พื้นฐานไฟฟ้าในบ้าน ตอนที่2b -1 ค้นหาว่าเลือกซื้อเลือกใช้เบรกเกอร์ แบบไหนดี? ถูกหรือแพง? ต้องเลือกที่การทนกระแสลัดวงจรหรือ? ลองคำนวนดูเล่นๆ? เบรกเกอร์ระเบิด นิสัยการทริ๊ป

      ในบทนี้เป็นเนื้อหา -1 เกี่ยวกับ การเลือกเบรกเกอร์ จากขนาดที่ทนกระแสที่เกิดจากการลัดวงจรได้  ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ค่อนข้างเจาะลึกเชิงค้นหาแต่ไม่มาก ซึ่งไม่เหมาะกับผู้ที่ไม่รู้จักคำว่าโวลท์ กระแส หรือความต้านทานเลยนะครับ เพราะช่วงหลังๆจะมีการลองคำนวนเกี่ยวกับกระแสลัดวงจรด้วย มีวีดีโอแสดงการระเบิดของเบรกเกอร์ และในตอนท้ายยังมีการดูนิสัยของเบรกเกอร์ว่ามีนิสัยการเด้งเมื่อไฟช็อตอย่างไรใช้เวลาเท่าไหร่ ซึ่ทั้งหมดก็ยังเกี่ยวข้องกับผู้ใช้เบรกเกอร์ตามบ้านอยู่ดีครับ  แต่จะยากสักนิด

 

แต่ใครที่อยากรู้ลึกๆก็ต้องไปเรียนวิศวะด้านไฟฟ้ากำลังนะครับ แล้วมาสอนผมด้วย เพราะไปเปิดดูสูตรต่างๆเกี่ยวกับไฟฟ้ากำลัง ที่เกี่ยวกับการเลือกและคำนวนเบรกเกอร์จากกระแสลัดวงจร มีสูตรและสมการอื้อเลยครับ ซึ่งเราๆท่านๆที่อยู่ตามบ้านคงไม่มีปัญญาจะเรียน แต่มันดันมาเกี่ยวข้องกับเราตอนเราไปเลือกซื้อเบรกเกอร์ มีแบบราคาถูกกับแพง ขนาดตัวเบรกเกอร์ก็เท่าๆกัน เราก็อยากจะเลือกถูกๆเอาไว้ดีกว่าแพงๆ ผมก็เป็นคนนึงแหละครับที่เลือกถูกๆเอาไว้ก่อนเอาไปใช้ในบ้านเรา แต่เราไม่เคยสงสัยหรือครับว่าทำไมขนาดหน้าตาก็พอๆกัน กระแสการตัดวงจรก็เท่ากัน 16A เหมือนกัน แต่แพงกว่าจากลูกละ 150-180บาท เป็นลูกละ 300-350 บาท ทำไมครับ? ถ้าไปถามเขา เขาคือคนขาย คนขายก็บอกเราว่า มันใช้ดีกว่า ทนกว่า อะไรทำนองนี้    แต่ถ้าเรามีโอกาสไปเลือกสินค้ามือสองล่ะซึ่งมีเยอะแยะมากมายแล้วเราจะเลือกกันเป็นหรือครับ เอามาใช้กันได้อย่างเหมาะสมหรือเปล่าครับ  แต่ผมก็ขอออกตัวก่อนว่าผมไม่ได้เรียนไฟฟ้ามา แต่ความสงสัยก็ทำให้เกิดการค้นคว้า และลองดูตามสมมติฐานว่าเป็นอย่างนั้นจริงหรือไม่  ใครที่ไม่ต้องการรู้หรือรู้แล้วก็ข้ามไปเลยครับ

ในเบรกเกอร์ตามบ้านที่เป็นลูกวงจร(ลูกเซอกิตเบรกเกอร์)ต่างๆ หรือแม้กระทั่งเบรกเกอร์เมน มักมีคำว่า  เบรกเกอร์นั้น ทนกระแสลัดวงจรได้เท่าไหร่ (IC หรือ Interrupting Capacity) หรือพิกัดการทนกระแสลัดวงจรสูงสุดโดยปลอดภัยของเบรคเกอร์นั้นๆ   ซึ่งถ้ามีการช็อตเกินพิกัดทนกระแสลัดวงจร มันก็จะไหม้เสียหาย หรือระเบิดออกมาได้ในบางกรณี

เรามาหาคำตอบกันว่าเราควรเลือกแบบไหนอย่างไรดี สมมติว่าเป็น เบรกเกอร์ของ Schineder ยี่ห้อเดิมคือ Square D ซึ่ง ก็มีหลายขนาดและราคา เรามาเริ่มจากการเปิดแค๊ตตาล็อกก่อน ว่ามันมีสเป็กและราคาตั้ง(คือราคาที่เขายังไม่ได้ลดให้กับคนซื้อ)อะไรบ้าง   (ถ้าเข้าใจแล้วเราจะเลือกยี่ห้อไหนก็ได้ตามสะดวก)

ลองเสิชคำว่า SQUARE D Schneider Price List 2011  จะมีเว็บลิ้งค์มากมาย มีที่นึงให้ดาวโหลดเป็นpdf คือที่นี่   สมมติว่าผมประกอบเสร็จแล้วหน้าตาเป็นอย่างนี้

หน้าตาตู้และลูกเซอกิตเบรกเกอร์ยี่ห้อ square D ภาพที่มา teakdoor.com/construction-in-thailand/74882-electricity.html ภาพนี้ถูกนำมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตการนำไปใช้ต่อควรจำกัด

ภาพข้างบนนี้ได้จากเว็บ http://teakdoor.com/construction-in-thailand/74882-electricity.html ฝรั่งเขาคุยกันเรื่องคุณภาพชีวิตต่างๆจากการมาอยู่กรุงเทพกับภูเก็ต ส่งลิงค์คืนเขาไปแล้วนะครับ   ในรูปจะเห็นว่าซ้ายมือเป็นเบรกเกอร์เมน 1 เฟสซึ่งเป็นตัวใหญ่สุด จะมีอันที่สี่ หน้าตาแปลกกว่าเพื่อน คือหน้าตาของ square D รุ่นที่เขาขายๆกันอยู่ปัจจุบัน  ที่เหลือเป็นรุ่นเก่าๆ

