไรผิดกฎหมายเนื่องจากหมาและผู้ถ่ายตนเองกับหมานั้นและวิวรอบข้างไม่ได้ไปละเมิดใคร(ละเมิดหมายถึงง่ายๆคือเขาไม่ได้อนุญาต คล้ายๆกับรายการอาหารญี่ปุ่นไปร้านอาหารที่เขากำลังกินๆกันอยู่ไปถ่ายพร้อมกับพิธีกรถ้าเขาไม่อนุญาตคนกำลังกินๆอยู่ก็จะถ่ายก็จะไปละเมิดเขา ฉะนั้นจะเห็นว่าบางทีทำหน้าภาพประกอบคนกำลังกินข้าวด้วยหน้าเบลอๆแต่พิธีกรหน้าชัด)
ถ้าแปลง่ายๆในคำว่าลิขสิทธิ์ในงานถ่ายเล่นๆไม่ใช่มืออาชีพน่าจะคล้ายกับความเป็นเจ้าของ ซึ่งตอนนี้อาจไม่มีค่าแต่คนอื่นอาจแอบเอาไปใช้หาผลประโยชน์ได้หรืออาจะทำให้เกิดเรื่องราวที่มีผลกระทบกับเจ้าของคนถ่ายรูปได้ กฎหมายจึงรับรองสิทธิ์หรือ ลิขสิทธิ์หรือความเป็นเจ้าของเอาไว้ ไม่ให้คนอื่นแอบเอาไปใช้โดยไม่ขออนุญาต ผมลองอ่านแล้วการถ่ายเล่นๆก็ควรต้องมีลิขสิทธิ์เพราะมีคำว่ามีคุณค่าหรือไม่ก็ได้
บนคอมพิวเตอร์ เราสามารถทำงานจิตรกรรมเช่นวาดการ์ตูนบนคอม หรือ วาดภาพร่าง ระบายสี ก็ถือว่าเป็นงานจิตรกรรมได้ เช่นกันวาดเล่นๆมั่วเด็กอนุบาลวาด ก็ถือว่าเป็นผลงานที่มีลิขสิทธิ์ของเด็ก ในข้อหลังๆของกฎหมายจะมีคำว่าถูกเผยแพร่ และอายุของลิขสิทธิ์ที่มีนานมาก อย่างน้อย 50 ปี ส่วนงานภาพประกอบ จะเป็นแผนที่ แบบ โครงสร้าง ภาพร่าง ประมาณว่าเป็นแบบสร้างปืนของดาวินชี่(สมมติว่าดาวินชี่จะดังหรือไม่ก็ตาม) อย่างนี้ก็ถือว่าเป็นภาพประกอบ รวมความคืองานอะไรที่ประกอบด้วยเส้นสีหรือจุดแสดงออกมาเป็นอย่างน้อยก็เข้าข่ายในงานหัวข้อนี้ซึ่งมีลิขสิทธิ์
2 งานวรรณกรรม หรืองานเขียน หรืองานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ถ้าทำออกมาก็ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ เช่น เขียนบล็อก แต่งกลอน เขียนโปรแกรม แต่กฎหมายไม่ได้ระบุว่าถ้างานนั้นยังเขียนไม่เสร็จว่ามีลิขสิทธิ์หรือไม่
เข้าใจว่าถ้ามีบางส่วนที่แสดงออกมาหรือเป็นสำนวน อันควรเชื่อได้ว่ามาจากผู้สร้างสรรค์คนนั้นจริงก็ถือว่างานนั้นมีลิขสิทธิ์และเจ้าของคนนั้นเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ เช่นงานววรณกรรมชิ้นสุดท้ายของเจ้าของชื่อดังก่อนตายที่ยังเขียนไม่เสร็จก็ถือว่างานดังกล่าวมีลิขสิทธิ์ แม้แต่งานที่หาตัวคนทำไม่ได้แต่คนสนใจก็ยังมีลิขสิทธิ์ไป 50 ปี นับตั้งแต่วันเผยแพร่หรือสร้างขึ้น และลิขสิทธิ์สามารถถ่ายโอนได้ด้วยหนังสือสัญญาแต่ในกรณีเรื่องมรดกทายาทจะได้รับลิขสิทธิ์ต่อไปได้เหมือนมรดกทั่วๆไป
3 โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ งานที่ประกอบด้วยลำดับภาพ ภาพเคลื่อนไหวหรือเสียง ก็คือวีดีโอทั้งหลายในยูทูป ภาพประกอบเพลง วีดีโอ เหล่านี้คือผลงานอันมีลิขสิทธิ์
การคุ้มครองสิทธิ์
มาตรา ๑๕ ภายใต้บังคับมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิ แต่ผู้เดียวดังต่อไปนี้
(๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง
(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
(๓) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง
(๔) ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
(๕) อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม (๑) (๒) หรือ (๓) โดยจะกำหนดเงื่อนไข อย่างใดหรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนด ในลักษณะที่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรม ไม่ได้
การพิจารณาว่าเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง (๕) จะเป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่ เป็นธรรมหรือไม่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดใน กฎกระทรวงแสดงว่าผู้ที่ทำผลงานออกมาแล้วกฎหมายระบุการคุ้มครองสิทธฺ์ไว้ของเจ้าของสิทธิ์นั้น ภาษาอังกฤษมักชอบต่อท้ายบทความหรือรูปว่า All right Reserved หมายถึง สิทธิ์ทั้งหลายถูกสงวนไว้แล้ว และในมาตรา15(5) เฉพาะในเรื่องทำซ้ำดัดแปลงในภาพ ข้อความ เสียง หรือวีดีโอ เจ้าของสิทธิ์เท่านั้นที่อนุญาตผู้อื่นให้ทำการดังกล่าวได้
งานอันที่ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์ไม่ครบคลุมถึงความคิด ขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้ หรือวิธีการทำงานหรือการผลิต แต่จะไปละเมิดสิทธิ์ชนิดอื่น เช่นสิทธิบัตร ซึ่งมีวิธีขั้นตอนสูตรในการผลิตสินค้าเป็นต้น ประมาณว่ายาขนิดนี้ผลิตไม่ได้นะอเมริกาโดยบริษัทabcเป็นเจ้าของสิทธิ์อยู่เป็นต้น
ลิขสิทธิ์ยังไม่ครอบคลุมแนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นความจริงที่ไม่ใช่ผู้ใดผู้หนึ่งสร้างขี้นและเป็นเจ้าของมันได้
ตามมาตรา7 ข่าวประจำวัน ข้อเท็จจริง หรืออื่นๆ คืออะไรทีเกียวกับราชการเช่น กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและอื่นๆของหน่วยราชการ คำพิพากษาของศาล และคำแปลและการรวบรวมทั้งหมดที่กล่าวมาของหน่วยราชการต่างๆ ตั้งแต่ข่าวประจำวัน…. ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธาณชน
