ในบทนี้
ช่วงต้น จะมีการแนะนำการเรียนรู้ไฟฟ้าพื้นฐานด้วยตนเองจากครูทั้งหลายที่ทำสื่อการสอนมาสอนศิษย์ของตนในระดับมัธยมต้น เพื่อท่านผู้อ่านที่ยังไม่มีพื้นความรู้พอที่จะหาศึกษาค้นคว้าเอาได้
ช่วงหลัง จะเป็นงานเขียนของผมเอง ซึ่งจะมีวงจรหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ สวิทช์สองทาง ปลั๊ก L N G(ไลน์ นิวทรอล และกราวด์) ชนิดสายไฟ การเลือกสายไฟและขนาดเบรกเกอร์ ในมุมมองพื้นฐานให้พอรู้ว่าอะไรเป็นอะไร แต่ไม่ได้ครบถ้วนสักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่เป็นการเขียนให้ท่านผู้อ่านรู้เพิ่มขึ้นจากเดิม และนอกเหนือจากความรู้ในมัธยมต้นในเชิงที่สามารถนำไปใช้ได้จริงเอาไปต่อยอดได้เสียมากกว่า ซึ่งอาจจะต้องทำความเข้าใจเพิ่มขึ้น
เรียนไฟฟ้าพื้นฐานจากครูทั้งหลาย
ท่านผู้สนใจในงานไฟฟ้าเบื้องต้นครับ ผมอยากแนะนำจริงๆ มันมีเว็ปที่มีเอกสารการเรียนรู้ดีๆออกแนวภาคปฏิบัติอย่างครบครัน จากเว็ปไซด์ ของ โรงเรียนวิทยานุกูลนารี จังหวัดเพชรบูรณ์ หน้าเนื้อหา >> wbi.wk.ac.th/users/panya/ ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดจัดทำโดย ครู ปัญญา นนท์ดารา ขอขอบคุณเนื้อหาดีๆจากโรงเรียน วิทยานุกูลนารี และครูปัญญา นนท์ดารา
เอกสารประกอบการสอนไฟฟ้าระดับมัธยมต้น
ตอน 1 การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน , ลิ๊งค์สำรอง1
เล่ม 2 การอ่านและการเขียนแบบ , ลิ๊งค์สำรอง1
เล่ม 3 การเดินสายไฟในบ้าน , ลิ๊งค์สำรอง1
เล่ม 4 การติดตั้งคัทเอาต์ , ลิ๊งค์สำรอง1
เล่ม 5 การติดตั้งเต้ารับ , ลิ๊งค์สำรอง1
เล่ม 6 การติดตั้งหลอดใส้ , ลิ๊งค์สำรอง1
เล่ม 7 การติดตั้งสวิตซ์ , ลิ๊งค์สำรอง1
เล่ม 8 การติดตั้งหลอดฟลูออเรสเซนต์ , ลิ๊งค์สำรอง1
เล่ม 9 การตรวจสอบการทำงานและทดลองใช้งาน , ลิ๊งค์สำรอง1
งานวิจัย บทคัดย่อ
วิดีโองานไฟฟ้า ระดับมัธยมต้น
1.การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน by comhang2010
2.การติดตั้งคัตเอาต์ by comhang2010
3.การติดตั้งเต้ารับและสวิตช์ by comhang2010
4.การติดตั้งหลอดไส้และหลอดฟลูออเรสเซนต์ by comhang2010
5.การต่อสายชนิดต่างๆ by comhang2010
รีวิวของเก่า ตอนที่แล้วอีกรอบ ถ้าดูแล้วให้ข้ามไปนะครับ เนื่องจากจะได้หาง่ายๆ
ขอขอบคุณ วีดีโอการต่อไฟเบื้องต้น จากครูทั้งหลายที่เสียสละเวลามาสอนครับ
ของเก่าตอนที่แล้ว 1 หลักการต่อไฟฟลูออเรสเซนต์ youtube by vecstudy
ของเก่าตอนที่แล้ว 2 ไฟฟ้าเบื้องต้น youtube by nammon
ของเก่าตอนที่แล้ว 3 หลอดไฟฟ้า (ครู อภิชัย สังขมณี) youtube by POM2498
ของเก่าตอนที่แล้ว 4 สวิทช์ 2 ทาง ตอนที่1 by KruPanyaWorks
ของเก่าตอนที่แล้ว 5 สวิทช์ 2 ทาง ตอนที่2 by KruPanyaWorks
วีดีทัศน์ by KruPanyaWorks ทั้งหมด
ผลงานวีดีโอ ของครูปัญญา ทองทวีวัฒนา โรงเรียน ปัญญาวรคุณ มีเยอะมากจริงๆ
เครื่องมือ
ไขควง ไขควงปลายแม่เหล็ก ไขควงวัดไฟ ตลับเมตร
คีมปากแหลม คีมรวมหรือคีมผสม สว่านไฟฟ้า สว่านไฟฟ้า ชนิดเจาะกระแทก
สปริงดัดท่อ และเครื่องมือในการตัดท่อ พีวีซี ในงานไฟฟ้า
อุปกรณ์ วงจร และการสาธิตเบื้องต้น
สายไฟ ชนิดและขนาดต่างๆ การเดินสายไฟ การต่อสายไฟแบบต่างๆ เคเบิ้ลไทร์และไส้ไก่พันสายไฟฟ้า
เต้าเสียบ ตอนที่1 เต้าเสียบ ตอนที่2
เต้ารับ ตอนที่1 เต้ารับ ตอนที่2
สวิทช์ การประกอบ สวิทช์ 2ทาง ตอนที1 สวิทช์ 2ทาง ตอนที2
โครงสร้างของปลั๊กฟิวส์และลูกฟิวส์ cut out(คัทเอ้าท์)
โครงสร้างของตู้คอนซูเมอร์ยูนิต วงจรภายในคอนซูเมอร์ยูนิต
ลงมือทำ
อุปกรณ์ไฟฟ้าและวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย วงจรหลอดฟลูออเรสเซน(โคมหลอดตรง) วงจรหลอดฟลูออเรสเซน 32 วัตต์(โคมโดนัท)
การเข้าสายในบ๊อกซ์ตัวที่ 1และ 2 ของแผงสาธิตวงจร ตอนที่ 1 (ปลั๊ก สวิทช์ไฟ และสวิทช์ไฟ2ทาง)
การเข้าสายในบ๊อกซ์ตัวที่ 1และ 2 ของแผงสาธิตวงจร ตอนที่ 2
ความรู้ไฟฟ้าพื้นฐานอื่นๆนอกเหนือจากมัธยมต้น
สถาบันส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
อยู่ในหน้าเว็ปเพจ dnfe5.nfe.go.th/ilp/ หาหัวข้อวิทยาศาสตร์ รายการที่ 6.ไฟฟ้าและความปลอดภัย เป็นการเรียนรู้แบบให้พอรู้จักว่าอะไรเป็นอะไรมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร รูปประกอบเยอะดีครับ จะมีรายการเพจอยู่ 4-5หน้า มีหัวข้อดังนี้
1 การกำเนิดไฟฟ้าและแหล่งกำเนิดไฟฟ้า
2 การผลิตการส่งและการจ่ายไฟฟ้า
4 วงจรไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
5 การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าและการช่วยเหลือผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้า
ส่วนเนื้อหาที่ผมจะเขียนผมจะพยายามจะแทรกเน้นประสบการณ์ต่างๆที่ผมพอมี และสิ่งหรือการกระทำที่ก่อให้เกิดความผิดพลาด โดยมีการเพิ่มเนื้อหาคำถามของคนขี้สงสัยอยากจะค้นหาคำตอบตามที่ถนัด แต่ขอบอกไว้ก่อนนะครับ ผมถนัดงานซ่อมมากกว่า หรืองานที่เป็นประเภทดัดแปลง สร้างอะไรทำนองนี้ ส่วนเรื่องเดินไฟตามบ้านจริงๆบ้านผมผมก็จ้างเขาเอาอ่ะครับ อยากได้แบบไหนก็บอกเขาไป เคยลองเดินสายไฟด้วยเข็มขัดรัดสายเคยทำออกมานี่ดูไม่ได้เลยครับโดยเฉพาะตอกกับปูนถ้าไม่มีความชำนาญพอตอกทีไรก็ตะปูไม่ติดและปูนก็แตกทุกที ถ้าเดินสายโทรศัพท์เพิ่มผมยังขี้เกียจแกะสายเข็มขัดรัดสายเลย เอากาวตราช้างหยอดไล่ไปตามทางที่เราต้องการไม่ต้องมีตัวอะไรมารัดมันก็ดูดีดูสวยกว่า แต่ถ้าจะเดินสายไฟลอยบนปูนเพิ่มผมก็คงต้องจ้างเขาเอานั่นแหละครับ งานมันไม่ถนัดก็อย่าฝืนทำถ้างานนั้นมันเยอะมาก แต่ถ้านิดเดียวก็ลองทำดูสนุกไปอีกแบบ
วงจรหลอดไฟ ในที่นี้คือ หลอดฟลูออเรสเซนต์ ขนาด 36W หลอดยาว และหลอดสั้น 18W วงจรอยู่บนบัลลาสต์ครับ