 

main_breaker2pole_IC_and_price_Dsq_homeuse
ภาพถูกตัดมาจากแคตาล็อก squareD 2011 เขียน แสดง และชี้ ให้เห็นด้วยตัวอักษรและสัญลักษณ์สีม่วงด้วยลายมือเขียนโดยไม่ได้รับอนุญาตการนำไปใช้ต่อควรจำกัด ในภาพนี้ บ่งบอกว่า ตู้เบรกเกอร์1เฟส 2สาย 240โวลท์ สามารถทนกระแสลัดวงจรได้10KA และเมนเบรกเกอร์ย่อยก็เช่นกัน

ภาพข้างบนจะเป็นตู้โหลดแบบ 1เฟส ซึ่งมีช่องให้เลือกใช้ตามมากจำนวนตามอุปกรณ์ในบ้าน แต่ถ้าอุปกรณ์ในบ้านโดยรวมมีมากกว่า 18 ช่องและใช้พร้อมๆกัน ผมว่าต้องขอมิเตอร์การไฟฟ้าแบบสามเฟสแล้วล่ะ แล้วจะมีช่องจ่ายไฟได้มากกว่านี้ แต่ถ้าในบ้านแบ่งเป็นหลายๆชั้นๆเช่น4 ชั้น  และก็ไม่ได้ใช้งานกระแสเกินมิเตอร์ของการไฟฟ้า เช่นเราขอมิเตอร์ แบบ 30(100) A 1เฟส  เราอาจเลือกใช้ตู้โหลด 1 เฟสแยกเป็นชั้นๆ ไปก็ได้ ชั้นละ1ตู้  เราก็เลือกเมนเบรกเกอร์ 1เฟส 2ขั้ว คือL กับ N ต่อสายจากการไฟฟ้าสำหรับตู้เมนหลัก ไว้ชั้นล่างหรือชั้นสองก็ได้ สมมติว่า 63A  เขาบอกว่ามี พิกัดทนกระแสลัดวงจร IC = 10 kA  มีให้เลือกอย่างเดียว ส่วนชั้นอื่นๆเราก็เลือกกันตามความเหมาะสม ตั้งแต่ 50A ลงไป อย่างนี้ก็ทำได้ครับ ถ้ามีการเลือกใส่ขนาดสายไฟให้ถูกต้องด้วยนะครับ

 

child_breaker_IC_and_price_Dsq_homeuse
ในภาพนี้ บ่งบอกว่า ขนาดลูกเบรกเกอร์ที่มีขาย ซึ่งก็มีให้เลือก2ราคาคือสามารถทนกระแสลัดวงจรได้ 6KAเป็นแบบถูก และ10KAซึ่งมีราคาสูงกว่า เราจะเลือกซื้ออย่างไร? ภาพถูกตัดมาจากแคตาล็อก squareD 2011 เขียน แสดง และชี้ ให้เห็นด้วยตัวอักษรและสัญลักษณ์สีม่วงด้วยลายมือเขียนโดยไม่ได้รับอนุญาตการนำไปใช้ต่อควรจำกัด

ภาพข้างบนเป็นลูกเซอร์กิตเบรกเกอร์ แบบ1เฟส(1ph) จะเห็นได้ว่า มีให้เลือกขนาด พิกัดการทนกระแส 6 kA กับ 10 kA ตรงนี้มาถึงทางแยกแล้วครับว่าจะเลือกแบบใด ถ้าเลือกแบบง่ายๆถ้ามีหลายๆชั้นแล้วแต่ลูกเป็นเมนแต่ละชั้นในตู้เมนหลักสมมติตู้เมนหลักอยู่ชั้น1  ที่ตู้เมนใหญ่ผมแนะนำให้เลือกลูกเซอร์กิตเป็นเบรกเกอร์ 1เฟสขนาด 10 kA เป็นไฟท์บังคับ เพราะเวลาเราลากสายไปชั้นสามชั้นสี่ เราก็ต้องไปติดเบรกเกอร์เมนชนิด 2ขั้ว ขนาด 16-50A แต่การทนกระแสลัดวงจรก็เป็นไฟท์บังคับคือไม่มีให้เลือกซื้อ ต้องใช้ 10 kA อย่างเดียว ไม่งั้นอาจเกิดปัญหาว่าเวลาทริ๊ปหรือตัดวงจร มันจะไปตัดที่เบรกเกอร์เมนที่ตู้ใหญ่ที่ลากไปชั้นอื่นๆ ส่วนตู้เมนที่ชั้นนั้นเบรกเกอร์เมนกับไม่ตัด ทำให้ต้องวิ่งลงมาข้างล่างเพื่อไปรีเซทการทริ๊ป   แต่ถ้าเรามีตู้เมนอยู่อันเดียวแล้วเราก็มีบ้านแค่สองชั้น ลูกย่อยใช้แค่ 6kA ก็พอครับ แต่ถ้าเราจะเลือกแบบ 10kA แล้วจะมีผลดีผลเสียอย่างไร

 

สมมติการลัดวงจรที่เกิดกระแสอย่างรุนแรง

ผมจะลองคิดดูเล่นๆนะครับ จากนั้นใครจะเลือกอย่างไหนก็แล้วแต่เหตุและผลนะครับ สมมติว่าการลัดวงจร เป็น ชนิดไลน์ลงกราวด์ หรือL ช็อตหรือสัมผัสกับโครงโลหะติดกราวด์ หรือ L ช็อตกับ N  เช่นเราไปต่อวงจรอะไรผิด หรือมีการผิดพลาดทำให้มีการลัดวงจรระหว่างสายไฟLกับN หรือ L กับ G ในกรณีสายไฟเก่าหรือเกิดอุบัติเหตุ  ซึ่งเป็นการลัดวงจรที่รุนแรงที่สุด การคำนวนการลัดวงจรจริงๆมีสูตรเยอะแยะมากมายและก็ยากด้วย เราจะเลือกเบรกเกอร์แบบไหนดีมันทำให้เห็นภาพยากมาก เลยจำเป็นต้องคำนวนดูให้รู้และพอเข้าใจเรื่องการลัดวงจรในแง่พิกัดการทนกระแสลัดวงจร

