….กำลังเขียนอยู่ครับ………รอหน่อยนะ..
L หรือ ไลน์หรือสายไลน์ เมื่อวัดไฟเทียบกับ นิวทรอล ได้ 220V เอาไขควงวัดไฟวัดมีไฟ
N หรือ นิวทรอล หรือสายนิวทรอล เขาบอกว่าสายนี้ไม่มีไฟ ส่่วนใหญ่ไฟไม่ดูด เอาไขควงวัดไฟวัดไม่มีไฟแสดง
G หรือ กราวด์หรือ สายกราวด์ เขาบอกว่าสายนี้ไม่มีไฟ ไฟไม่ดูด เอาไขควงวัดไฟวัดไม่มีไฟแสดง และแต่ละบ้านต้องทำแท่งกราวด์ต่อลงดินเอาเอง
Earth แปลว่า ลงดิน ในความหมายของไฟฟ้าที่ใช้กันตามบ้าน มันต่างกับG (Ground)กราวด์หรือไม่อย่างไร
N กับ G ต่างกันอย่างไร? เอาG มาแทน N ได้ไหม?(เช่นต่อพัดลมไฟเข้าสองเส้นเป็น ไลน์ ขากลับเป็น กราวด์ พัดลมจะทำงานหรือไม่ซึ่งคำถามที่ต้องทดลอง?)
คำถามข้อที่ 1 นิวทรอล (neutral แปลว่าเป็นกลาง) ผมเคยงงกับสายนิวทรอนมานาน ว่าการไฟฟ้าไม่ได้ส่งนิวทรอนมาตามสาย ถ้าสังเกตไฟแรงสูงก่อนผ่านหม้อแปลงไฟ(จาก 24,000V เป็น 380V )มันมีแค่ 3 สายเอง พอผ่านหม้อแปลงปุ๊บมันมีนิวทรอนขึ้นมาทันที ผมก็นึกว่านิวทรอลมาจากหม้อแปลง เวลาเรียกบริษัทเขามาเดินไฟโรงงานเขามักจะบอกว่าการไฟฟ้ามักชอบให้ต่อกราวด์(ที่เราทำเอง)กับนิวทรอลจั๊มกันเสมอในตู้โหลด คำถามคือ ต่อกันทำไม? ถ้าอย่างนั้น N กับ G ก็เป็นเส้นเดียวกันแล้วทำไมต้องแยกกันเป็นสองเส้นล่ะ? แล้วทำไมต้องให้แต่ละบ้านทำแท่งกราวด์ฝังลงดิน ?
คำถามข้อที่ 2-แบบที่1 ผมขอโยงไปคำถามที่ผมคาใจมานานและน่าจะเกี่ยวข้องกัน และอยากรู้ว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น คือ ฮีตเตอร์แบบสามเฟส ที่ใช้นิวทรอลรวม ขนาดสายไฟL1 L2 L3 แต่ละเส้นลากไปฮีตเตอร์ …ดันไป..เท่ากับขนาดสายไฟเส้นขากลับ คือ N และมี1เส้นเท่านั้น ทำไมครับ?
คำถามนี้มันดูอาจจะดูงงๆ ขอเท้าความนิดนึง ฮีตเตอร์แบบสามเฟสแบบนิวทรอลรวม ที่มีใช้กับเครื่องฉีดพลาสติก ส่วนใหญ่ ฮีตเตอร์ที่ใช้จะเป็นแบบ 220V 6 ตัว ในกระบอกฉีดหรือกระบอกสกรู สมมติประมาณว่าตัวละ 1500 W ไม่รวมหัวฉีด และสมมติว่า 6 ตัวนี้แบ่งออกเป็น 3 โซน แต่ละโซนใช้ฮีตเตอร์ 2ตัว ดังรูป
แต่ละโซนลากสายไฟไป L1 ใช้สาย 2.5 sqmm ขากลับเป็นสายไฟขนาด 2.5 sqmm เช่นกัน แต่มองในแง่กระแสโหลด L1 ,L2 ,L3 กระแสแต่ละเส้นที่เกิดขึ้นบนสายไฟประมาณ 15 A คำนวนได้จากสูตร P=VI ปัญหาคือ ขากลับ เป็น นิวทรอลรวม และใช้สายไฟขนาดเพียง 2.5 sqmm ซึ่งตามจริง ควรใช้สายไฟ อย่างน้อย 8 sqmm จึงจะรับกระแสได้= 15+15+15 =45 A แต่พอไปสำรวจดูหน้างาน เขาก็ใช้ขนาด 2.5 sqmm รวมมานมนานแล้ว ไม่มีปัญหาไหม้เลย
คำถามข้อที่ 2-แบบที่2 หรือเอาง่ายๆคำถามเดียวกันที่เกียวกับบ้านก็ได้เด๋วจะหาว่าออกนอกหัวข้อไปไกล หน้าบ้านใครที่ขอเป็นมิเตอร์ สามเฟส สายไฟที่ลากยาวจากหม้อแปลงไฟ3เฟสมาที่หน้าบ้าน ก่อนที่การไฟฟ้าจะจั๊มสายไฟเข้ามิเตอร์ จะสังเกตว่ามีสายไฟ 4เส้นที่ลากผ่านทุกบ้าน และมีขนาดเกือบๆเท่ากัน แต่ถ้าสังเกตดีๆจะพบว่ามีเส้นนึงเป็นนิวทรอล ซึ่งสายไฟนิวทรอลNจะมีขนาดเล็กกว่าสายที่เหลือ( L1, L2, L3)