ถ้าเราสังเกตดีๆ ที่บัลลาสต์เกือบทุกตัวมีวิธีการต่อหรือวงจรให้เราดูอยู่เสมอ แต่มักจะเข้าใจยากถ้าเห็นครั้งแรกๆแต่ถ้าต่อเป็นแล้วจะพบว่าฉลากที่บัลลาสต์มันทวนความจำเรื่องวงจรให้เราเสมอ ฉะนั้นถ้าไม่ได้ต่อนานลืมวงจรละก็ ดูที่ฉลากได้เลยครับ จะเห็นว่า ยี่ห้อฟิลิปส์ มีวงจรการต่อถึง 2 แบบ ทางซ้ายมือรูปเล็กเป็นชุดการต่อแบบ 36 W หลอดเดียวซึ่งมีวงจรภาพขยายดังรูปข้างล่าง ส่วนรูปการต่อทางขวามือของวงจรหลอดฟิลิปส์จะเป็นการต่อวงจร แบบ 18 W 2 หลอดพร้อมๆกันซึ่งต่อแบบนี้ได้ครับ (แต่เอาไปต่อแบบ36Wx 2หลอดไม่ได้นะครับ)


ภาพหลักการของสวิทช์ 2 ทาง

L หรือ Line หรือไลน์ คือ เส้นที่มีไฟ 220V เอาไขควงวัดไฟดูไฟจะติดเสมอ ยกเว้นไขควงวัดไฟเสีย เวลาก่อนวัดไฟด้วยไขควงต้องทดสอบก่อนเสมอว่ามันใช้ได้ ไม่งั้นเราอาจนึกว่าสายหรือรูนั้นไม่มีไฟซึ่งอาจโดนไฟดูดนะครับและต้องใส่รองเท้า ตัวต้องไม่เปียกน้ำหรือเปียกฝน เวลาโดนดูดมันจะไม่ดูดติดเหมือนในหนังแค่สะดุ้งเหมือนโดนไฟคอมดูดไม่ถึงกับดีดออกเหมือนถูกถีบสำคัญคือมีสติก่อนทำหรือซ่อมใดๆและควรตัดไฟก่อนการซ่อมจะปลอดภัยกว่านะครับ
ข้างล่างเป็นภาพไขควงวัดไฟแบบถูกชนิดต่างๆซึ่งมีมากมายหลายแบบหลายยี่ห้อ

วิธีทดสอบไขควงวัดไฟก่อนใช้งาน ก็ไปหาวัดเอาที่เต้าเสียบไฟเลยครับ มีสองรู รูปบนกับล่าง จะมีรูที่ไฟติดส่วนใหญ่อยู่รูบน เรียกว่า L ไลน์ อีกรูที่ไม่ติด เรียกว่า N นิวทรอน ส่วนรูตรงกลางเรียกว่า G กราวด์ซึ่งไขควงวัดไฟก็ไม่ติดเหมือนกัน