วิธีการคำนวนกระแสลัดวงจรแบบแค่เอาให้เห็นภาพว่ามันเกิดกระแสกระชากเท่าไหร่ ถ้าเรามาลองคิดแบบง่ายๆคือลัดวงจรสายไฟอย่างเดียว เท่าที่ผมมีประสบการณ์มาเคยใช้สายไฟเส้นเล็กๆกับไฟที่มีกระแสมากๆมันจะเกิดความร้อนขึ้นในสายไฟอย่างมากมายในกรณีนี้คือผมลองใช้สายไฟซิลิโคนขนาด 10 sqmm กับกระแสที่ผ่านตัวมันมากถึง 60 A แต่ขนาดไฟประมาณ 5โวลท์ ใช้กับเครื่องให้ความร้อนในการตัดพลาสติก สายไฟยาวประมาณ 2.5เมตร ไปกลับ อุณหภูมิค่อนข้างร้อนประมาณ 50 องศาขึ้นไป  แสดงว่ามีความร้อนเกิดขึ้นจากความต้านทานไฟฟ้าในสายไฟปรกติธรรมดาๆนี่แหละ ฉะนั้นเราก็ลองคำนวนกระแสลัดวงจรอย่างง่ายๆจากความต้านทาน เฉพาะสายไฟดังที่กล่าวมาแล้ว

คือถ้าเรารู้สูตร V=IR

V_I_R_formula
รูปนี้ถูกนำมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตไม่ควรนำไปใช้ต่อ

และรู้สูตรความต้านทานของสายไฟ คือ R  , ความยาวสายไฟL   ,พื้นทีหน้าตัดของสายไฟA ,และคุณสมบัติความต้านทานไฟฟ้าของวัสดุρ  (อ่านว่า โรว์ rho) ของ

ρ ทองแดง=1.724×10-8  โอห์ม-เมตร ที่ 20 องศาC

ภาพจาก http://hyperphysics.phy-astr.gsu.edu/hbase/electric/resis.html ภาพถูกนำมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต การใช้ต่อควรอยู่ในจำกัด

ซึ่งทองแดงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ค่าความต้านทานก็เพิ่มขึ้นด้วยแต่เราไม่ต้องนำมาคิด

ก่อนอื่นเราต้องลองสมมติสภาวะแวดล้อมดูก่อน

กรณีที่ 1  ช็อตห่างจากตู้ 5 เมตร เราสนใจเบรกเกอร์ ขนาด 16 A ที่ใชักับปลั๊กไฟซะส่วนใหญ่ สายไฟที่เราใช้ๆกันเดินสายไฟ มีขนาด 2.5 sqmm  สมมติต่อไปอีกว่าเราเดินสายไฟ มาช็อตกันที่จุดเกิดเหตุรวมสายไฟไปกลับจากตู้เมนยาวรวมกันประมาณ 10 เมตร จะมีกระแสลัดวงจรเท่าไหร่ถ้าเกิดกับสายไฟลงกราวด์หรือช็อตกับนิวตรอน ลองคำนวนกระแสลัดวงจร

R=ρL/A  = 1.724 x 10-8 * 10 /2.5 x 10-6  =0.06896 ohm

I =V/R   = 220/0.06896   =3,190 A    =กระแสลัดวงจรโดยประมาณ

จากการคำนวนเล่นๆแสดงว่าสายไฟยาวยิ่งยาวก็มีผลกับกระแสทำให้กระแสลัดวงจรมีค่าน้อยลง แต่ถ้าใช้สายไฟใหญ่ซึ่งทนกระสไฟใช้งานได้เยอะ เช่นมาใช้สายไฟขนาด6 sqmm กับเบรกเกอร์ 16A 6kA เวลาช็อตด้วยวิธีเดียวกันนี้กระแสจะมากขึ้นประมาณ2.4 เท่า อาจจะทำให้เบรกเกอร์พังและไหม้ได้ครับ แสดงว่าถ้าใช้สายไฟใหญ่หน่อย เช่นสาย 6 sqmm กับเบรกกเกอร์ 32A ควรใช้ขนาดพิกัดการลัดวงจร 10 kA ก็ดูน่าจะปลอดภัยกว่า เอาละครับตัดสินใจกันเองนะครับ

กรณีที่ 2  ช็อตในตู้เมนห่างจากเบรกเกอร์20เซนติเมตร  เราสนใจเบรกเกอร์ ขนาด 16 A ที่ใชักับปลั๊กไฟซะส่วนใหญ่ สายไฟที่เราใช้ๆกันเดินสายไฟ มีขนาด 2.5 sqmm  สมมติต่อไปอีกว่าเราเดินสายไฟ มาช็อตกันที่จุดเกิดเหตุรวมความยาวสายไฟไปกลับยาวประมาณ 0.4 เมตร คือช็อตกันในตู้เมนนี่แหล่ะ จะมีกระแสลัดวงจรเท่าไหร่ถ้าเกิดกับสายไฟลงกราวด์หรือช็อตกับนิวตรอน ลองคำนวนกระแสลัดวงจร