ทำซ้ำ ก็หมายถึงก็อปปี้ทำสำเนาบางส่วนหรือทั้งหมด เช่นเอารูปในอินเตอร์เน็ตเขามาทั้งรูปมาใช้ จะย่อหรือขยายหรือ corpหรือตัดบางส่วนเอามาใช้ ก็ใช่การทำซ้ำ หรือเอาข้อความของบล็อกเขาบางส่วนที่เป็นสำนวนของเขาทั้งประโยคหรือพารากราฟมาใช้
เช่นจะเห็นว่าเดี๋ยวนี้มีเว็ปดูดข้อมูลจากเว็บบอร์ดพันทิพทั้งกระทู้มีทั้งรูปและคำสำนวนมาสร้างคอนเทนต์ให้เว็บตัวเอง แน่นอนครับพันทิพไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่ได้เป็นผู้เสียหาย แต่คนถ่ายรูปและประโยควิจารณ์ที่ให้ทั้งประโยชน์สาระหรืออารมณ์ถือว่าเป็นงานเขียน การคัดลอกเหล่านี้อาศัยช่องว่างระหว่างผู้เสียหาย ผู้ถูกละเมิด ถ้ามีใครสักคนไม่ยอมเว็บเหล่านี้ก็ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์โดยเฉพาะพวกที่นำไปแสวงหากำไรหรือผลประโยชน์เป็นเงินหรือขายดีขึ้นหรือคนคลิ๊กเข้าไปแล้วหากำไรทางอื่นได้มากขึ้นเป็นต้น
ดัดแปลง ก็หมายถึง ทำซ้ำโดยเปลี่ยนรูปบางส่วน ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม จำลองบางส่วนที่สำคัญไปทำงานใหม่โดยไม่ได้ทำใหม่เองทั้งหมด โดยจะทำเป็นบางส่วนหรือหรือทำทั้งหมดก็เข้าข่ายดัดแปลง เช่นเอารูปบางส่วนมาตัดแปะกับอีกรูปหรือเขียนข้อความลงไปบนรูปนั้น เป็นต้น
การเผยแพร่ต่อสาธารณชน ในการเอาขึ้นเว็บถือว่าเป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณชนแล้ว ถ้าเอาของอันมีลิขสิทธิ์ขึ้นเว็บถือว่าเป็นการเผยแพร่
การละเมิด
การละเมิดลิขสิทธิ์จะเกิดขึ้น เมื่อผู้มีลิขสิทธิ์ไม่ได้อนญาตผู้นั้นให้ใช้สิทธิ์ได้ตามมาตรา15 วงเล็บ(5) คือไม่อนุญาตให้ ทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธาณชน แก่ผู้นั้น แต่ผู้นั้นก็ยังก็อบปี้ โมดิฟาย เอาไปทำงาน หรือเอาบางส่วนไปทำงาน หรือเอาขึ้นเว็บ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมดโดยไม่ได้รับการอนุญาต แสดงว่าจะเอาไปหากำไรเพื่อการค้าหรือไม่ก็ตามก็ถือว่าเป็นการละเมิด
เช่นเอารูปของคนอื่นทำมาไปแปะบนเว็บตัวเองแล้วบอกว่า ขอขอบคุณภาพจากพันทิพ ใช่ครับพันทิพไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ขอบคุณก็ผิดตัว ผมก็ใช้อยู่แบบนี้เหมือนกัน ถือว่าเป็นการละเมิด เพราะเจ้าของภาพไม่ได้อนุญาต แต่เจ้าของภาพไม่ได้มาฟ้องร้องกับเราที่เอาขึ้นเว็บเป็นต้น
เช่นเอายูทูปไปembed โดยที่เจ้าของไม่อนุญาตก็ถือเป็นการละเมิดในเรื่องการเผยแพร่ แต่เมื่ออ่านสัญญามาตรฐานของยูทูปเองก็ยังไม่ได้รับผิดชอบว่าถ้าใครจะเอางานของคุณไปembed(ใครละเมิดใครไปฟ้องกันเอาเอง ยูทูปไม่เกี่ยว และเขาทำตามกฎหมายของยูเอสบนรัฐที่เขาตั้งอยู่เท่านั้น) และยูทูปยังไม่อนุญาตให้เอาวีดีโอที่อัพโหลดไปใช้ในเชิงพาณิชย์ เช่นประมาณว่าอัพหนังไว้หลายเรื่องเปิดช่องไว้ให้คนอื่นเข้าใช้และหาทางเก็บตังค์หรือยัดโฆษณาในเว็บนั้น ทางยูทูปบอกว่าเขาสามารถทำได้แต่เพียงผู้เดียว(อ่านแล้วงงๆมันริดรอนสิทธิ์เราหรือเปล่าหว่า)
ข้อยกเว้นการละเมิด
ปล. การยกเว้นการละเมิด คนละอย่างกับการละเว้นไม่ต้องถูกฟ้องฐานละเมิด
ผมลองอ่านบทความของ http://www.socialmediaexaminer.com/copyright-fair-use-and-how-it-works-for-online-images/ เป็นบทความของทนายความหญิงชื่อว่า Sara Hawkins ที่พูดถึงกฎหมายลิขสิทธิ์ของอเมริกาและการใช้งานในลักษณะ Term of Fair use หมายถึง ใช้อย่างไรให้เข้าข้อยกเว้นการละเมิด ลองอ่านยังไงๆก็แค่ป้องกันให้ได้เปรียบในคดีความเท่านั้น ในตอนท้ายๆของคอมเม้น แกยังเล่าให้ฟังว่า กูเกิ้ลถูกฟ้องร้องอยู่หลายปีจากอเมซอน ที่เอารูปของอาเมซอนขึ้นเสิชเอ็นจิ้นโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งสุดท้ายกูเกิ้ลก็ชนะคดีไป เพราะศาลสั่งว่าอยู่ในลักษณะของ Fair use แม้ว่า กูเกิ้ลเปิดเสิชเอ็นจิ้นให้ใช้ฟรี แต่ก็ยังมีลักษณะหาผลประโยชน์อยู่แต่เป็นทางอ้อม ถ้าจะลองดูให้ดี กูเกิ้ลก็เก็บภาพเล็กๆไว้ในระบบของตัวเองอยู่จริงโดยไม่เห็นมีใครอนุญาตสักราย (ไม่ใช่การส่งข้อมูลผ่านกูเกิ้ล และไม่ใช่แคชของเว็บที่มีภาพของเรา) ซึ่งเข่าข่ายการละเมิดแต่ก็ยังชนะคดีมาได้
ลองอ่านที่มาตรา 32 33 37 38 39 มีสิ่งที่หน้าสนใจค้นคว้าดังนี้
มาตรา ๓๒ การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงาน อันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่าเป็น การละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(๑) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(๒) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและ บุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท
(๓) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(๔) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(๕) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงาน ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