N หรือ Neutral หรือนิวทรอล คือเส้นที่ไม่มีไฟฟ้าทำหน้าที่รับกระแสไฟที่เครื่องใช้ไฟฟ้าได้รับไฟมาจาก L (ไลน์) ย้อนกลับคืนไปให้การไฟฟ้าคืนให้กับหม้อแปลงของการไฟฟ้า
เอามือจับ(นิ้วแตะ)Nนิวทรอลโดยตรงเส้นเดียวไม่ดูด
แต่ถ้าจับสองเส้นระหว่าง L กับ N มันจะดูดติดจนกว่าเราจะเสียชีวิตทีเดียวถึงแม้เราจะใส่รองเท้าก็ตาม ฉะนั้น เส้นN คือเส้นที่มาจากหม้อแปลงของการไฟฟ้า ซึ่งมีความต่างศักย์ไฟฟ้าเท่ากับ0เมื่อเทียบกับไลน์
G หรือ Ground หรือกราวด์ คือเส้นที่ไม่มีไฟฟ้าแต่ทำหน้าที่รับกระแสไฟฟ้าที่รั่วมาจากเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งกราวด์ถูกสร้างขึ้นที่หน้าบ้านของเราและกราวด์ของการไฟฟ้าซึ่งมักอยู่ปักแท่งกราวด์บริเวณเสาไฟฟ้าที่มีหม้อแปลง ซึ่งมีค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า หรือมีค่าโวลท์เท่ากับ0 สมบูรณ์ เอามือไปจับกราวด์เพียงเส้นเดียวจะไม่โดนดูด แต่ถ้ากราวด์หน้าบ้านเราไม่มีหรือสร้างได้ไม่ดีมันก็ไม่สามารถป้องกันไฟดูดหรือไฟรั่วได้เลย
แต่ถ้าเอามือจับไลน์และกราวด์พร้อมกันก็จะโดนดูดติดอย่างรุนแรงจนเสียชีวิต
แล้วถ้าเราเอามือจับ NกับG พร่อมกันล่ะ อันนี้มีสิทธิ์โดนดูดนะครับ เแต่ต้องแบ่งเป็นหลายกรณีมีปัจจัยหลายอย่างประกอบกันเช่น เราไม่แน่ใจว่าในบ้านเราจั๊มสายไฟเชื่อมระหว่าง N กับ G หรือไม่ กราวด์ของเราสร้างมาอย่างดีหรือเปล่า แม้ว่าGที่สร้างอย่างดีมีความต่างศักย์เท่ากับ0 แต่ในระบบหม้อแปลงการไฟฟ้าส่งไฟฟ้าสลับออกมาเป็นคลื่นไซน์ซึ่งมีช่างเวลาหรือคาบเวลาที่ความต่างศักย์มากกว่า0เช่น220V และมีช่วงเวลาที่ความต่างศักย์ติดลบมากถึง-220V เมื่อเทียบกับนิวทรอลของหม้อแปลง ผลก็คือกระแสไหลย้อนกลับจากนิวทรอลไปสายไลน์ได้เมื่อเสียบเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งจะทำให้มันครบวงจร ซึ่งในทำนองเดียวกับกราวด์ซึ่งผมจะอธิบายอีกที
มาลองสนใจเรื่องกราวด์ G GROUND กันสักนิด กราวด์คืออุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อให้ไฟฟ้ารั่วไหลลงดินและลดการทำอันตรายกับมนุษย์ที่ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นหลัก แต่ในอุปกรณ์อีเล็กทรอนิคกราวด์มีผลกับคุณภาพของไฟฟ้า สมัยเด็กๆผมเคยเห็นกราวด์ชนิดเอาตะปูตอกลงไปกับปูน ปัจจุบันก็ยังเห็นอยู่ โดยเฉพาะเครื่องซักผ้า พอดีไปช่วยเขาย้ายบ้านแล้วบังเอิญเจ้าบ้านเข้าจ้างช่างสารพัดที่จะทำอะไรก็ได้ทุกอย่าง เห็นเขาย้ายเครื่องซักผ้ามาแล้วเขาก็บอกว่าถ้าไม่มีกราวด์เอาตะปูตอกเอา เพื่อนผม(เจ้าของบ้าน) ก็ชี้ไปที่ปลั๊กมันเป็นปลั๊ก3ตา แบบมีกราวด์(สรุปมึงจะตอกกราวด์ทำไมกูก็มีกราวด์เป็นเต้ารับแบบ3ตาอยู่แล้ว) สมัยนี้ยังได้ยินช่าง(มันมีงตายไม่ใช่กูตาย)แนะนำทำกราวด์ติงต๊องกันแบบนี้ ถ้าไฟรั่วจริงคงโดนไฟดูดตายล่ะโดยเฉพาะกับเครื่องทำน้ำอุ่น
เวลาเขาสร้างกราวด์ผมเห็นเขาตอกแท่งกราวด์ที่ทำจากทองแดง หรือเหล็กชุบทองแดงหรือ แท่งเหล็กที่หุ้มปลอกทองแดงลงไปในดินที่มีความชื้น ลงไปอย่างน้อย 2.4 เมตรครับ ตามบ้านทั่วๆไปหรือถ้าเป็นบ้านตึกแถวแล้วจะตอกกราวด์หน้าบ้านใกล้กับท่อน้ำทิ้งอันใหญ่ๆ ซึ่งแน่นอนความชื้นสูงอยู่แล้วและจั๊มสายไฟเข้ากับกราวด์ ซึ่งส่วนใหญ่ก็แท่งเดียวก็พอแล้ว
แล้วถ้าจ้างพวกที่ทำกราวด์ตามโรงงานมา เขาจะตอกลงไปและทำเป็นกริดเชื่อมกันและฝังอยู่ในดินจำนวนกริดและจำนวนกราวด์ที่เขาตอกกันขึ้นกับเขาดีไซน์เอาไว้ว่าให้ไฟรั่วได้เท่าไหร่ที่กราวด์ทนได้และความต้านทานต้องได้ตามมาตรฐาน(ถ้าน้อยกว่า 5โอห์มเข้าหลักเกณของIEEEและการใช้งานด้านโทรคมนาคม หรือดูเอกสารของสภาวิศวกรเกี่ยวกับการออกแบบติดตั้งตรวจสอบและทดสอบการต่อลงดิน ซึ่งเป็นpdfที่ละเอียดมาก และซึ่งการไฟฟ้ากำหนดไว้ให้น้อยกว่า 5โอห์ม) พอทำเสร็จก็ยังต้องใช้เครื่องวัดว่าได้กี่โอมห์ แต่ตามบ้านกันเขาตอกลงไปเสร็จก็ขันน็อตไม่ได้วัดอะไรกันเท่าไหร่ จะซื้อเครื่องวัดมาวัดก็แบบถูกสุดก็หลายตังค์มากๆ ไว้จะทดลองวิธีวัดกราวด์ด้วยการวัดกระแสที่เตารีด****แล้วเรามาดูกันว่ากราวด์หน้าบ้านท่านใช้ได้หรือไม่

ถ้าลองหาอ่านในเว็บก็มีผู้อธิบายอย่างละเอียดในเรื่องเต้ารับ พร้อมรูปประกอบมีหลักใจความสำคัญที่การต่อให้ถูกสายยังไม่พอต้องเสียบให้ถูกขั้วด้วยโดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ที่ดูเหมือนชอบไฟดูดเราทุกครั้งตอนแตะโครงเครื่องเพราะเราเสียบผิดขั้ว เขายังบอกต่อไปว่าถ้าเป็นคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะคอมตั้งโต๊ะที่มีพาวเวอร์ซัพพลายถ้าเสียบผิดขั้ว การจะเสียบผิดในที่นี้คือเราไปหักกราวด์ทิ้งเนื้องจากปลั๊กที่บ้านหรือสายพ่วงมันไม่มีรูกราวด์จึงจำเป็นต้องหักเพราะมันเสียบไม่เข้า (หรือสายปลั๊กพ่วงราคาถูกนั้นหัวเสียบตัวผู้มันไม่มีกราวด์อยู่แล้ว) แล้วจากนั้นเราก็เสียบกันยังไงก็ได้สลับบนล่างเครื่องคอมก็เปิดติด สลับล่างบนมันก็เปิดติด แต่ถ้าไม่ถูกขั้วมันมันจะไฟดูด ไฟดูดในที่นี้เขายังบอกต่อไปว่าไม่ได้เกิดจากไฟรั่วแต่เกิดจากภาวะการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าของพาวเวอร์ซัพพลาย เท็จจริงยังไงยังไม่ได้ลองทดสอบครับ??*** เอาไว้ว่างต้องลองดู ที่เว็บนี้ >>>คลิ๊ก เว็บบอร์ด www.koratsound.com ขอยืมรูปเขามาหน่อยนะครับ แต่ส่งลิงค์คืนไปแล้วนะครับ