R=ρL/A  = 1.724 x 10-8 * 0.4 /2.5 x 10-6  =0.0027584 ohm

I =V/R   = 220/0.0027584   =79,756.3 A   =กระแสลัดวงจรโดยประมาณ

กรณีดังกล่าว ผมคิดว่ากระแสที่เกิดขึ้นคงไม่ถึง 79 kA สายไฟอาจเกิดการอาร์กจนสายไฟขาดและหลอมเป็นเศษทองแดงร้อนๆไปซะก่อนในเสี้ยววินาที  แต่เบรกเกอร์มันจะระเบิดและอาจเกิดเพลิงไหม้ได้ครับ ซึ่งกรณีช็อตกันในตู้เมนเป็นกรณีที่อันตรายมากๆ ซึ่งผมไม่เคยเจอเหมือนกัน แต่เบรกเกอร์ในโรงงานใหญ่ทีมีหม้อแปลงส่วนใหญ่จะมีเมนเบรกเกอร์ที่ทนพิกัดได้ 100 kA ขึ้นไป

วีดีโอข้างล่างแสดงการอาร์กระเบิดสะเก็ดไฟในตู้เมน

youtube โดย ReinierKww

อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ เป็นกรณีที่ระเบิดในตู้เมนใหญ่ๆมากๆ น่ากลัวมากครับ(เลยทำรูปให้เล็กๆ) ไอ้ที่เขาโยกๆอยู่นี่ผมเดาว่าเป็นขั้นตอนปรกติในการทำให้เบรกเกอร์เมนอยู่ในสภาวะทริ๊ปมาอยู่ในสภาวะสับคืนโหลดได้ครับ เห็นแล้วเสียวครับเพราะเคยเห็นน้องๆโยกกันหน้าตู้เมนอย่างสบายใจมาก่อนหลายต่อหลายครั้งถ้าไม่เกิดอุบัติเหตุก็ดีครับ แต่ส่วนใหญ่อุบัติเหตุเหล่านี้มีสาเหตุที่แน่ชัดครับไม่ได้เกิดขึ้นได้ง่ายๆ ส่วนใหญ่เกิดจากข้อผิดพลาดที่มนุษย์เป็นผู้กระทำหรือประมาท โอกาสน้อยที่อยู่ๆจะเกิดเองเหมือนอยู่ดีๆก็โดนฟ้าผ่าครับ

ส่วนอันล่างเป็น เขาว่าแปลมาว่า มิเตอร์วัดไฟระเบิดเนื่องจากการตั้งค่าไม่ถูกและการใช้ฟิวส์ราคาถูก รับพิกัดการทนกระแสลัดวงจรได้น้อย

youtube by Malcolm Brown

ภาพอันล่างเป็นการเทสเบรกเกอร์ดูการระเบิด ขนาด30A  เทสที่ 590V 3ph  21.5kA 6cycle(คือยิงทดสอบ6ครั้ง)

youtube by TechtricEngineering

 

ก่อนจบจะต่อเรื่องเบรกเกอร์อีกนิดนึง ไหนๆก็เกริ่นเรื่องเบรกเกอร์ และได้เปิดดู แค๊ตตาล็อกของ square D แล้ว ตัดรูปเตรียมรูปมาแล้วก็เลยลงรูปให้หมดเลย

main_breaker_2pole_RCBO_IC_and_price_Dsq_homeuse
ในภาพบนนี้เป็นเมนเบรกเกอร์ชนิดกันดูดกันคนโดนดูดซึ่งมีขนาด10kA ป้องกันไฟรั่วหรือไฟดูดเกิน30มิลิแอมป์ และตัดไฟได้เร็ว0.04วินาที ยี่ห้อsquareD และมีคุณสมบัติที่ดีเหมือนเบรกเกอร์ทั่วไปคือป้องกันไฟช็อต ไฟเกินที่เกิดกับอุปกรณ์ไฟฟ้าอีกด้วย ภาพถูกตัดมาจากแคตาล็อก squareD 2011 เขียน แสดง และชี้ ให้เห็นด้วยตัวอักษรและสัญลักษณ์สีม่วงด้วยลายมือเขียนโดยไม่ได้รับอนุญาตการนำไปใช้ต่อควรจำกัด

รูปบนเป็นเมนเบรกเกอร์ชนิด 1 เฟส 2 โพล คือ L กับ N แงะเบรกเกอร์เมนทางซ้ายในตู้เมนรูปบนสุดแล้วใส่ลงไปได้เลยครับ(ก่อนแงะต้องระวังเรื่องสายเมนที่มีไฟอยู่ให้ดีต้องตัดไฟก่อน )(ไม่ควรจั๊มสด) อันนี้เป็นเบรกเกอร์ที่ป้องกันไฟดูด และป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรได้ถึง 10 kA หลักการทำงานเรื่องป้องกันไฟดูดคือเบรกเกอร์จะมีวงจรอีเล็กทรอนิกอยู่ภายในทำหน้าที่เช็กไฟ ขาเข้าL และ N กระแสต้องเท่ากัน ถ้าไม่เท่ากันและต่างกันเกิน30mAเบรกเกอร์จะทริ๊ป-กรณีไฟดูดและรั่ว    (หลักการทำงานเหมือนยี่ห้อ เซฟ-ธี-คาท) ผมเข้าใจว่ามันถูกใช้งานเฉพาะที่เช่น เฉพาะชั้นนี้ห้องนี้ ชั้นนี้ ต้องการป้องกันคนโดนดูด แต่ปัญหาคือการติดแบบโหลดรวมทั้งหมดอาจมีปัญหาในการทริ๊ป-ชนิดไฟรั่วบ่อยครั้ง เช่น กรณีเป็นตู้โหลดรวมกับ แอร์ แต่แอร์ส่วนใหญ่จะมีการติดคอยล์ร้อนอยู่นอกอาคาร ซึ่งไฟฟ้ามีโอกาสรั่วลงกราวด์ได้ โดยเฉพาะตอนฝนตก หรือห้องนั้นในบริเวณที่มีความชื้นมากเช่นพื้นปูนชื้นแต่มีการใช้เต้ารับแบบฝังดินกรอบเหล็ก เหตุการณ์เช่นนี้มักสร้างความรำคาญกับผู้ใช้มากมายในการทริ๊ปบ่อยครั้ง ผมจึงเข้าใจว่าไม่ค่อยนิยมใช้กัน เพราะเคยเห็นเบรกเกอร์แบบรุ่นโบราณมีปุ่มหมุนปรับ mA ได้ 0-30 mA รวมถึงมีปุ่มยกเลิกการใช้งานป้องกันไฟดูดด้วย เคยเห็นตามบ้านเพื่อนหลายครั้งแล้ว มีปัญหาแบบนี้ประจำ ไฟดับทั้งบ้านบ่อยๆตอนฝนตกหรือชื้นๆ ถ้าใช้ยี่ห้อนี้ ไม่แน่ใจว่ามีปุ่มยกเลิกการใช้งานไฟฟ้าดูดหรือเปล่าหรือจะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าโดยไม่เปิดแอร์หรือยังไงดี?