(๖) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ โดยผู้สอนเพื่อประโยชน์ ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(๗) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอน หรือทำบทสรุปโดยผู้สอน หรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
(๘) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบมาตรา ๓๓ การกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควรจากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมีการรับรู้ถึง ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง
มาตรา ๓๗ การวาดเขียน การเขียนระบายสี การก่อสร้าง การแกะลายเส้น การปั้น การ แกะสลัก การพิมพ์ภาพ การถ่ายภาพ การถ่ายภาพยนตร์ การแพร่ภาพ หรือการ กระทำใด ๆ ทำนอง เดียวกันนี้ซึ่งศิลปกรรมใดอันตั้งเปิดเผยประจำอยู่ในที่สาธารณะ นอกจากงานสถาปัตยกรรม มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมนั้น
มาตรา ๓๘ การวาดเขียน การเขียนระบายสี การแกะลายเส้น การปั้น การแกะสลัก การ พิมพ์ภาพ การถ่ายภาพ การถ่ายภาพยนตร์หรือ การแพร่ภาพซึ่งงานสถาปัตยกรรมใด มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสถาปัตยกรรมนั้น
มาตรา ๓๙ การถ่ายภาพหรือการถ่ายภาพยนตร์หรือการแพร่ภาพซึ่งงานใด ๆ อันมีศิลปกรรมใด รวมอยู่เป็นส่วนประกอบด้วย มิให้ถือว่าเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมนั้น
อ่านแล้วดูงงๆ คือละเมิดแน่นอนถ้าไม่ได้รับอนุญาต แต่บอกว่าตามมาตรา32 ถ้าไม่กระทบสิทธิ์ของเจ้าของ ไม่ขัดต่อการหาประโยชน์จากงานของเขาและไม่กระทบสิทธิ์ของเขาเกินควรซึ่งประกอบด้วย 8 ข้อที่ทำไปแล้วสามารถยกเว้นการละเมิด ซึ่งจะลองวิเคราะห์ดูเอาอันที่เกี่ยวกับการเขียนบล็อก
แต่ถ้าเป็นเรื่องอื่นๆเช่น เพลง หนัง ซอฟแวร์ บริษัทหรือบุคคลที่เป็นเจ้าของยังสามารถหารายได้จากมันได้ มักจะไม่อนุญาต และยิ่งกว่านั้นยังไปรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นองค์กรไล่เช็กบิลคนที่แอบเอาไปคัดลอกหรือเอาไปใช้ ซึ่งองค์กรดังกล่าวจะได้ผลประโยชน์ตอบแทนกลับมาเป็นเงินหรืออะไรก็แล้วแต่ ฉะนั้นเรื่องการยกเว้นการละเมิดกับหนังเพลงซอฟแวร์มันไม่มีอยู่ในสารบบนอกจากเขาอนุญาตสิทธิ์เอาไว้ใช้สาธารณะเพราะไม่ได้อยากหาประโยชน์ส่วนตัวกับมันแล้ว
ส่วนมาตรา33 มีคำว่า มีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น ใครรับรู้? เจ้าของลิขสิทธิ์ก็รับรู้อยู่แล้วว่าตนเองเป็นเจ้าของ หรือจะหมายถึง เช่นจะเอาไปเสนอข่าวประจำวันที่มีบางส่วนของงานลิขสิทธิ์ก่อนเสนอข่าวก็ขออนุญาต ถ้าขออนุญาตแล้วเขารับแสดงว่าไม่ควรจะมีข้อความนี้ มีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น อาจหมายถึงการที่เราไม่ขออนุญาตแต่เราให้ทุกคนที่ดูข่าวรู้ว่าเจ้าของลิขสิทธิ์คือใครทำงานอะไรเป็นต้น นั่นก็คือการให้เครดิตแก่เจ้าของผลงาน
วิเคราะห์มาตรา32 (1) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
ถ้าจะถามต่อไปว่าใครวิจัยศึกษา แสดงว่าใครก็ได้หรือเปล่า คนทั่วไปก็ได้ สามารนำไปศึกษาวิจัย โดยการทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ได้หรือเปล่า? ถ้าไม่ได้เอามาแสวงหากำไร แต่เป็นการทำเพื่อวิจัยศึกษา แต่ถ้าเรามีการขออนุญาตแล้วตามมาตรา15 (5) ขอแล้วต่อผู้มีลิขสิทธิ์ซึ่งถ้าเขาอนุญาตก็ไม่ต้องใช้กฎข้อยกเว้นข้อนี้ ซึ่งเรื่องก็ไม่ต้องถึงศาล (ยกเว้นเขากลับคำว่าเราไม่ได้รับสิทธิ์ เขาจะถามว่ามีหนังสือยินยอมหรือลายลักษณ์อักษรหรือเปล่า เพราะเขาให้แบบปากเปล่า หรือ ให้แบบตอบอีเมลล์ว่าให้ใช้ได้ )
แต่ถ้าผู้มีลิขสิทธิ์ไม่อนุญาต เราก็ฝืนทำยังสามารถทำได้หรือไม่ เพราะเราก็ไม่ได้ทำเพื่อการค้าและไม่กระทบต่อสิทธิของเขาเกินสมควร การกระทำดังกล่าวมันเป็นการละเมิดอยู่แล้ว แต่การยกเว้นได้หรือไม่ศาลจะเป็นผู้ตัดสิน จากข้อเท็จจริง
คำถามคือถ้าเราไม่ได้ขออนุญาตละจะได้ไหมจะได้รับการยกเว้นไหม ถ้าผมเข้าข้างตัวเองและเข้าใจว่า ถ้าไม่ได้กระทบสิทธิ์ของเขา เช่นเราค้นคว้าศึกษาแล้วก็เผยแพร่บางส่วนในทางบวกก็ไม่น่าจะมีปัญหา เช่นการยกบางส่วนมาวิเคราะห์ เอารูปบางส่วนมาวิจัยศึกษาหาข้อสรุปและเผยแพร่ คำตอบคือการยกเว้นการละเมิดยังไงๆก็จบลงที่ศาลครับ แสดงว่าต้องผ่านการขึ้นโรงขึ้นศาลเป็นเวลาหลายปี เราไม่สามารถบอกได้ว่าการกระทำของเราจะได้รับการยกเว้นไม่ให้ถูกฟ้อง
แต่ถ้าก๊อปปี้และแปลทั้งหมดเป็นไทยและเผยแพร่ อันนี้ใช่การวิจัยศึกษาหรือไม่ คำตอบคือไม่น่าจะใช่ ในตอนท้ายฉบับของกฎหมายในเรื่องการแปลเป็นภาษาอังกฤษจากต้นฉบับต้องขออนุญาตทางเจ้าของเมืองนอกก่อนถ้าเจ้าของไม่อนุญาตหรือไม่ตอบมาเราก็ขอต่ออธิบดีว่าขออนุญาตแปลแบบที่ไม่ได้ใช้ในการค้าเช่นแปลระเบียบมาตรฐานทางไฟฟ้าของอเมริกาอะไรทำนองนี้แล้วก็ห้ามเอาไปพิมพ์ขาย ผมเคยเจอหนังสือลักลอบแปลไทยพิมพ์ขายเห็นถูกดีน่าซื้อพอจะซื้อเขาบอกว่าขายไม่ได้แล้วเพราะไม่มีลิขสิทธิ์สำนักพิมพ์กำลังจะถูกฟ้อง (แต่ตัวหนังสือไม่มีบอกว่าลักลอบแปลนะ) เป็นต้น