ตัวอย่างเต้าสำหรับเสียบที่เห็นในรูป ผมขอเรียกสั้นๆว่าเต้าเสียบ แต่จริงๆมันคือเต้ารับแหละแต่มันไม่ค่อยคุ้นหู เดาๆดูทางซ้ายมือตัวเขียวๆนี่น่าจะเป็น panasonic รุ่น wide series ซึ่งเวลาไปซื้อที่ร้านไฟฟ้า จะบอกว่า เอา เต้าเสียบแบบมีกราวด์เนใหม่ คนขายจะเข้าใจและหยิบถูก เพราะ เน ในที่นี้คือยี่ห้อ Nationalเก่า ปัจจุบันทำตลาดในแบรนด์ Panasonic เข้าใจว่าแต่เดิมที่ญี่ปุ่น เขาใช้ชื่อ Matsushita Electric -มัตซูชิตะ อีเล็กทริก เข้าใจว่าที่เดียวกันหรือเจ้าของเดียวกัน ส่วนคำว่าใหม่ มาจากรุ่นใหม่ เพราะเต้าเสียบของ Pana มี2รุ่น คือ รุ่นใหม่กับเก่า รุ่นใหม่จะใช้กับสายไฟแข็งเท่านั้นในการติดตั้งปลั๊กต้องเสียบเข้าไปในรูกลมๆ แต่ถ้าใช้สายไฟอ่อนจะเสียบไม่เข้า ต้องไปหาหัวย้ำสายมาใส่ โดยเฉพาะหัวย้ำสายแบบหางหนู หรือหางปลาก้านบาร์ ด้านซ้ายมือ หรือ สลิปย้ำปลายสายหุ้ม และคีมอีก รูปยืมมาอีกเช่นกัน จาก www.praguynakorn.com ภาพข้างล่างนำมาจากเว็บดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตการนำไปใช้ต่อควรอยู่ในขอบเขตจำกัด

แต่ถ้าไม่อยากลงทุนคีมก็ใช้หัวแร้งทำสายอ่อนให้แข็งแล้วเสียบลงไปก็พอได้แต่มันไม่ดีนัก ไม่งั้นก็ซื้อหัวย้ำสายแล้วเอาค้อนมาทุบๆก็ได้ดีกว่าบัดกรี เพราะคีมย้ำอันนึงสองสี่ซ้าห้าร้อยแล้วแต่รุ่นมีถูกมีแพง ถ้าต้องการเดินสายอ่อนทำเต้าเสียบพ่วง หรือ เรียกว่าปลั๊กพ่วง ก็ซื้อแบบบ panasonic รุ่นเก่าก็ได้ เพราะเป็นแบบขันน็อตเอาสายใส่รูกลมๆเหมือนกัน แต่กราวด์ต้องหาหัวย้ำสายหรือไม่ก็ทำขดสายไฟเป็นวงกลมหมุนไปตามเข็มแล้วขันน็อตตามก็พอได้ครับ เรียกว่ารุ่น Full color series เรียกว่าเต้าเสียบคู่มีกราวด์เนเก่า คนขายเข้าใจ ขั้นน็อตแน่นกว่าครับสำหรับสายอ่อน จริงๆที่แนะนำยี่ห้อนี้เพราะมันยี่ห้อตลาดๆหาซื้อที่ไหนก็มีคุณภาพถือว่าดีครับ ในตลาดยี่ห้อที่หาได้น้อยร้านคุณภาพดีๆก็มีอีกเยอะครับ และพวกหาได้น้อยร้านและคุณภาพแย่ก็มีเหมือนกัน ตอนนี้มียี่ห้อ ช้างเริ่มออกมาตีตลาดแล้วแต่ไม่เคยใช้เลยบอกไม่ได้ว่าดี หรือ ไม่ดี แต่เนชั่นแนล ทำตลาดมานานกว่ามากๆๆ สินค้าในหมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าทางอุตสาหกรรมก็มีเยอะแยะตาแป๊ะก่าย ซึ่งค่อนข้างทนใช้คุ้มครับ สนใจหาข้อมูลเพิ่มเติมที่ รวมหมวดpana , Full-color series , Wide-series ซึ่งมีตั้งเต้าเสียบ สวิทช์ ดรีมเมอร์ เสียอย่างเดียวครับ ไม่มีปลั๊กเสียบ ซึ่งสมัยก่อนมีขายเป็นปลั๊กยางดำๆ แต่สมัยนี้ ปลั๊กเสียบยี่ห้อ pana แบบไหนๆก็ไม่มีขายแล้ว ผมไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมไม่มีปลั๊กยี่ห้อนี้ขาย
เคยได้ยินว่าปลั๊กเสียบพ่วงมันมีมาตรฐานความปลอดภัย ว่าหัวปลั๊กต้องเป็นแบบหล่อมาเป็นปลั๊กยางเท่านั้นถึงจะผ่านมาตราฐานที่เอาไว้ใช้ในโรงงานหรือเอาไว้ขายถ้าเป็นแบบประกอบขันน็อตคนตรวจเขาจะไม่ค่อยชอบนักเขาบอกว่ามันไม่ได้มาตรฐาน เอาไว้ผมไปค้นมาก่อนนะ ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าเอามาตรฐานไหนมาพูดกันหว่า???*****

ภาพข้างบน เป็น สายไฟทั่วไปที่นิยมใช้ในงานบ้านทั่วไปรวมไปถึงโรงงาน ส่วนวิธีการเลือกสายไฟคือ ใช้กับไฟกี่โวลท์และใช้สายแข็งหรืออ่อน อุปกรณ์ไฟฟ้าใช้ไฟ 380V ก็เลือกสายไฟชนิด 750V 220V ก็เลือกใช้แบบ 300V ส่วนการเลือกสายแข็งสายอ่อนมันก็แล้วแต่จะเอาไปใช้อะไรครับ ถ้ามีการขยับสายไฟไปมาก็ต้องใช้สายอ่อน แต่ถ้าไม่มีการขยับก็ใช้สายแข็ง ชนิดของสายไฟมีมากมายครับ ถ้าบังเอิญได้ไปซื้อสายไฟเมืองนอกคลองถมสายไฟญี่ปุ่นตัดและช่างกิโลขายบางทีเขาไม่ได้ใช้รหัสแบบนี้ วิธีการเลือกก็เลือกด้วย 2วิธีดังที่กล่าวมาแล้ว สายอ่อนประเภทคล้ายกับVSF แต่เป็น 750 V ก็มีขาย แต่ชื่อมันไม่ใช่VSF เป็นชื่ออื่นๆ ส่วนขนาดความหนาของสายไฟเขาเรียกเป็นขนาดสายไฟ กี่สแควว์มิลลิเมตร sqmm คือพื้นที่หน้าตัดของลวดทองแดงจะบ่งบอกการทนกระแสได้ของสายไฟ ขนาดการทนกระแสของแต่ละขนาดสายไฟผมจะยังไม่ลงรายละเอียด สายไฟVCTมีขายนอกจากขนาดสายไฟแล้วต้องระบุจำนวนเส้นหรือคอร์ในสายไฟด้วยว่าจะเอาแบบกี่สาย เช่น VCT 2 x 2.5 หมายถึง เมื่อแกะเปลือกสีดำออกมามีสายข้างใน 2เส้น แต่ละเส้นมีขนาด 2.5 sqmm เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสายไฟอีกชนิดที่เรียกว่าสายไฟทนความร้อน หรือสายไฟซิลิโคนหุ้มใยแก้ว ซึ่งเอาไว้ใช้เดินสายไฟในส่วนที่ใกล้ฮีตเตอร์ ซึ่งสามารถทนความร้อนได้สูง ราวๆ 180 องศาเซลเซียส ก็น่าจะพอเกี่ยวข้องกับเราอยู่บ้างในงานdiy ทั้งหลาย ที่เกี่ยวกับเตาอบ ตู้อบอะไรเทือกนี้