ดูภาพประกอบข้างล่างจาก พันทิพ และลองอ่านดูที่นี่ว่าเขาใช้แล้วเป็นอย่างไร

ภาพ เบรกเกอร์เมนกันดูด squareD และลูกย่อยบนตู้เมน1เฟส ภาพ pantip โดย pom2007 ภาพนี้ถูกนำมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตการนำไปใช้ต่อควรจำกัด

 

RCBO_child_breaker_IC_price_Dsq_homeuse
ในภาพบนนี้เป็นลูกเบรกเกอร์ย่อยชนิดกันดูด ซึ่งมีขนาด6KAและ10kA ซึ่งมีคุณสมบัติทนต่อกระแสลัดวงจรของเครื่องใช้ไฟฟ้าและสายไฟอย่างดีอีกด้วย ราคาจึงค่อนข้างสูง แถมมีชนิดรั่วเพียง10mAก็ตัดถือว่าไวมากๆแทบจะไม่ทันสะดุ้งดูดเลย ภาพถูกตัดมาจากแคตาล็อก squareD 2011 เขียน แสดง และชี้ ให้เห็นด้วยตัวอักษรและสัญลักษณ์สีม่วงด้วยลายมือเขียนโดยไม่ได้รับอนุญาตการนำไปใช้ต่อควรจำกัด

ภาพด้านบนเป็นลูกเบรกเกอร์ย่อยชนิดป้องกันไฟดูด และป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ขนาด 6kA และ 10kA เลือกกันได้ตามต้องการ ส่วนการต่อสายดูด้านล่างครับ หลักการทำงานก็คล้ายกับตัวบนแหละครับ แต่ติดเฉพาะที่เฉพาะทางกว่า เช่นสมมติว่า ห้องนี้มีเด็กเล็ก และก็มีปลั๊กวางอยู่ต่ำๆ ติดแบบนี้แหละครับเพื่อลูกๆหลานๆของท่านเองจะได้ปลอดภัยในกรณีหลงหูหลงตา และถ้าเป็นโคมไฟหน้าบ้านที่ชื้นๆก็อย่าไปติดมัน เต้ารับปลั๊กเสียบในห้องน้ำอยากจะเป่าผม ชาร์จแบตเครื่องโกนหนวดหรือจะเอาวิทยุไปฟังในห้องน้ำ(ไม่ควรทำ)อย่างนี้ก็ควรติดครับ เป็นเครื่องทำน้ำอุ่นอย่างนี้ก็ติดได้แต่เครื่องทำน้ำอุ่นสมัยนี้มีเบรกเกอร์ ชนิด ELCB ซึ่งหลักการทำงานก็เหมือนกับ RCBO(เบรกเกอร์อันบนนี้แหละ แปลว่าไรก็แปลเอาเอง) ป้องกันไฟดูดได้ดีมาก แต่ทนกระแสลัดวงจรได้ 1.5kA  เท่านั้น คือถ้ามันช็อตกันในเครื่องทำน้ำอุ่น(ซึ่งมีโอกาสน้อยมากๆๆ) เบรกเกอร์ELCB จะไหม้หรือแตกออกมาครับ และเสียแน่นอน ส่วนเบรกเกอร์ย่อยอาจจะไหม้หรือแตกออกชำรุดก็ได้ถ้ามีขนาด 6kA แต่ใช้สายค่อนข้างใหญ่ 4-6 sqmm และตู้เมนอยู่ใกล้จากจุดเกิดเหตุไม่ถึง10เมตร ซึ่งใครจะติดป้องกันอีกชั้นนึงก็แล้วแต่ครับ แต่ผมว่า 6kA ก็เหมาะสมแล้วสำหรับเครื่องทำน้ำอุ่น(อย่าลืมลากกราวด์ให้กับเครื่องทำน้ำอุ่นเพื่อป้องกันไฟดูดอีกชั้นด้วยครับ) =3ชั้น มากเกินไปแล้วมั้ง เหอๆ

MCCB_thermal_magnetic_IC_and_price_schiender
ในภาพบนเป็นเบรกเกอร์ชนิดใช้กับตู้เมนก็ได้หรือนำไปใช้ต่อกับเครื่องจักรโดยตรงก็ได้ของ Schineder ซึ่งก็มีถูกมีแพงแบ่งตามเกรดการทนกระแสลัดวงจรได้เช่นกัน แต่ถ้าเป็นตู้เมนที่บ้านก็ไม่ควรใช้แค่10kA เพราะอะไรก็ลองย้อนกลับไปอ่านอีกทีเนอะ ภาพถูกตัดมาจากแคตาล็อก squareD 2011 เขียน แสดง และชี้ ให้เห็นด้วยตัวอักษรและสัญลักษณ์สีม่วงด้วยลายมือเขียนโดยไม่ได้รับอนุญาตการนำไปใช้ต่อควรจำกัด

 ภาพบน เป็นเบรกเกอร์ ถ้าในพวก 3เฟสตัวล่างๆ ขนาด 15-30 kA เอาไว้ติดในตู้เมนชนิด 3 เฟส ซึ่งควรจะใช้ขนาดดังกล่าว  30 kA ได้ยิ่งดีครับ

ภาพล่างจากพันทิพครับ ลองอ่านดูกระทู้จะเข้าใจมากมายในรูปล่าง ROCB ต่อยังไม่ถูกนะครับ