ถามว่า สายไฟหน้าบ้านก่อนเข้ามิเตอร์สามเฟสทำไมขนาดสายไฟนิวทรอลมีขนาดเล็กกว่าหรือเท่าๆกับสายไลน์ ? ในเมื่อสายแต่ละเส้นของ L123 สามารถทนโหลดกระแสตามมาตรฐานได้เท่ากันค่าหนึ่ง แต่สายนิวทรอลในมิเตอร์สามเฟสสามารถทนรับกระแสได้เท่ากับสายโหลด L เพียงหนึ่งเส้นหรือบางทีเส้นก็เล็กกว่าสายไลน์ด้วยซ้ำไป ทำไมการไฟฟ้าติดมิเตอร์สามเฟสแล้วให้สายไฟN มาเล็กเท่าๆกับหรือเล็กกว่า สายไลน์ L123 ?? น่าจะให้ใหญ่เป็น สามเท่าของL เส้นเดียวไม่ใช่หรือ (ถ้าบ้านใครขอเป็นเฟสเดียวก็ลองสังเกตสายไฟที่ลากผ่านทุกบ้านจะมีเส้นนิวทรอลที่เล็กกว่าชาวบ้าน แต่เมื่อจะจั๊มสายไฟNกับให้สายไฟใหญ่เท่าๆกับไลน์ที่มิเตอร์เฟสเดียว)
เรามาลองค้นคว้าดูก่อนว่า พบว่า หม้อแปลงการไฟฟ้าหน้าหมู่บ้าน หรือหน้าปากซอยจะแปลงไฟจาก 12,000-24,000 โวลท์ เป็น 380V สามเฟส3เส้น และมีนิวทรอลอีก1เส้น ซึ่งถ้าขอหม้อมิเตอร์วัดค่าไฟ1เฟส จะได้สายLหนึ่งสาย Nหนื่งสาย ความต่างศักย์ระหว่างสองสายเท่ากับ 220V
ระบบสายส่งไฟฟ้าในประเทศไทย เป็นภาพแบบการ์ตูนแสดงให้เห็นระบบสายไฟ เสาไฟฟ้าแรงสูง จริงๆมันวิ่งมาด้วยสายไฟสามชุด ผ่านหน้าบ้านทุกคนด้วยสายไฟ4เส้น แต่จะจั๊มเข้าบ้านเราเพียงสองเส้นคือ L และ N (ไลน์และนิวทรอล)ถ้าขอมิเตอร์ค่าไฟเฟสเดียว แต่ถ้าขอมิเตอร์ค่าไฟสามเฟสจะจั๊มเข้าบ้าน4เส้น คือ L123 และN เป็นต้น ภาพ CC by pui108diy ก๊อปเอาไปใช้ได้เลยครับwiki <ที่นี่
หม้อแปลงการไฟฟ้า transformer_12-24kvto380v พบว่ามีสายนิวทรอลออกจากหม้อแปลง พบว่ามีสายไฟที่ออกจากหม้อแปลงทั้งหมด4เส้น โดยที่3เส้นต้องเป็นไลน์ที่ความต่างศักย์ระหว่างคู่เป็น380V อีกเส้นน่าจะต้องเป็นนิวทรอลแน่นอน (และต้องไม่จะใช่กราวด์ด้วย) ภาพ CC by pui108diy
หม้อแปลงไฟฟ้า จึงสร้างสภาวะNeutral หรือเป็นกลาง ระหว่างสายไฟที่มีไฟสามสายกับจุดๆหนึ่งที่เรียกว่าเป็นกลางทางไฟฟ้าระหว่างสายไฟเส้นอื่น จึงไม่ได้หมายถึง สายNของหม้อแปลง380Vของการไฟฟ้าจะเป็นเส้นที่ไม่มีไฟ เพราะมันเป็นกลางระหว่างสายไฟสามเฟส3เส้นซึ่งต้องต่อเข้าที่จุดดังกล่าวพร้อมกันขาดเส้นใดเส้นหนึ่งไม่ได้ และทำหน้าที่รองรับไฟขากลับจากทั้งสามเส้นพร้อมๆกัน ซึ่งการแปลงไฟดังกล่าว คล้ายกับการต่อสายไฟมอเตอร์แบบstar
หม้อแปลงพวกนี้เรียกหม้อแปลง delta -wye transformer , ซึ่งส่วนขดไพมารี่เป็นแบบเดลต้าคือด้าน12-24kvจะเข้าสายเพียงสามสาย ,ส่วนขดเซคคันดารี่หรือด้านขาออกเป็นแบบ4สายต่อคล้ายตัวYซึ่งตรงกลางของYจะมีจุดเชื่อมออกเป็น N และส่วนใหญ่จะต้องต่อกราวด์หรือสายดินลงพื้นเอาไว้ด้วยหรือเปล่า?เพื่ออะไร? เท่าที่ทราบเมื่อการไฟฟ้าให้ต่อนิวทรอลกับกราวด์ของเราที่ทำเองมีค่าความต้านทานของกราวด์เท่าไหร่ก็ได้มีคุณภาพหรือไม่ก็ได้ แสดงว่าหม้อแปลงการไฟฟ้าส่วนใหญ่ต่อแบบ
Types of Neutral Earthing in Power Distribution
http://www.mirusinternational.com/faq.php
http://static.schneider-electric.us/assets/consultingengineer/appguidedocs/section6_0307.pdf
https://en.wikipedia.org/wiki/Ground_and_neutral
รูปประกอบขดลวดในหม้อแปลง แบบมีนิวทรอล
21,825 total views, 2 views today