ในรูปประกอบข้างล่าง เป็นการประกอบสายไฟกับน็อตที่ติดปลั๊กตัวผู้หรือเต้ารับที่เป็นส่วนของกราวด์เนเก่า ต้องทำสายไฟให้มีรูปเป็นห่วงที่มีลักษณะวนขวา หรือวนตามเข็มนาฬิกา ที่มีขนาดพอดีพอที่เกลียวน็อตจะร้อยเข้าไปในแหวนนั้นได้พอดีๆ เพราะเวลาไขน็อตด้วยไขควงปากแฉก +2 หรือปากแบน -6 การไขต้องไขให้แน่นหมุนไปตามเข็มตามทิศของห่วงสายไฟ ขั้นตอนเหล่านี้ต้องฝึกฝนทำให้ถูกต้อง ถ้าสายไฟทำเป็นห่วงไม่ถูกต้องเวลาไขมันก็หลุดลุ่ยออกมาทุกครั้ง และถ้าไขหัวน็อตสายไฟและฐานขั้วไฟเหล่านี้ไม่แน่นมันจะร้อนและไหม้ได้ตอนใช้งานเสียบ หรือใช้ไปนานๆทำให้เบรกเกอร์ทริ๊ป หรือฟิวส์ขาด หลักการสำคัญของงานติดตั้งเดินไฟฟ้าอย่างหนึ่งคือ ต้องขันน็อตกับสายไฟให้แน่นพอและต้องมีการตรวจสอบซ้ำว่าไม่ลืมอะไร ไม่งั้นอาจเกิดความผิดพลาด เช่น เบรกเกอร์ทริ๊ป ไฟช็อต ไฟดูด หรือ ไฟไหม้ได้

ไขควงที่ใช้ในงานไฟฟ้าถ้าดูในบทก่อนๆก็มีรูปแนะนำหรือ vdo ประกอบแล้วนะครับ แต่ผมอยากจะแนะนำให้ลึกกว่านั้นหน่อย ขนาดของไขควงที่ใช้บ่อยๆ คือ หัวแฉก ภาษาอังกฤษ เขาเรียกว่า screwdriver phillips tip ที่ใช้บ่อยๆในอุปกรณ์ไฟฟ้าคือ +2 รองลงมาคือ +1 ส่วน ไขควงปากแบน คือ -6 จะซื้อยี่ห้ออะไรก็ได้แต่ห้ามซื้อแบบ 3อัน 20- หรืออันละ10-20 บาท หัวมันจะไม่แข็งแต่ถ้าซื้อมาแบบไขครั้งๆสองครั้งแล้วทิ้งนี่ไม่ว่าเลยครับ ควรซื้อแบบ อันละ >60บาท หัวมันจะแข็ง ต้องลองสังเกตดูหัวจะเนี๊ยบแล้วลองใช้ดูอ่ะครับ จะเป็นแบบหัวสลับด้านก็ได้ ถ้ามีคำว่า chrome vanadium หรือ fully hardened อะไรทำนองนี้ได้ก็ดีแปลว่ามีการชุบแข็ง หัวแม่เหล็กด้วยยิ่งดี แต่ไม่ว่าของจะดีแค่ไหนอันละ2-3ร้อยก็มีอายุการใช้งาน โดยเฉพาะ +2 ถ้าหัวเยินหรือเสียรูปแล้วห้ามเอาไปไขเด็ดขาดจะทำให้น็อตเสีย หัวรูด แล้วจะไขออกไม่ได้เสียเวลาเอาออกหรือเปลี่ยนอุปกรณ์กันอีก ยี่ห้อบ้านๆที่มีมานาน20กว่าปีคือ champion แต่มันมีของก๊อปนะครับต้องดูให้ดี ราคาอันละ 70-90 บาท แต่หลังๆมีหลายยี่ห้อมากมายสัก30กว่ายี่ห้อได้ ของจีนหลังๆที่ดูงานเนี๊ยบๆหน่อยก็ใช้ดีนะครับเช่นยี่ห้อ tonglee หัวสลับด้าน อันนึงก็ไม่ต่ำนะครับ 70-90 บาทได้มั้ง แต่ไม่ได้หมายถึง20 บาทนี่ใช้ไม่ได้นะครับถ้าไขควงด้ามเล็กมากๆ หัวเล็กกว่าหัวเบอร์ +1 อันละ 20-30 บาทก็พอแล้วนะครับ 🙂


การเลือกสายและขนาดของเบรกเกอร์
ขนาดสายไฟเลือกตามกระแสใช้งานจริง โดยทั่วไปที่ใช้กันตามบ้านเป็นแบบเดินลอย หรือเดินท่อพลาสติกฝังปูนเป็นต้น ซึ่งกระแสใช้งานจริงจะทำให้สายร้อนไม่เท่ากัน ถ้าเดินในท่อสายจะร้อนกว่าจึงทำให้จำกัดกระแสจากวิธีการเดินสายไฟด้วย โดยไม่ให้สายร้อนเกินไป ในการออกแบบของพวกโปรมักจะใช้ท่อเหล็กเป็นเกณท์ในการออกแบบเลือกขนาดสายไฟจากกระแส ซึ่งถ้าเราเอามาประยุกต์ใช้มันก็ดิ้นได้ แต่ถ้าเอาแบบปลอดภัยเหมือนพวกวิศวกรไฟฟ้า เขามักใช้โหลดหรือกระแสในท่อเหล็กเป็นเกณท์
เช่น สาย 2.5 mm2 ทนได้ 18A เมื่อเดินในท่อ ถ้าทั้งท่อมี2เส้นความร้อนก็เกิดขึ้นไม่มากก็อาจใหมีกระแสไหลผ่านได้ถึง20A และการลักไก่มาใช้กับเบรกเกอร์ขนาด20Aก็ทำได้แต่ไม่ได้คำนึงถึงความปลอดภัย แต่ถ้าใช้ชั่วคราวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าเคลือนที่สายไฟก็เคลื่อนทีด้วยก็พอได้ การเดินสายไฟในท่อจะมีข้อจำกัดอีกเช่นเดินได้กี่เส้นใน1ท่อ อย่าให้เต็ม สมมติให้เต็มพื้นที่ได้50% เป็นต้น มันมีตารางอะไรอีกเยอะแยะ ถ้าเดินไฟฟ้าผ่านเตาอบขนมปัง อุณหภูมิห้องกลายเป็น60 องศาอย่างนี้ก็ควรใช้สายให้ใหญ่ขึ้น หรือเปลี่ยนไปใช้สายซิลิโคนอะไรทำนองนี้ครับ