ภาพข้างล่างเป็นตู้เมนชนิด สามเฟส แบบมีเบรกเกอร์เมนคุม

ภาพภายในตู้เมนชนิด3เฟสซึ่งมีเมนเบรกเกอร์และลูกเบรเกอร์ย่อย ภาพ pantip by pinhead2000 ภาพถูกนำมาใช้ที่นี่โดยไม่ได้รับอนุญาตการนำไปใช้ต่อควรจำกัด

ผมอ่านกระทู้ในพันทิพ งงตรงต่อ RCBO นี่แหละครับ ก็เลยไปค้นมา พบว่า เว็ปไซด์ชไนเดอร์ให้คำตอบกับเราได้ คือ

ให้ต่อสายขดเกลียว(สายหางหมู) ไปที่นิวตรอลของตู้(บัสบาร์ซ้ายมือสุด แนวตั้ง(ตู้เมน1เฟส)) จากนั้นให้สังเกตุว่าที่ด้านไฟออกของ QOvs-RCBO(ด้านล่าง) จะมีสองตำแหน่งให้ต่อสายไฟ ให้ต่อสายไฟทั้งสองเส้นนั้นไปที่อุปกรณ์ไฟฟ้า (Line และ Neutral) โดยห้ามเดินสายนิวตรอลร่วมกับอุปกรณ์ชนิดอื่น

ก็เลยทำรูปให้ใหม่ดังนี้ รูปจากพันทิพ  การต่อ RCBO ที่ถูกต้องครับ

QOvs-RCBO_connection wire
ภาพแนะนำการต่อ RCBOที่ถูกต้อง ภาพกระทู้pantip ซึ่ผมนำมาจากต้นฉบับ1 และ ต้นฉบับ2 โดย pinhead2000 นำมาตัดต่อดัดแปลงเพื่อสรุปความเข้าใจในการต่อที่ถูกต้อง ภาพถูกนำมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตการนำไปใช้ต่อควรจำกัด

 

ยังไงก็ตามการทริ๊ปของเบรกเกอร์ โดยเฉพาะการทริ๊ปที่มีเสียงดังคล้ายประทัดในที่เกิดเหตุ หรือมีการทริ๊ปที่มีขนาด 1000-3000 แอมป์ กับเบรกเกอร์ที่ทนการลัดวงจรได้ 6kA อายุการใช้งานได้จะลดลงไป คือครั้งต่อไปม้นจะทนกระแสได้ไม่เท่ากับ 6kA แล้วครับ อาจะเหลืออยู่ 3kA ถ้าทริ๊ปแบบประทัดอีกรอบ ก็ลดลงไปอีก ควรต้องเปลี่ยนใหม่นะครับ เพื่อความปลอดภัย เพราะถ้าทริ๊ปแบบเสียงดังคล้ายประทัดหลายๆรอบ รอบต่อไปจะเป็นเบรกเกอร์ระเบิดหรือแตกออกแทนนะครับ ระวังหน่อยนะครับ

ลักษณะนิสัยของการตัดไฟของเบรกเกอร์ Square D

ก่อนจากกันเรามีกราฟแสดงนิสัยการทริ๊ปว่า ใช้กระแสเท่าไหร่ ถึงทริ๊ป และใช้เวลานานเท่าไหร่ถึงทริ๊ป อันนี้เป็นเบรกเกอร์ square D รุ่น QOxxxx  (ก็คือลูกเบรกเกอร์ย่อยดำๆที่ใช้กันด้านบนนั่นแหละครับ) การทริ๊ปในที่นี้คือเบรกเกอร์เด้งหรือตัดกระแสไฟอัตโนมัติเนื่องจากการลัดวงจรไม่ใช่ไฟดูด เรามาลองกันดูครับ

multiples of rated current ที่แกนนอน คือจำนวนเท่าของพิกัดการทนกระแสของเบรกเกอร์    มีความหมายเชิงยกตัวอย่าง ดังนี้ คือ

ถ้าเท่ากับ1 เท่า หมายถึงเบรกเกอร์ 15A ดูถ้าตัดหรือทริ๊ป 15A คือตัวคูณ 1 ใช้เวลาเท่าไหร่ครับ  คำตอบคือ 500 -10000 วินาที

ถ้าเท่ากับ 1.5  เท่า  เช่นเบรกเกอร์ 15A  ถ้าทริ๊ปที่ 22.5A  จะใช้เวลาประมาณ 22-110 วินาที

ถ้า 15 เท่า  เบรกเกอร์ 15A จะทริ๊ปที่ 225 A  ใช้เวลา 0.06 -0.4 วินาที

ถ้าเท่ากับ 100 เท่า เช่นเบรกเกอร์ 15A  ถ้า ทริ๊ปที่ 1500A จะใช้เวลาประมาณ 0.02 วินาที หรือสั้นกว่า

QOmold_sqD_trip_characteristic
ภาพแสดงคุณลักษณะการทริ๊ปหรือการตัดกระแสไฟเมื่อกระแสถึงพิกัดการทำงาน ของเบรกเกอร์สแควร์ดี รุ่น QOxx ภาพนำมาจากดาต้าชีทผู้ผลิต Squre D ,Schneider catalog 2005 เรื่อง QOU Miniature Circuit Breaker and Switches ซึ่งถูกตัดนำมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตการนำไปใช้ต่อควรระบุแหล่งที่มาและแสดงความรับผิดชอบเอง