สรุปคือ ถ้าเราอาบางส่วนของ รูป หรือ วีดีโอ หรือเสียงมาทำการคัดลอก ตัดเอาบางส่วน แล้วทำข้อความมาวิจัยวิเคราะห์ถึงข้อดีข้อเสีย ความเป็นไปได้ หรือการใช้งานที่ถูกต้อง แล้วยังเผยแพร่ต่อสาธารณะชน โดยที่ไม่มีการขออนุญาต โดยไม่ขัด หรือการหาประโยชน์จากลิขสิทธิ์ หรือกระทบสิทธิ์ของเขาเกินควรก็น่าจะทำได้ โดยต้องระบุที่มาที่ไป บางส่วนของรูป หรือวีดีโอ หรือเสียง นั่นคือการให้เครดิตกับงานลิขสิทธิ์ของเขา(ตามมาตรา33) สรุปว่าอย่าไปขัดกับผลประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ และควรทำในแง่บวกจะดีกว่า ถ้าจะทำในแง่ลบ ก็ไม่ควรมีส่วนใดส่วนหนึ่งของเจ้าของลิขสิทธิ์อยู่ในหน้าเพจของเรา(เราส่งลิงค์ไปก็พอแล้ว) แต่การยกเว้นการละเมิดได้หรือไม่ ศาลจะเป็นผู้สั่งเท่านั้น ฉะนั้นยังไงๆผมก็ไม่แนะนำให้ทำถ้าไม่อยากขึ้นศาล
วิจัยหรือศึกษางานลิขสิทธิ์นั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร ตามมาตรา32(1)ทำอย่างไรจึงน่าจะเชื่อได้ว่าเราจะได้รับการยกเว้นการละเมิดจากการศึกษาวิจัยงานลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต
ผมจะลองยกตัวอย่างที่น่าจะเป็นไปได้ว่าถูกต้องเข้าข่ายการยกเว้นการละเมิดหรือไม่ เช่นผมบอกว่าผมอ่านดาต้าชีทเรื่องซิลิโคนของ ShinEtsu ซึ่งทางบริษัท ShinEtsu ก็ทำการเผยแพร่เอกสารดังกล่าวในหน้าเว็บของเขาอยู่ เกิดผมมีหน้านึงที่น่าสนใจและกำลังเขียนเรื่องซิลิโคน ผมก็บอกกับท่านผู้อ่านว่ากราฟตัวนี้น่าสนใจ บอกที่มาว่าอยู่ใน pdf ลิงค์ อะไร แล้วก็ตัดภาพมาดัดแปลงเอาดื้อๆ เฉพาะภาพที่ดัดแปลงด้านล่าง อันนี้ลองพิจารณาดูว่าเหมาะไหมควรได้รับการยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ไหม
ดูภาพตัวอย่างที่ถูกด้านล่างเลยครับ
มาลองคิดถึงใจเขาใจเราก่อนดีไหม
สมมติว่าเราทำกราฟอันนี้เองแล้วลงเผยแพร่แล้วบังเอิญมาอ่านเข้าจะพบว่า ไอ้นี่มันเล่นเขียนลงบนกราฟของเรา แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่ากราฟนี้เราทำหรือไอ้นี่มันเอาไปดัดแปลงตรงไหน ทำให้คนทำเอกสารเกิดความเสียหาย เนื่องจากในภาพดังกล่าวไม่ทราบว่าตรงไหนเป็นส่วนภาพของ ShinEtsu และตรงไหนเป็นส่วนภาพที่ดัดแปลง และไม่ทราบอีกหรือไม่อ้างอิงอีกว่ามาจากบรรทัดไหนของเอกสาร อย่างนี้ บริษัท ซิลิโคน ShinEtsu อาจเกิดความเสียหาย และฟ้องร้องเราได้ แต่จริงๆผมก็ไม่ได้อยากให้เกิดเรื่องเช่นนั้นเพียงตัวอย่างข้างบนนี้แค่นี้ ก็แสดงว่ามันไม่ได้ถูกใช้ในลักษณะของการใช้ที่ถูกต้องเพียงพอต่อข้อยกเว้นการละเมิด ในภาษาอังกฤษ fair use ถ้าทำแบบข้างบนแสดงว่าคุณละเมิดอยู่แล้วยังไม่พอแต่คุณยังทำให้บริษัทของเขาเกิดความเสียหายได้ และอาจถูกฟ้องได้ทุกเวลา
ทำอย่างไรถึงจะถูก และสมควรได้รับการยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ตามมาตรา 32(1)
อันนี้เป็นแค่ความคิดของผมเท่านั้น ถ้าคิดแบบง่ายๆคือ
1. ควรระบุภาพให้ชัดเจนว่าส่วนไหนเป็นภาพต้นฉบับและมีหน้าตาอย่างไรก่อนการดัดแปลง
2. ระบุในภาพต้นฉบับแยกส่วนให้ชัดเจนว่ามาจากเอกสารอะไรหน้าไหน ทำการคัดลอกหรือดัดแปลงโดยใคร(มีอีเมลล์ระบุ) และสื่อให้ชัดเจนว่านำไปใช้ศึกษา การเอาไปคัดลอกเผยแพร่อีกต่อเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้เพราะอาจมีบางส่วนผิดพลาดจากผู้เขียนเองและอาจทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์เดิมเสียหาย
ถ้าเป็นเอกสารต่างประเทศอย่างน้อยควรมีภาษาอังกฤษเขียนแนะนำลงในภาพ ถ้าเป็นภาษาไทยก็เขียนภาษาไทยลงไปให้ชัดเจน
การดัดแปลงโดยการเขียนชี้บ่งด้วยลายมือจะเข้าใจชัดเจนว่าส่วนนี้เป็นการดัดแปลงจะดีกว่าที่เราพิมพ์ลงไปบนภาพหรือเอกสารทำให้แยกไม่ออกว่าส่วนไหนเป็นส่วนที่เราดัดแปลง
เอาล่ะครับ เยอะเนอะ ถ้าทำไม่ได้จริงๆตามข้อเหล่านี้ก็ไม่ควรที่จะเอาไปศึกษาวิจัยเผยแพร่ ถ้าจะทำก็แค่ศึกษาวิจัยใช้ในที่จำกัดเช่นห้องเรียน หรือห้องระดมความคิด
การห้ามอย่างชัดเจนว่าไม่ควรนำไปคัดลอกนำไปใช้หรือแชร์ภาพโดยไม่มีที่มาที่ไปโดยให้ระบุลงไปใต้ภาพ(แยกส่วนกับภาพ) เพราะเรามีเจตนาป้องกันความผิดพลาดของข้อมูลของเราที่เพิ่มลงไปในภาพที่ดัดแปลงที่อาจจะก่อความเสียหายกับเจ้าของลิขสิทธิ์เดิม ซึ่งเจ้าของอาจจะฟ้องเราอีกหลายกระทงในการทำซ้ำแบบผิดๆแล้วบริษัทของเขาเสียหาย เรียกค่าเสียหายเป็นจำนวนสำเนาที่ทำเป็นเงินหลายเท่า และศาลอาจไม่เชื่อว่าคุณทำไปโดยสุจริตและเข้าข่ายได้รับการยกเว้น เพราะคุณทำไปโดยการไม่รอบคอบ
เอาล่ะครับผมบอกวิธีไปแล้วมันเป็นวิธีที่น่าจะสมเหตุสมผลในการได้รับการยกเว้นว่าละเมิดถ้าถูกฟ้องร้อง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะรอดจากการถูกฟ้องนะขึ้นกับว่าคุณเขียนอะไรและทำให้ใครเสียหายโดยไม่ได้ตั้งใจหรือเปล่า อีกทั้งยังต้องดูเจตนาการนำไปใช้ของคุณอีกด้วย