- การเดินปลั๊กไฟหรือเต้ารับตามบ้านหรือโรงงาน ใช้สาย 2.5 sqmm +เบรกเกอร์ 16A (square millimeter หรือ สแควร์มิลลิเมตร เป็นพื้นที่หน้าตัดของสายไฟที่เขาใช้กัน) ถ้าห้องนี้ดันใช้ปลั๊กเยอะเช่นห้องนี้มีทั้งหม้อหุงข้าว เครื่องซักผ้า ตู้เย็น ไมโครเวฟ ทีวี และดันมีเครื่องเป่าผมด้วย ควรเดินสายแยกกันทั้งสาย ปลั๊ก และเบรกเกอร์ โดยจับกลุ่มกระแสเอา +เผื่อแล้วนะ อย่าเกิน 15 A ต่อ 1 วงจร
- เดินหลอดไฟ ใช้สาย 1.5 sqmm +เบรกเกอร์ 10A เดินหลายๆหลอดนะครับ ดูกระแสเอาอย่าให้เกิน 6 A หลอดไฟ 36 วัตต์ 1หลอด กินไฟ ราวๆ 50W หรือ 0.5A**** 6A ก็เดินได้ 10-12 หลอด ต่อวงจร แต่ถ้าติดแค๊ป ก็เดินได้ถึง 20 หลอดต่อ1วงจร กับสาย 1.5 sqmm ******* ที่กำหนดไว้ 6A นั้นเป็นแค่หลักการทนกระแสของสวิทช์ยี่ห้อที่ทนได้10A ปรกติสวิทช์ทั่วไปอาจทนได้ต่ำกว่านั้นเยอะ แต่ของยี่ห้อ pana สวิทช์ทนกระแสได้ 10A เข้าใจว่า ถ้าใช้ 6A เปิดปิดทุกวัน น่าจะเสียใน 1-3 ปี แต่ถ้าเอามาเปิดปิดไฟดวงเดียวน่าจะใช้ได้นานเป็น10-15 ปีขึ้นไป ผมประมาณๆเอานะครับ ถ้าเดินหลอดเดียวอาจใช้สายไฟขนาด1 sqmm ก็ได้ครับไม่ผิดวิธีการเดินสายไฟตามระเบียบปี2556
- แอร์ ควรใช้สายใหญ่หน่อย และเบรกเกอร์ ใช้ประมาณ 2-2.5 เท่าของกระแสที่แอร์ใช้ ถ้าลองดูจาก เว็บนี้บอกกระแสไฟที่คอมเพรสเซอร์ใช้ด้วย และยังบอกแค๊ปรันด้วยว่าใช้เท่าไหร่ สุดยอดเลยยกนิ้วให้ แต่ยังไม่รวมพัดลมด้านคอยล์ร้อนและคอยล์เย็น และอื่นๆ อย่างต่ำต้องมี 100-500 W (เพิ่มกระแส 1-3 A) ขึ้นกับขนาดแอร์
โมเดล=รุ่นคอม ;; บีทียู=ขนาดแอร์ ;; โวลต์ 220V-ph-50hz ;; cap run (ไมโครฟารัด)/โวลท์ ;; กระแส(ค่ามาก)

ที่ไฟบ้าน 220V 1เฟส สองสาย L+N 50hz
แอร์ 1 ตัน 12,000 บีทียู ใช้กระแส 7 แอมป์ ควรใช้สาย 2.5 sqmm +เบรกเกอร์ 16A
แอร์ 1 1/2 ตัน 18,000 บีทียุ ใช้กระแส 9 แอมป์ ควรใช้สาย 4 sqmm +เบรกเกอร์ 20 A
แอร์ 2 ตัน 24,000 บีทียู ใช้กระแส 12.0 แอมป์ ควรใช้สาย 4 sqmm +เบรกเกอร์ 20 A
แอร์ 3 ตัน 36,000 บีทียู ใช้กระแส 19.0 แอมป์ ควรใช้สาย 6 sqmm +เบรกเกอร์ 30 A
อันนี้รวม พัดลมแล้วประมาณๆ เอาน่ะ ซึ่งกระแส 1 – 2.5 A ให้ +เพิ่มจาก คอมเพรสเซอร์แอร์
แอร์จะใช้สายเล็กกว่านี้ก็ได้แต่เบรกเกอร์ต้องเล็กตามควรคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลักอย่าให้สายไฟร้อน แต่ตามบ้านปรกติไม่เปลี่ยนสายไฟบ่อย ควรมีขนาดใหญ่นิดนึงใช้กันนานๆ 20 ปี ขึ้นไป
- กราวด์ ถ้ามีก็ใช้สายขนาด 1ใน3 ถึง 1ใน2 ของสาย ไลน์ แต่รายละเอียดมีเยอะกว่านี้มาก
- เครื่องทำน้ำอุ่น ใช้สูตร P=VI เช่น เครื่องทำน้ำอุ่น 3000 วัตต์ กระแสที่ได้ประมาณ 15A ควรใช้สาย 4 sqmm เบรกเกอร์ 20 A ได้ครับ แล้วลากสายกราวด์มาด้วย 2.5 sqmm หรืออยากจะใช้สายเล็กลงเบอร์นึงก็ได้เพราะคงไม่ได้อาบกัน 24 ชั่วโมง แต่อย่าลืมลากกราวด์มาด้วยครับ
อุปกรณ์ตัดตอนไฟฟ้าอัตโนมัติ
อ่าครับเลยลืมไปเลยว่ายังไม่รู้จักอุปกรณ์ที่เรียกว่า เบรกเกอร์ หรือ อุปกรณ์ตัดตอนไฟฟ้าอัตโนมัติ จริงๆอุปกรณ์ตัดตอนที่มีกันเก่าแก่มากก็คือ ฟิวส์ครับแต่ต้องประกอบกับสะพานไฟ(wiki ไทย) แล้วจึงค่อยๆพัฒนาขึ้นเป็นเบรกเกอร์เนื่องจากความต้องการความสะดวกสบายของมนุษย์ในการที่ขี้เกียจเปลี่ยนฟิวส์ เรื่องประวัติผมไม่ค่อยชำนาญเท่าไหร่ และไม่ได้เรียนมาทางออกแบบอุปกรณ์พวกนี้ เอาเป็นว่า สรุปแบบตามประสบการณ์ผมละกัน
1 สะพานไฟ (คัทเอาท์ , cut-out) ใช้ตัดตอนไฟโดยคนสับขึ้นหรือลงก็ได้ และมีฟิวส์เป็นเส้นๆหรือแผ่นๆไขน็อตติดกับสะพานไฟจึงเป็นอุปกรณ์ตัดตอนไฟฟ้าอัตโนมัติ ชนิดหนึ่ง