รู้กราฟนี้สำคัญไฉน ในกาลหนึ่งที่บ้านหนึ่ง(บ้านผมเอง นี่คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง) อยู่ๆก็มีการทริ๊ป หาสาเหตุไม่ได้ ไม่ได้เสียบปลั๊ก แต่ดูเหมือนปลั๊กไฟจะเป็นต้นเหตุทริ๊ป พอสับเบรกเกอร์ขึ้น จับเวลาดูราวๆ 45 วินาที เบรกเกอร์ 16A มันก็ทริ๊ปอีก ลองอีกที คราวนี้ทริ๊ปสั้นขึ้นไปอีกและมีอะไรพุ่งออกมาจากปลั๊กก่อนทริ๊ปอีกด้วย ก็เลยทราบว่า ปลั๊กมีปัญหาแน่ ถอดเต้ารับออกมาดูปรากฎว่า ปลวกเดินผ่านปลั๊กเลยเกิดอาการลัดวงจรแบบช้าๆแล้วทราบหรือยังล่ะครับ ถ้าดูกราฟจะรู้ว่าปลวกเป็นตัวนำไฟฟ้ามีความต้านทานสามารถมีกระแสไหลผ่านในตัวมันอย่างน้อยก็ 16-30A ครับผม  Cool

 

มีแถมให้นิดนึงครับ วิธีการเดินสายในตู้เมนพอดีไปเจอมาน่าสนใจ เอาไว้ดูคร่าวๆว่าช่างไฟฟ้าเดินสายไฟในตู้เมนกันอย่างไร

วีดีโอข้างล่างเป็นฝรั่งเดินสายไฟในตู้เมน Square D ตู้ขนาด 200A 2เฟส 4สาย(ไลน์2 N1 G1 เท่าที่ฟังคือเป็นไฟฟ้าชนิดเทียบไลน์กับไลน์ได้220V ถ้าเทียบไลน์กับนิวทรอลน่าจะได้100-110โวลท์ ซึ่งแรงดันไฟฟ้าน้อยกว่าบ้านเรา)  สายที่เห็นเปลือยๆยาวๆในตู้ทั้งหมดคือสายกราวด์ฝาหรั่งมักเดินกันเป็นมาตรฐานอย่างนั้น สายกราวด์เปลือยขนาดใหญ่มากๆเป็นสายไฟชนิดอลูมิเนียม ฝาหรั่งแกได้ทาน้ำยาป้องกันการเกิดอ๊อกไซด์ในสายอลูเนียมก่อนเข้าสายในตู้ทางซ้ายมือ สายขาวของเขาคือสายนิวทรอล(ของไทยนิยมสีดำสำหรับสายVAF) สายที่เหลือสีดำหรือแดงของฝาหรั่งคือสายฮ๊อท หรือสายไลน์หรือสายมีไฟ(ของไทยนิยมสีเทาสำหรับสายVAF) ประเทศไทยถ้าเดินสายTHWตามตู้ไฟหรือเดินท่อมักจะใช้สีสายไฟใกล้เคียงกับของฝาหรั่ง ยกเว้นกราวด์ประเทศไทยไม่นิยมปลอกสายเปลือยยาวในตู้และนิยมสายสีเขียว  วีดีโอ youtube by Ryndon Ricks

 

จบแล้วครับ หวังว่าบทความคงพอได้รับประโยชน์และไม่ยากเกินไป

ถ้ายากไปสำหรับมือใหม่หัดเรียนก็ขออภัยด้วย

 

 141,668 total views,  9 views today

Comments

comments

เผยแพร่โดย

pui

เรียน อนุบาลวัฒนา อัสสัมชัญ พระจอมเกล้าลาดกระบัง ทำงาน ซ่อมบำรุงเครื่องจักร ออกแบบโรงงาน ทีปรึกษาซ่อมเครื่องจักร อดิเรก ทำเว็บ ทำงานประดิษฐ์ ปลูกต้นไม้ เขียนบล็อก ทำสมาธิวิปัสสนา อนาคต ขายของ บวช เข้าถึงธรรมะ

5 thoughts on “พื้นฐานไฟฟ้าในบ้าน ตอนที่2b -1 ค้นหาว่าเลือกซื้อเลือกใช้เบรกเกอร์ แบบไหนดี? ถูกหรือแพง? ต้องเลือกที่การทนกระแสลัดวงจรหรือ? ลองคำนวนดูเล่นๆ? เบรกเกอร์ระเบิด นิสัยการทริ๊ป”

  1. จากรูป การต่อ RCBO ที่เป็ฯแบบ plug on
    บางท่านสงสัย ผมอธิบายต่อ

    ไฟ ขา เข้า มีดังนี้
    L มันเข้าทาง bus bar ต้านล่างแล้ว
    N คือหางหนูที่ว่า ก็ ลากไปต่อที่ N -bar สายสีฟ้า

    จากนั้น ก็ เป็ฯ ขา ออกที่ต่อไป ยัง Load

    สายสีแดง และสีส้ม

    ปล
    ผมใช้ ของจีน อยู่ ราคาถูกมาก RCBO
    แต่ทนกระแสลัดวงจรได้ 6kA
    และตัดไฟได้เร็วน้อยกว่า 0.01วินาที
    ซึ่ง ไม่ผ่าน เกณท์ทางการ
    แต่ ก็ใช้ได้
    ราคา เพียง 200 บาท

  2. ใช้ขนาด 10 ka (main) ตัวรองชั้น 2 (5 KA) และชั้น ล่าง (5KA) พอฝนตกหนัก ๆ ตัวชั้นล่างไฟจะตัด ท้ิงไประยะหนึ่ง พอแดดจัด ๆ เปิดได้ไม่ตัด บางทีก็นาน จึงตัด บางครังสักครู่ก็ตัด เช็คสวิท ปลั๊ก ตัดสายลงดินหมด ก็ยังตัดเลย หรือว่า สายเพดานฝ้า มีปัญหา บ้านอายุสัก 10 ปี เปิดฝ้าดูไม่ได้ เพราะเป็นกระเบื้องแผ่นเรียบนะ ปัญหาคืออะไร ครับ