วิเคราะห์มาตรา32 (2)การใช้เพื่อประโยชน์ตนและครอบครัว ถ้าจะแอบใช้ก็คงไม่มีใครรู้ แต่ถ้าเอาขึ้นเว็บให้คนอื่นใช้ด้วยจะละเมิด เพราะคนที่ดาวโหลดอาจเอาไปทำการขัดประโยชน์หรือสิทธิหรือลิขสิทธิ์ของเจ้าของสิทธิ์ ประมาณว่าใช้โปรแกรมแอบดูดคลิ๊ปของยูทูปมาเก็บไว้ใช้ส่วนตัว อย่างนี้อาจจะได้รับการยกเว้นถ้าถูกจับเรื่องอื่นก็คงไม่ได้เพิ่มอีกกระทงความผิด ก็แค่น่าจะเท่านั้น แต่ถ้ายูทูปมาดำเนินคดีกับเราก็อีกเรื่องหนึ่ง
วิเคราะห์มาตรา32 (3)(4) สรุปในข้ออื่นๆรวมกันเลย ซึ่งชัดเจนอยู่ว่าเข้าข่ายยกเว้นการละเมิด ถ้าใช้กันพอสมควรและอยู่ในเทอมของ Fair use ข้อสังเกตอย่างหนึ่งคือในสองวงเล็บนี้ ไม่มีคำว่า อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
แสดงว่าเอามาหากำไรได้ เช่นบริษัทห้างร้านที่ทำสินค้าเหมือนที่มีกระทู้ในพันทิพกำลังวิจารณ์ การคัดลอกมาทั้งกระทู้โดยให้เครดิตเพื่อมาทำเป็นคอนเท็นต์ตัวเอง ไม่ได้เข้าอยู่ในข้อยกเว้นนี้ เพราะไม่ได้ใช้พอสมควร ถ้าจะทำคอนเท็นโดยไม่ขออนุญาต ควรยกมาเป็นส่วนๆเป็นประโยคเป็นรูปแค่บางส่วนและประกอบคำของตนเองเพื่อสร้างคอนเทนต์ใหม่ที่มีประโยชน์ การลอกมาทั้งหมดทุกภาพและทุกคำเป็นพฤติกรรมที่น่ารังเกียจ ใช่ครับเขาไม่ได้ฟ้องคุณหรอกตอนนี้ เด๋วฟ้องย้อนหลังก็ได้ เรียกค่าเสียหายย้อนหลังดีกว่าไหมครับ เพราะคุณเอาไปทำเงินคุณก็ควรแบ่งกับเจ้าของลิขสิทธิ์
(3)ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงาน (4)เสนอรายงานข่าวทางสื่อมวลชนโดยต้องให้เครดิต ยกเอามาบางส่วน เอารูปมาบางส่วน เอายูทูปแปะ หรือเอาหน้าเว็บของเขามาวิจารณ์ขึ้นเว็บและให้เครดิตว่าเจ้าของลิขสิทธิ์คือใคร อย่างนี้จะได้รับการยกเว้นถ้าทำกันพอสมควรไม่ได้ลอกเนื้อหาทั้งหมดมาเผยแพร่ ผมยังลองอ่านเอกสารหลักปฏิบัติการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมของพวกช่องข่าว
แม้งานเสนอข่าวยังมีหลักที่ไม่ขัดกับผลประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ เช่นงานวรรณกรรมหรือภาพเขามาไม่เกิน 5 ภาพ ตัวหนังสือไม่เกิน10% หนังจะฉายโรงควรเสนอข่าวกับตัวหนังไม่เกิน3นาที ไม่ควรเสนอส่วนสำคัญของหนังหรือหนังสือของเขาทำให้เขาเสียค่าการตลาด อย่างนี้เข้าหลักได้รับการยกเว้นการละเมิด แต่ถ้ารายการทั้งช่วงเช่น10-20นาที เอายูทูปมาแปะให้คนได้ฮาๆ แล้วก็ตัดเข้าโฆษณาได้เงินอย่างนี้อาจเข้าข่ายการละเมิด เพราะทำแล้วได้เงินแต่ก็ไม่ได้แบ่งให้เจ้าของคลิ๊ปเป็นต้น บังเอิญผู้เสียผลประโยชน์ไม่ได้ไปฟ้อง ลองเอาคลิ๊ปของอีกช่องไปใช้สิเรื่องไม่จบง่ายๆนิ
การติชม หรือวิจารณ์ ถ้าส่งลิงค์ออกไปก็ไม่เข้าข่ายการละเมิด แต่ถ้ายกประโยคคำพูดหรือภาพโดยให้เครดิต แล้วนำมาติชมด้วยใจจริงเป็นธรรมก็ไม่เป็นไร การวิจารณ์ถ้าเข้าข่ายทำให้เขาเสียหายแล้วเขาฟ้องร้องจะผิดกฎหมายอื่นด้วยเช่น หมิ่นประมาท เป็นต้น
มาลองพิจารณาให้ดี คำว่าการแนะนำผลงาน แนะนำผลงานของผู้อื่นอย่างไรจึงเข้าข่ายข้อยกเว้นในการละเมิด ใช้อย่างไรจึงจะพอเหมาะพอควร เช่นเราพูดถึงเรื่องปลั๊กไฟในงานdiy แต่อยากจะแนะนำว่ามันมีรูปที่น่าสนใจแต่เราขี้เกียจทำการบ้านคือถ่ายรูป หรือไม่มีทางที่เราจะมีวัตถุดิบอย่างนี้และวัตถุดิบดังกล่าวเป็นงานเฉพาะหรือแฮนด์เมด เราจะทำอย่างไรให้อยู่ในข้อยกเว้นนี้ครับ เช่น
การก็อปปี้แล้วมาโมดิฟายให้เห็นอย่างภาพข้างบนมันดูดีในภาพรวม แต่เล่นเอารูปส่วนสำคัญเกือบทั้งหมดของเว็บเขามาใช้มันไม่เหมาะ ยิ่งถ้าคุณเป็นเว็บที่ทำเพื่อกำไรแล้วคุณควรจะใช้วิธีแนะเว็บไซต์ จริงๆภาพเดิมผมได้จากกระปอก.com (ชื่อแฝง) ตอนแรกก็นึกว่ามีใครในเมืองไทยลองทำดู สุดท้ายก็แอบเอาของเขามาโดยไม่ได้ให้เครดิตแล้วก็ลบคอนเท็นนั้นทิ้ง ทำอย่างนี้จะเหมาะกว่าไหมดังรูปข้างล่าง
การแนะนำเว็บไซด์ที่มีเนื้อหาคอนเท็นของเขาบางส่วนโดยระบุแหล่งที่มาเป็นการเหมาะและทำซ้ำอย่างพอสมควร อาจเข้าข่ายการยกเว้นการละเมิดได้ ถ้าคอนเท็นต์ของคุณแค่แนะนำเว็บไซด์ที่น่าสนใจ โดยอธิบายใต้รูปด้วยคำของคุณให้เหมาะสม
โดยในคอนเท็นต์ของคุณก็พูดถึงการต่อปลั๊กไฟไปหรือการเรียนรู้ไฟฟ้าไปโดยที่คอนเท็นต์ที่คุณแต่งมีเนื้อหาเฉพาะที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้นไม่ใช่เหมือนของเขาทั้งหมดเอามาเปลี่ยนคำพูดเป็นของตนเองเท่านั้นอย่างนี้ไม่เหมาะวิเคราะห์มาตรา 32(6) ผู้สอนเพื่อประโยชน์ ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร สามารถทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ แสดงว่า ถ้ามีคนทำ pdf สอนไฟฟ้าแก่นักเรียนของตนโดยไม่ได้ทำขาย โดยมีภาพที่มีลิขสิทธิ์เช่นไขควงคีมแต่มีการให้เครดิตภาพเหล่านั้น แต่ไม่ได้ขออนุญาตจากเจ้าของภาพอย่างนี้ แต่เรื่องราวที่เป็นตัวหนังสือนั้นเรียบเรียงเอง อย่างนี้อาจเข้าหลักการยกเว้นการละเมิดได้ มีการนำออกแสดงหมายถึงการเผยแพร่กับเด็ก กับสาธารณชนเช่นให้เด็กดาวโหลดบนเว็บไปอ่านได้ คนทั่วไปก็ได้อ่านได้ เพราะอาจต้องการสอนคนทั่วไปด้วยก็ได้จึงนำออกเผยแพร่ ส่วนการคัดลอกpdfนั้นไปให้คนทั่วไปดาวโหลดอีกต่อหนึ่งเป็นสิ่งที่ควรระวัง เพราะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของอาจารย์ท่านนั้น แม้จะให้เครดิตแล้วแต่ก็ยังเป็นการละเมิดอยู่ดีถ้าทำก็ต้องยอมรับผลที่ตามมา