เนื่องจากผู้เขียนไม่มีประสบการณ์การใช้สะพานไฟ หาอ่านเพิ่มเติมได้ใน
http://www.krucherdpua.com/wp-content/uploads/web/cycle/cutout.htm
http://www.rmutphysics.com/charud/scibook/electric3/pan8.htm
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=piwat&month=10-2007&date=05&group=3&gblog=4
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=kanichikoong&group=21&page=4
ภาพสะพานไฟ ชนิด low volt hrc fuse switch disconnector ซึ่งมีความเหนือกว่าสะพานไฟแบบ คัตเอ้าฟิวส์แผ่น เพราะใช้ฟิวส์กระเบื้องที่ทนแรงดันได้สูงกว่าทนกระแสลัดวงจรได้สูงลิ่วกว่าเบรกเกอร์ทั่วๆไปมากและไม่มีประกายไฟซึ่งป้องกันเรื่องไฟไหม้ดีกว่า แต่ราคาค่อนข้างสูง ภาพนำมาจากผู้ผลิต นำมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตการนำไปใช้ต่อควรจำกัด ผมไม่เคยใช้สะพานไฟ cut-out ขอข้ามไปเลยนะครับ แต่เคยใช้สะพานไฟอีกประเภทหนึ่งที่ดูดีหน่อยและเป็นแบบสามเฟสที่มีฟิวส์กระเบื้องตัวใหญ่ๆขาเป็นใบมีด เขาเรียกสะพานไฟชนิดนี้ว่า LV H.R.C. Fuse Switch Disconnector เป็นเมนไฟหลัก แล้วต่อวงจรออกมาเป็นลูกเซอร์กิตเบรกเกอร์เล็กๆ สะพานไฟชนิดนี้ผมเคยได้ใช้อยู่ที่บ้านเก่า หน้าตาคล้ายกับรูปข้างล่างแต่ไม่ใช่ยี่ห้อนี้นะครับ ข้างในจะมีฟิวส์ใบมีด3ตัวดังรูป
ตั้งแต่ใช้มาฟิวส์ไม่เคยขาดเลย เพราะมันสามารถรับกระแสลัดวงจรได้มากถึง 120 kA ผมใช้กับไฟสามเฟส 380V ในรูปเป็นฟิวส์ชนิด H.R.C คือพิวส์ที่เมื่อเกิดกระแสลัดวงจรจำนวนมากมากถึง 120,000 แอมป์ แล้วไม่เกิดประกายไฟ (ถ้าลูกเป็นเบรกเกอร์ธรรมดาทนได้ 5kA ถ้ามากกว่านั้นอาจะหลุดกระเด้งบึ้มระเบิดออกมาหรือไหม้) เพราะข้างในบรรจุวัสดุคล้ายเม็ดทรายเล็กๆอัดแน่นอยู่ข้างในเพื่อป้องกันการเกิดประกายไฟของลวดฟิวส์ ขณะหลอมละลาย ราคาลูกนึง2-3ร้อยบาท ในฟิวส์แต่ละชนิดและยี่ห้อต้องไปดูในดาต้าชีท จะสามารถบอกถึงคุณลักษณะ(หรือนิสัย)ของฟิวส์ เช่น ทนได้63A แต่ถ้ามีกระแสผ่านฟิวส์ถึง63A ต้องใช้เวลานานสมมติว่า 2 ชั่วโมงถึงขาด (ขาดแล้วต้องเปลี่ยนใหม่อย่างเดียว)
ภาพฟิวส์ใบมีด ชนิด hrc ทนกระแสลัดวงจรได้ถึง120kA โดยไม่มีประกายไฟหรือระเบิด ภาพนำมาจากเว็บมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต การนำไปใช้ควรจำกัด ข้อเสียสำคัญของสะพานไฟสามเฟสชนิดนี้คือเมื่อใช้ไปนานๆ เกิน 20 ปี ขาที่จับกับใบมีดของฟิวส์เกิดหลวมขึ้นและอาร์กเกิดความร้อนจนฟิวส์มันขาดต้องเปลี่ยนฟิวส์ แล้วเด๋วมันก็ขาดอีก ควรต้องเปลี่ยนสะพานไฟแต่ก็ไม่ได้เปลี่ยน เพราะสายไฟเส้นใหญ่ 25 sqmm ผนังไม้อัดด้วยค่อนข้างกรอบสมัยตอนที่ปลวกขึ้น ก็เลยจับเอาวงจรที่ไม่ได้ใช้เข้ากับโหลดที่ฟิวส์ขาด ส่วนอีก2ฟิวส์ ก็ใช้งานตามปรกติ สรุป 3เฟส ใช้แค่ 2เฟส เพราะไม่งั้นรื้อยาวมากครับ ทำใหม่อีกยาวหาอะไหล่ปัจจุบันก็คงไม่ค่อยมีแล้วด้วย พื้นที่ติดตั้งก็จำกัด (เท่าที่หาข้อมูลมาได้ข้อสรุปว่า ขาที่หลวมแล้วเกิดการอาร์กขึ้นได้นั้น มีสาเหตุเกิดจาก การสับสะพานไฟขณะที่มีโหลดอยู่ หมายถึงถ้าเปิดแอร์ ทีวี ตู้เย็นอยู่ แล้วเกิดสับสะพานไฟลงโดยที่ไม่ได้ปิด แอร์ ทีวี ตู้เย็น เมื่อสับสะพานไฟเข้าไปใหม่ ทำให้เกิดการอาร์ก ข้อมูลจาก >> ที่นี่ ในส่วนของ disconnecting switch ซึ่งมันก็เป็นอย่างที่ว่าส่วนหนึ่งอีกส่วนหนึ่งคิดว่าสะพานไฟยี่ห้อที่ใช้อยู่คงไม่ดีนัก
2 เบรกเกอร์ หรือ circuit breaker C.B. เบรกเกอร์ตามบ้านทั่วๆไปเป็นอุปกรณ์ตัดตอนไฟอัตโนมัติมีทั้งแบบป้องกันไฟช็อต-เกิน และป้องกันไฟดูด เป็นอุปกรณ์ที่มีระบบการตัดไฟทั้งชนิด maniature หรือไฟฟ้าแม่เหล็ก และมีชนิดผสมคือ thermal-magnetic หรือตรวจจับการตัดด้วยความร้อน ชนิดแม่เหล็กธรรมดาที่สร้างขึ้นโดยภายในมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เหมือนแม่เหล็กดูดไปเตะแง่งอันหนึ่งเพื่อดีดหน้าสัมผัสหรือคอนแท็คออก เนื่องจากไฟเกินตามพิกัดที่กำหนด ซึ่งพฤติกรรมการเตะออกตามจังหวะพิกัดไฟฟ้าที่เกินนั้น เบรกเกอร์ สมมติว่า 30A ยี่ห้อเดียวกัน แต่มีหลายแบบและหลายราคามากมาย ซึ่งถ้าเกิดไฟช็อตเหมือนๆกัน ส่วนใหญ่ เบรกเกอร์ขนาด 30A ตัวใหญ่ๆและแพงกว่าจะตัดทีหลัง ทำไมเป็นอย่างนั้น เมื่อพิกัดโหลดกระแสตัดก็เท่ากัน มันมีคำว่าการทนกระแสขณะลัดวงจร เบรกเกอร์เล็กๆ ราคาถูกที่สุดบนตู้เมนไฟในบ้าน จะทนกระแสขณะลัดวงจรได้ประมาณ 6 kA หรือ 6,000 A ในขณะที่เบรกเกอร์ตัวที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเช่นตัวที่อยู่บนสุดและมีขนาดใหญ่ หรือ ซ้ายสุดและมีขนาดใหญ่ จะทนกระแสลัดวงจรได้มากขึ้น เช่น 10 kA หรือ 10,000A
หาอ่านเพิ่มเติมได้ใน พื้นฐานไฟฟ้าในบ้าน ตอนที่2 -1 ค้นหาว่าเลือกซื้อเลือกใช้เบรกเกอร์ แบบไหนดี? ถูกหรือแพง? ต้องเลือกที่การทนกระแสลัดวงจรหรือ? ลองคำนวนดูเล่นๆ?