วิเคราะห์ มาตรา 37 38 39 ใจความคือใช้ศิลปกรรมอย่างหนึ่งผลิตงานศิลป์ซึ่งต้นแบบมาจากงานอันมีลิขสิทธิ์และตั้งอยู่ในที่สาธารณะเพื่อเผยแพร่ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น ถ่ายภาพวัดที่อาจารย์เฉลิมชัยสร้าง หรือไปสเก็ตภาพเหมือนที่วัดนั้น หรือถ่ายวีดีโอเป็นต้น คำว่าตั้งอยู่ในที่สาธารณะถ้าตีความหมายโดยทั่วไปก็คือมีการตั้งอยู่ในสถานที่จริงๆ แต่มองอีกนัยยะหนึ่งเช่นถ้าที่สาธารณะนั้นหมายถึงการตั้งอยู่ที่เว็บไซด์หนึ่งซึ่งเปิดให้คนทั่วไปได้เขาถึง ถ้าการตีความนี้เว็บไซด์เปิดทั่วไปที่ทุกคนเข้าถึงได้ในที่สาธารณะ เช่นเว็บไซด์ โดเรม่อน คนทั่วไปก็สามารถทำศิลปกรรมในทำนองที่ลอกเลียนแต่ไม่เหมือน เช่นปั้นรูปโดเรม่อนจากรูปในไซด์นั้นแล้วถ่ายรูปเผยแพร่ ถือว่าการกระทำนั้นเข้าข้อยกเว้นการละเมิด
แต่ถ้าเราปั้นโดเรม่อนขาย จะทำพิมพ์ของมาแล้วก็อบเยอะๆขาย จะท่าทางเหมือนของเขาหรือไม่เหมือนก็ตามเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ที่ต้องถูกฟ้องแล้วครับ จะยกตัวอย่างที่ถูกให้ฟัง พอดีเพื่อนผมเล่าให้ฟังมันไปอยู่ญี่ปุ่นสักพักนึงบังเอิญได้ไปเที่ยวนิทรรศการของแฮนด์เมดขาย เขาเล่าให้ฟังว่าที่นั่นเอาของแฮนด์เมดการ์ตูนไปขายได้โดยไปซื้อลิขสิทธิ์ตัวการ์ตูนนั้นที่หน้างานซึ่งค่าลิขสิทธิ์ถูกมากเมื่อเทียบกับราคาสินค้าที่เราจะขายได้กำไร แสดงว่าการที่เซเว่นหรือธนาคารเอาตัวคาแร็กเตอร์การ์ตูนมีลิขสิทธิ์มาประกอบการค้าเพื่อการดึงดูดทำให้น่าสนใจ ทุกตัวน่าจะถูกขอใช้ลิขสิทธิ์แล้วทั้งนั้น ฉะนั้นถ้าเอาไปทำการค้าจะปั้นหรือทำอะไรขายโดยมีตัวการ์ตูนที่มีลิขสิทธิ์ประกอบอยู่จะเป็นการละเมิดและถูกฟ้องอย่างแน่นอน
แต่ถ้าเราถ่ายรูปปลั๊กกันดั้มที่เว็บเจ้าของลิขสิทธิ์ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ของเราและดูออกว่าคนละรูปกับที่ติดในเว็บและพูดคุยถึงการถ่ายรูปของเราหรือพูดถึงปลั๊กไฟหรือแนะนำเว็บของเขาและไม่ได้ใช้ในเชิงพาณิชย์ก็อาจเข้าข่ายการยกเว้นการละเมิดในข้อนี้ การนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ควรขออนุญาตกับเจ้าของงานศิลป์ก่อนจึงจะถูกต้อง
ถ้าอย่างนั้นแล้วการcrop รูปจะทำได้ไหม ก็ต้องถามว่า การcrop รูปคือศิลปกรรมหรือเปล่าล่ะ แล้วก็ต้องดูเจตนาอื่นๆประกอบ อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่างานภาพยนตร์ต่างๆที่บางทีถ่ายติดบนจอทีวีหรืองานป้ายโฆษณาของบุคคลอื่นจึงอาจมีลักษณะเข้าองค์ประกอบการยกเว้นละเมิดลิขสิทธิ์แม้ภาพยนตร์นั้นจะเอาไปทำกำไรได้ก็ตาม แต่การใช้มือถือถ่ายภาพงานแสดงของศิลปินเอาไว้ใช้ส่วนตัวก็เข้าข่ายยกเว้น แต่ถ้าเอาไปอัพบนยูทูปอาจทำให้เสียประโยชน์ จะเข้าข่ายความผิดอื่นมากกว่าคำว่าละเมิดลิขสิทธิ์
สรุปเรื่อง งานอันมีลิขสิทธิ์ที่ไม่ได้รับอนุญาต ถ้าเราเอาผลงานลิขสิทธิ์บางส่วนที่เป็นส่วนน้อย มาวิจารณ์ มาติชม มาแนะนำ มาเสนอข่าว มาทำเอกสารสอนนักเรียน โดยที่ไม่ได้แสวงหากำไร โดยมีการให้เครดิต และไม่ได้ขัดต่อผลประโยชน์ทางลิขสิทธิ์ของเขา ก็อาจเข้าข่ายการยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยศาลมีอำนาจตัดสินดังกล่าว มิใช่เข้าข้อยกเว้นแล้วจะไม่ผิด ไม่ถูกฟ้อง จึงควรระวังการใช้และยอมรับผมที่ตามมา
ถ้าเราเอาเอกสารดาต้าชีทสำหรับแนะนำผลิตภัณท์มาทำสำเนาพร้อมแจกจ่ายในที่สาธารณะโดยที่ไม่ได้ขออนุญาต เพื่อประโยขน์ของเจ้าของผลิตภัณท์เองทำให้ขายของได้ และเพื่อประโยชน์แก่เจ้าของสำเนาในการขายของได้ จริงๆเป็นการเข้าข่ายละเมิดที่ไม่มีข้อยกเว้นก็ได้หรือไม่ละเมิดก็ได้ เพราะเจ้าของลิขสิทธิ์เอกสารเอาไปเผยแพร่ในที่สาธารณะให้บุคคลทั่วไปทำการดาวโหลด ส่วนการเอาบางส่วนของดาต้าชีทมาตีแผ่ วิจารณ์ โดยให้เครดิตเอกสาร ก็อาจจะยังเข้าข่ายได้ไม่ปลอดภัย100เปอร์เซนต์
สุดท้ายเรื่องยูทูป ส่วนใหญ่ผู้คนที่อัพโหลดโดยเฉพาะงาน นวัตตกรรม สินค้า และการเรียนการสอน เขาต้องการให้เผยแพร่ไปได้ แต่ถ้าเป็นเรื่องสินค้าก็ไม่ควรเอาไปแอบอ้างเพื่อผลประโยชน์ทางการค้าของตัวเองโดยที่ไม่ได้ทำวีดีโอจะโดนฟ้องแน่นอน การเอาไปembed ควรพิมพ์เครดิตผู้ปล่อยตัวใหญ่ หรือเครดิตหรืออาจารย์ผู้สอนซึ่งเป็นการปลอดภัยกว่า ประมาณว่าอย่าไปทำให้เขาเสียผลประโยชน์ ถ้าอยากวิจารณ์ด้านลบก็ไปที่เว็ปยูทูปเลยจะสะดวกกว่า อีกอย่างหนึ่งผู้อัพโหลดจะมีพวกที่สามารถเอาไปใช้ฟรี ตัดต่อ ตัดแต่งวีดีโอได้ตามสะดวกแต่ต้องบอกแหล่งที่มาเสมอ มันคือสัญญาชนิด ครีเอทีฟคอมมอนส์ คือผู้อัพโหลดให้สิทธิ์เอาไปก๊อปรีมิกซ์ได้เลยแต่ต้องบอกแหล่งที่มาด้วย อย่างนี้ปลอดภัย100%เพราะเข้าข่ายFair use คือการใช้งานพอสมควรตามสิทธิอนุญาตที่เจ้าของลิขสิทธิ์ให้เรานำไปใช้ได้ล่วงหน้าโดยไม่ต้องไปขอก่อนใช้