- ก้านสับเบรกเกอร์เตะคอนแทก มีทั้งทำหน้าที่เปิดปิดหรือสับไฟฟ้าด้วยมือมนุษย์ และเมื่อเบรกเกอร์ทริ๊ป(กระแสเกินจะตัด) ก้านสับเบรกเกอร์จะมีกลไกภายในเมื่อทริ๊ปก้านจะเกิดภาวะอยู่กึ่งกลางระหว่างเปิดหรือปิด เมื่อแก้ไขอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำให้เกิดกระแสไฟเกินแล้วให้ลองสับก้านขึ้น(ให้ทำงาน-ออน on)จะพบว่ามันฟรีหรือไม่ทำงาน ให้สับเบรกเกอร์ลง(off)หนึ่งครั้งแล้วสับขึ้นหรือเปิดอีกที่ก็จะรีเซททริ๊ปหรือใช้งานได้ตามปรกติ Actuator lever – used to manually trip and reset the circuit breaker. Also indicates the status of the circuit breaker (On or Off/tripped). Most breakers are designed so they can still trip even if the lever is held or locked in the “on” position. This is sometimes referred to as “free trip” or “positive trip” operation.
- กลไกเตะคอนแทก Actuator mechanism – forces the contacts together or apart.
- หน้าคอนแทก Contacts หรือหน้าสวิทช์ คือจุดแตะที่ทำให้ไฟฟ้าผ่าน หรือจุดจากที่ทำให้ไฟฟ้าขาดออกจากกัน
- เทอมินอล Terminals หรือจุดขันน็อตเชื่อมกัยสายไฟ
- Bimetallic strip – separates contacts in response to smaller, longer-term overcurrents
- น็อตปรับตั้งกระแสทริ๊ปจากโรงงาน Calibration screw – allows the manufacturer to precisely adjust the trip current of the device after assembly.
- โซลินอยด์ หรือขดแม่เหล็ก ทำหน้าที่ทำให้หน้าคอนแทกจากถ้าเกิดมีการใช้กระแสไฟฟ้าที่มากเกิน Solenoid – separates contacts rapidly in response to high overcurrents
- Arc divider/extinguisher
การทริ๊ป เช่นลูกเบรกเกอร์ square D ที่ใช้ตามบ้าน เวลาทริ๊ปจะมีลัษณะดังรูป

พอดีมีช่างไฟคนหนึ่งทำให้ผมดู ให้ทดสอบกลไกการทริ๊ปของลูกเบรกเกอร์สแควร์ดี ด้วยการเอาลูกเบรกเกอร์ตบด้านแผ่นลงกับพื้นค่อยๆเพิ่มความแรงอย่าตบจนมันพังนะ ด้วยความแรงขนาดหนึ่งทำให้กลไกภายในแง่งเตะกระตุกและเกิดภาวะเหมือนดังรูปบน
เบรกเกอร์บางยี่ห้อมีปุ่มเทสทริ๊ปมาให้ด้วย เมื่อกดปุ๊บก็จะอยู่ในสภาวะเหมือนข้างบน
เบรกเกอร์ในท้องตลาดมีมากมายหลายชนิดและหลายแบบ หาอ่านได้ที่ http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=piwat&month=10-2007&date=05&group=3&gblog=4
ส่วนเบรกเกอร์ที่ใช้ตามบ้านคล้าย สแควดีด้านบนแล้ว เบรกเกอร์แอร์สมัยนี้มักใช้เบรกเกอร์ยี่ห้อพานาโซนิคดังรูป ซึ่งถูกมาก แต่ทนกระแสลัดวงจรได้ต่ำมากเพียง 1.5 kA เพียงพอสำหรับป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้า นิยมเอาไปตัดต่อปั๊มน้ำ หรือแอร์ อย่างง่ายๆ ราคาไม่เกินร้อยหรือร้อยบาทต้นๆ

ส่วนเบรกเกอร์ยี่ห้อ panasonic แต่เติมเป็นยี่ห้อ national ก็แค่เปลี่ยนชื่อใหม่ ยังมีเป็นแบบเบรกเกอร์กันดูดที่เอาไว้ใช้กับพวกเครื่องทำน้ำอุ่น


เท่าที่ดูๆในท้องตลาดมีขายรุ่น 30mA มาแทนที่ 15mA(15 มิลลิแอมป์) ราคาราวๆ 400บาท ซึ่งเพียงพอต่อการใช้งานครับ มีปุ่มเทสทริ๊ปมาให้ด้วยครับ

ถ้าใช้แบบกันดูดแบบใช้กับเครื่องจักรเช่นมอเตอร์ หรือเครี่องทำน้ำอุ่นได้ของญี่ปุ่นแท้ ยี่ห้อpanasonic ต่างกันที่มันทนกระสลัดวงจรได้ถึง 5kA

การต่อเบรกเกอร์กันดูดให้ต่อสองเส้น คือ L กับ N ให้ตรงขั้ว ข้างในมีอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์สำหรับตรวจสอบว่ามีการลงกราด์หรือไม่โดยตรวจสอบกระแสเข้าจากไลน์ต้องเท่ากับกระแสออกจากนิวทรอลเสมอหายไปก็ไม่เกิน 30mA ถ้าเกินวงจรอีเล็กทรอนิกส์จะทำงานทันทีและจะทริ๊ปทางกลไกคล้ายๆกัน ไม่ควรเอาไปใช้กับพวกเครื่องเชื่อมเพราะจะทำให้อีเล็กทรอนิกส์ข้างในมันเสียครับ
จบแล้วครับ ใช้เวลาเขียน 2 ปี นิดๆ
บทความต่อเนื่องตอนต่อไปครับ
Follow pui108108's board เบรกเกอร์ ตู้เมน กราวด์ Breaker MainCase earthing ground on Pinterest.
342,172 total views, 6 views today
ชาวบ้าน รากหญ็า ส่วนใหญ๋ยัง ใช้ สะพานไฟอยู่เลย
ให้ความรู้ ดีครับ
รับติดตั้งระบบไฟฟ้า รับเหมาเดินระบบสายไฟบ้าน อาคาร โรงงาน ทุกชนิด ย้ายปลั๊กไฟ เพิ่มปลั๊กไฟ เพิ่มหลอดไฟ ติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า ซ่อมหรือแก้ไขเพิ่มดวงไฟหรือปลั๊กไฟ ราคาย่อมเยาว์ ฝีมือดี
สนใจติดต่อได้ที่ 053-271338, 093-1812873
ID LINE : hcmcom
http://www.buddykeywatch.com