การเลือกใช้ของฟรี รูป วีดีโอ เอกสาร และสื่ออื่น
กำลังเขียนอยู่ครับ
ใช่ครับของฟรีที่คนทั่วๆไปเข้าใจนั่นแหล่ะ จริงๆมันมีอยู่มากมายในโลกนี้ ซึ่งถ้าท่านทำเว็บไซด์เพื่อการศึกษาหรือเว็บบล็อกที่ต้องการให้ความรู้ผู้คนละก็ มีสื่อที่ทั้งแบบฟรี และแบบผู้มีลิขสิทธิ์อนุญาตให้ล่วงหน้าสามารถนำไปใช้แบบมีเงื่อนไขอยู่(ให้ระบุแหล่งที่มาเสมอ และเงื่อนไขเพิ่มเติมเช่น>> เอาไปคัดลอก ดัดแปลงได้ คือไม่มีเงื่อนไขอะไร,ห้ามเอาไปดัดแปลง ,ห้ามเอาไปใช้ทางการค้า ,เอาไปใช้ทางการค้าได้)
รูปที่สามารถนำไปใช้ได้
www.flickr.com>> all creative common search สามารถนำรูปไปใช้ได้แบบมีเงื่อนไข และยังสามารถหารูปที่ใช้ได้ฟรีแบบไม่มีเงื่อนไขเช่น ใน Public domain
เมื่อลองหาแหล่งรูปฟรีที่ wiki จัดทำไว้ meta.wikimedia.org/wiki/Free_image_resources จะพบว่ามีรูปมากมายเยอะแยที่ให้ใช้มีทั้งแบบฟรีและฟรีแบบมีเงื่อนไข
และรูปและมีเดียฟรีที่wikiโดยตรง commons.wikimedia.org/wiki/Main_Page ใช้คำเสิชหาเอาเลยครับ มีมากมายหลักล้านรูปได้ เยอะครับแบ่งเป็นแคททีกอรี่หมวดหมูมากมาย วิว งานเอ็นจิเนีย จะก็อปไปเขียนบทความก็ได้ทั้งนั้น บางอันก็เอาไปทำงานคอมเมอเชียลก็ยังได้ ให้อ่านรูปแต่ละรูปว่ามีข้อจำกัดอะไรบ้าง
เอกสารที่สามารถนำไปใช้ได้
เอกสารที่มี คำว่า GNU Free Software Foundation ส่วนใหญ่เป็นหนังสือเอกสารที่ทำเพื่อการศึกษา เช่น หนังสือเรื่องไฟฟ้า www.ibiblio.org/kuphaldt/electricCircuits/
สามารถนำไปคัดลอก ดัดแปลงใช้งานได้เพราะผู้เขียนอนุญาตภายใต้แนวคิดของ GNU
เอกสารใดๆที่มีคำว่า CC หรือครีเอทีฟคอมมอนส์ ชนิดมีเงื่อนไขเบื้องต้นคือต้องระบุแหล่งที่มีหรือมีเงื่อนไขอื่นเพิ่มเติม เช่น
เอกสารที่จัดทำและเผยแพร่โดยรัฐบาลอเมริกาและมีข้อความบางอย่างที่บ่งว่าสามารถนำไปใช้ได้
เนื่องจากตามกฎหมายอเมริกาซึ่งมีใจความว่า เอกสารที่จัดทำโดยรัฐบาลหรือลูกจ้างที่รัฐจ้างเพื่อจัดทำเอกสารและนำไปใช้งานทั่วไปในหน่วยงานรัฐและมีการเผยแพร่ ไฟล์เอกสารดังกล่าวเป็นอิสระจากกฎหมายลิขสิทธิ์
ฉะนั้นสามารถทำซ้ำ ดัดแปลงและเผยแพร่ได้ แต่ควรต้องระบุแหล่งที่มา การนำภาพบางส่วนในเอกสารPDFมาเผยแพร่ย่อมสามารถทำได้ เมื่อกฎหมายลิขสิทธิ์ของอเมริกาไม่มีผลบังคับใช้ในอเมริกาจะมีผลบังคับใช้ในเมืองไทยหรือไม่-คิดว่าคงไม่มีผล เช่น เอกสาร Navy Electricity and Electronics Training Series -Introduction to Matter, Energy, and Direct Current.pdf ซึ่งถูกทำสำเนาที่ wiki และระบุชัดเจนว่าสามารถนำไปใช้งานได้คล้ายกับมีเดียชนิด public domain ซึ่งเอกสารดังกล่าวหาโหลดทั้งเวอชั่น jacquesricher.com/NEETS/ หรือมีให้เลือกเยอะกว่า maritime.org/doc/index.htm#neets ปัญหาสำคัญคือคุณจะรู้ได้อย่างไรว่ามันยกเว้น แม้มันเป็นเอกสารที่ได้รับการยกเว้นเรื่องลิขสิทธิ์ในอเมริกา แต่อเมซอนก็ยังแปลงเป็นเอกสารkindleขายได้(น่าจะได้รับอนุญาตให้ขายจากเจ้าของแล้วนะ) การหาแหล่งที่มาชัดแจ้งและมีหลายๆคนช่วยกันดูเช่นจาก wiki อย่างนี้พอที่จะเชื่อถือเอาไปใช้ได้ หรือเราต้องรู้จักที่มาโดยเปิดเข้าไปดูหน้าแรกหรือหน้าที่สอง จะมีคำว่า “Approved for public release; distribution is unlimited” มันแปลว่าแจกจ่ายได้อย่างไม่จำกัดแต่ไม่ได้มีคำว่าเอาไปดัดแปลงใช้งานได้ และตราสัญญลักษณ์ราชการของอเมริกา แล้วก็ลองเสิชย้อนกลับไป
การเอาเอกสารเมืองนอกของรัฐที่ได้รับการยกเว้นลิขสิทธิ์ไปใช้เพื่อการศึกษานำไปดัดแปลงและมีบางส่วนเอาไปทำงานและมีที่มาแบบย้อนกลับได้ทำให้ปลอดภัยจากกฎหมายลิขสิทธิ์เมืองไทย แม้แต่ในเจ้าของเอกสารในอเมริกาที่อิงมาจากหน่วยงานรัฐยังบอกชัดเจนว่าเพื่อการศึกษาแล้วสามารถทำได้แต่ถ้าทำเพื่อขายเช่นเอาไปแต่งหนังสือขาย เขา(เจ้าของเอกสารหน่วยงานนั้นๆ)ก็บอกว่าให้ขออนุญาตก่อน
วีดีโอที่นำไปใช้ได้
วีดีโอที่มีคำว่า สัญญาอนุญาตชนิด ครีเอทีฟคอมมอนส์ Creative Commons หาดูได้ในยูทูป (youtube.com filter ตรง ครีเอทีฟคอมมอน แล้วหา) เอามาเอ็มเบ็ดได้โดยเป็นการใช้ได้ฟรีแบบมีเงื่อนไข เช่นต้องระบุแหล่งที่มาเป็นต้น เช่นหาวีดีโอbatteryในยูทูปที่เอาไปเอ็มเบ็ดได้
รูปฟรีไม่มีลิขสิทธิ์ เกิดจากที่ลิขสิทธิ์ไม่คุ้มครอง หรือหมดความคุ้มครองแล้ว หรือเจ้าของลิขสิทธิ์สละให้ใช้ได้
no known copyright restrictions
เช่น รูปธนบัตรที่หมดอายุ เกินกว่า 50 ปี เช่น รูปแบงค์ร้อยสมัยปี1955 ที่มีรูปพระบรมฉายาลักษณ์ของพระเจ้าอยู่หัว
เช่น รูป หรือ แผนที่ ที่มีอายุมากกว่า50ปีหลังจากที่เจ้าของลิขสิทธิ์ตาย อันนี้เป็นค่าประมาณที่มากที่สุดที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ระยะเวลาเอาไว้
รูป วีดีโอ เอกสาร โปรแกรมฟรี มีอยู่ให้ใช้
หาอ่านเรื่อง Creative Commons wiki ภาษาไทย ภาษาอังกฤษสรุปใจความสั้นๆว่า Creative Commons เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร
เสนอทางเลือกให้เราสามารถเลือกใช้ ภาพ เสียง ข้อมูล นำไปประกอบงานต่างๆได้โดยเสรีมากกว่า-ข้อจำกัดในกฎหมายลิขสิทธิ์ (ตามที่ผู้สร้างสรรค์งานอนุญาตให้ใช้ได้ถึงขั้นไหน)
และ เสนอให้ผู้ที่สร้างสรรค์งาน สามารถกำหนดลิขสิทธิ์ ที่ให้ผู้อื่นนำไปใช้งานได้อย่างเสรีแบบบมีเงื่อนไขหนึ่งข้อ หรือ เงื่อนไขหลายข้อ เงื่อนไขที่สำคัญที่ต้องมีคือการให้เครดิตหรือบอกที่มาที่ไปของงานที่จะคัดลอกไปใช้ และเงื่อนไขอื่นๆที่กล่าวถึง
Creative Commons license สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (CC license)
เมื่อเราสร้างสรรค์ผลงานเราอยากให้คนอื่นมาแชร์ มาใช้ หรือเอาไปดัดแปลงแก้ไขได้ โดยผู้เอาไปใช้จะเข้าใจว่าไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์อย่างแน่นอนคือสบายใจได้ถ้าเอาไปใช้ เราต้องกำหนดงาน เช่น ภาพ เสียง ข้อมูล ให้มีสัญญาอนุญาตชนิดครีเอทีฟคอมมอนส์ พิมพ์สั้นๆว่า CC license ขี่ทับอยู่หรือให้สัญญาด้วยตนเองเพิ่มเติมไปจากกฎหมายลิขสิทธิ์(Copyright law ซึ่งให้สิทธิ์อัตโนมัติเมื่อผู้สร้างสรรค์ผลงานสร้างขึ้นโดยเงื่อนไขปรกติ) การกำหนดงานดังกล่าวให้เป็น CC license ถ้าอย่างง่ายสุดจะทำอยู่บนเว็บไซด์ที่ให้อัพโหลดเก็บไฟล์ต่างๆ โดยใช้เครื่องมือของเซิฟเวอร์ฝากไฟล์หรือวีดีโอนั้นเอง หรือเราจะกำหนดเองก็ได้บนเว็บบล็อกหรือเว็บบอร์ดโดยการเพิ่มแท็กในรูปหรือเสียงว่าเป็นชนิด CC หรือเขียนอนุญาตเอาไว้ หรือแปะสัญลักษณ์เอาไว้
ข้อกำหนดหรือรูปแบบเงื่อนไข ใน CC license
ไอค่อน สิทธิ ความหมาย Attribution
(BY)
Licensees may copy, distribute, display and perform the work and make derivative works based on it only if they give the author or licensor the credits in the manner specified by these. (CC SA by wiki Creative_Commons_license)(แปลไทยประมาณว่า ผู้ได้รับอนุญาต จะสามารถคัดลอก แจกจ่าย แสดง เอาไปใช้งานและ นำไปใช้อยู่ในบางส่วนของงาน(ดัดแปลง) ถ้าเพียงผู้เอาไปใช้จะได้รับอนุญาตก็ต่อเมื่อ ผู้ใช้ได้ระบุที่มาที่ไปของผู้สร้างสรรค์ผลงานเดิม(ให้เครดิต) อาจระบุส่วนที่เอาไปดัดแปลงด้วยก็ได้ (ชื่อ และ ลิงค์ ของต้นฉบับ เป็นต้น) (SA)
Licensees may distribute derivative works only under a license identical to the license that governs the original work. (See alsocopyleft.) (CC SA by wiki Creative_Commons_license)แปลไทย ประมาณว่า ผู้ได้รับอนุญาต สามารถแจกจ่ายโดยดัดแปลงเอาไปใช้อยู่ในส่วนของงานได้ก็ต่อเมื่องานนั้นจะต้องมีการอนุญาตเหมือนๆกับงานต้นฉบับก่อนการดัดแปลง (เช่นผมก๊อปปี้ ข้อความด้านบนจาก wiki ซึ่งมี ลักษณะของ SA จึงทำให้บทความนี้ของผม เป็นแบบ SA ด้วย จึงจะสามารถนำไปใช้ได้ แต่ถ้าบทความนี้ผมเอาไปอ้างว่าผมแต่งเองทั้งหมด โดยเป็นแบบ all right reversed ผมจะเอาข้อความของ wiki ไปใช้ไม่ได้) Non-commercial (NC) Licensees may copy, distribute, display, and perform the work and make derivative works based on it only for noncommercial purposes. (CC SA by wiki Creative_Commons_license)แปลไทยประมาณว่า เอาไปก๊อป ดัดแปลงใช้ โดยไม่มีจุดประสงค์หาเงิน No Derivative Works (ND) Licensees may copy, distribute, display and perform only verbatim copies of the work, not derivative works based on it. (CC SA by wiki Creative_Commons_license)แปลเป็นไทยได้ประมาณว่า ก็อป แจก แสดง เอาไปทำงานได้ แต่ห้ามด้ดแปลงเอาไปอยู่ในบางส่วนของงาน (มาแบบไหน ก็ต้องเป็นแบบเดิม ห้ามตัดเสริมเติมแต่ง บางที่บอกว่าอนุญาตเอาบางส่วนไปแสดงหรือ ตัดบางส่วนไปแสดง แต่ผมว่าไม่น่าจะใช่ เครื่องหมายเท่ากับก็ประมาณว่าเท่ากับแบบเดิม)
เอา 4 ไอค่อนด้านบนมาทำเป็น ไอค่อนด้านล่าง ได้อีก 6 ชนิด
บอกให้คนอื่นรู้ถึงสิทธิ์การอนุญาตเอาไปใช้ได้ CC by นายเอ CC โดย นายเอ หรือ CC licience โดย นายเอ ใต้ภาพหรืองาน หรือแสดงไว้ต่างหาก ผู้ก๊อปปี้เอาไปใช้สามารถเอาไปใช้หารายได้ได้ แต่เราสามารถอ้างสิทธิ์เดิมแล้วขอส่วนแบ่งได้ คือเราไม่ได้สละสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ เราให้เอาไปใช้ได้ ถ้าหาเงินได้ก็ควรต้องแบ่งกับเราบ้างตามสมควร เท่าที่อ่านๆมามันประมาณนี้นะ
ส่วนอันนี้คือไม่อยากให้เขาเอาไปใช้ทำการค้าหาเงิน ก็จำกัดไม่ให้หาเงิน แต่ถ้าติดต่อกันส่วนตัวอยากจะขออนุญาตเอาไปใช้หาเงิน ผู้ให้สิทธิ์ก็ยังเป็นเราเหมือนเดิม คือไม่อยากให้มันเอาไปใช้หาเงินซี้ซั้วโดยที่ไม่ได้กำหนดสัญญาเป็นแบบนี้ก็ได้ อีกแบบคือผู้ให้สิทธิไม่อยากให้เอาไปทำการค้าจริงๆอยากเก็บไว้เป็นทีระลึกเป็นต้น
กก
สำหรับเงื่อนไขอื่นๆ ได้แก่ CC0 หรือ “ไม่สงวนลิขสิทธิ์” (No Rights Reserved)[5]สำหรับซอฟต์แวร์ ครีเอทีฟคอมมอนส์ใช้สัญญาอนุญาตเสรี 3 ชนิดที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยสถาบันอื่น ได้แก่ BSD License, CC GNU LGPL license, และ CC GNU GPL.
กก
7,359 total views, 1 views today