    1. ผมยังไม่แน่ใจหรือสามารถฟันธงลงไปได้ ขอแบ่งเป็น2กรณีคือ

      1
      ถ้าเป็นเบรกเกอร์กันไฟดูด ถ้าตัดช่วงที่ชื้นแสดงว่ามีไฟรั่วลงดินหรือไฟรั่วระหว่างขั้วL-Nเกิน10-30 มิลลิแอมป์จากจุดใดๆที่เปลือยกับความชื้นขี้ฝุ่น เปลือยหมายถึงจุดเชื่อมต่อระหว่างสายไฟกับสายไฟเช่นถ้าเอาเทปพันสายไฟระหว่างจุดต่อแล้วพันไม่แน่นพอหรือเทปพันสายไฟไม่ใช่แบบเทปละลายก็มีโอกาสเป็นไปได้ที่มันรั่วลงดินถ้าเดินด้วยท่อเหล็กยิ่งไม่ต้องพูดถึง การเปลือยอีกแบบคือขั้วเต้ารับหรือปลั๊กตัวเมียถ้ามีขี้ฝุ่นสะสมมากๆแล้วชื้น หรือเดินเต้ารับแบบฝังดินก็ไฟรั่วได้ครับ
      อย่างแรกให้แก้ไขด้วยอย่าให้จุดต่อสัมผัสกับความชื้นในอากาศด้วยเทปละลายหรือเอาจุดต่อดังกล่าวหุ้มฉนวนเช่นกาวซิลิโคนประเภทที่ไม่ใช่กรด
      อีกอย่างคือย้ายจุดเต้ารับต่อให้อยู่สูงขึ้นหรืออยู่ในๆอย่าให้มันสัมผัสกับความชื้น
      ในกรณีข้างบนส่วนใหญ่จะตัดทุกครั้งที่ชื้นและถ้าเราสับอีกครั้งมันก็เด้งอีกทุกครัง ไม่งั้นก็ทำใจครับเพราะใช้เบรกเกอร์ที่ค่อนข้างดีเกินไปในกรณีดังกล่าวและถ้าเป็นแบบในรูปเบรกเกอร์กันดูดข้างบนมันไม่สามารถหรือไม่มีสวิทช์ปิดกันดูดได้ครับ

      2
      กรณีเป็นเบรกเกอร์ธรรมดา อันนี้เป็นกรณีคล้ายปลวกกินเต้ารับบ้านผมที่เคยเป็น ถ้าเช็กเต้าเสียบและจุดต่อแล้วแล้วไม่มีปัญหาแล้ว แสดงว่าอาจมี2กรณี
      ก1>>ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดถอดปลั๊กและเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดแล้ว จุดต่อและเต้ารับและจุดต่อมีขี้ฝุ่นเยอะและชื้นมีการั่วลงดินและรั่วระหว่างขั้วเหมือนในข้อ1 แต่มีที่แตกต่างคือแสดงว่าการรั่วนี้มีกระแสมากและมากพอๆกับพิกัดการใช้งานแล้วตัด
      เช่นเบรกเกอร์10Aทริ๊ปเด้ง เบรกเกอร์ทั่วไปที่ไม่ใช่แบบกันดูด เกิดจาก ใช้ไฟเกินกว่าที่เบรกเกอร์กำหนดไว้ เบรกเกอร์ รุ่นใหม่ๆจะมีคำว่า C10 หมายถึง พิกัดการใช้งานคือ 10 แอมป์ ถ้าใช้ไฟเกินนิดหน่อยเบรกเกอร์ก็จะตัดแต่เวลาตัดไม่แน่นอน เช่นถ้าเราใช้ไฟเกินจาก10เป็น 12 แอมป์ แต่พิกัดการใช้งานคือ 10 แอมป์ เบรกเกอร์ก็จะตัดหรือทริ๊ปใน 10นาที ถึง1ชั่วโมงโดยประมาณครับ
      แสดงว่ามีกระแสผ่านเบรกเกอร์มากว่า10แอมป์ในขณะที่ชื้น เหมือนกรณีปลวกในบทความของผม แต่เมือเอาเบรกเกอร์ขึ้นหลังทริ๊ปมันต้องใช้เวลาอีกสักพักราวๆ10นาทีถึง1ชั่วโมงจึงตัด
      ผมเคยเจอกรณีเดินจุดต่อในท่อเหล็กคือบริเวณกล่องพักสายที่เป็นเหล็กติดอยู่กับกำแพงนอกอาคารและเป็นที่ปลูกต้นไม้ด้วย มีคนเข็นของมาชนกล่องนี่บ่อยๆทำให้สายบาดและทริ๊ปได้กรณีนี้จะทริ๊ปทันทีและเปิดใหม่ก็ทริ๊ปอีก แต่ถ้าจุดต่อหรือกล่องฝนตกหนักก็เป็นอีกอาการนึง คราวหลังก็เลยเปลี่ยนเป็นท่อหนามากๆเปลี่ยนตำแหน่งกล่องจุดต่อและก็อย่าให้ชื้นแล้วเอาเทปละลายพันจุดต่อของสายไฟ
      ก.2>> ถ้าเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้วทริ๊ปจากความชื้น แสดงว่ารั่วน้อยแต่พิกัดการใช้งานของเบรกเกอร์ขณะใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอาจจะปริ่มๆ8-9Aอย่างนี้เป็นต้น
      วิธีแก้ทั้งสองกรณีถ้าเป็นแบบใช้เวลาทริ๊ปนานคือไม่ทริ๊ปทันทีจะหาจุดที่มีปัญหายากหน่อย ถ้ามีเครื่องมือที่เรียกว่าแคล้มแอมป์เอาแคล้มสายไฟดูจะรูชัดเจนครับว่าเกิดที่วงจรไหนและไปแก้เป็นจุดๆไป
      มีอีกกรณีหลังถ้าไม่ชื้นแล้วทริ๊ปแต่เบรกเกอร์และสายไฟตอนเดินก็มีขนาดใหญ่พอถูกต่อ แสดงว่าจุดต่อสายไฟอาจมีปัญหา เวลาใช้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นจุดต่อสายไฟ(ใช้คีมมัดสายไฟไม่ดี หรือใช้เต๋าต่อไฟ)ต่างๆมันมีปัญหาทำให้กินกระแสเกินปรกติหรือมีการอาร์กกันระหว่างจุดต่อ ทำให้กินไฟมากกว่าปรกติ เคยเจอสมัยบ้านเก่า สายไฟสั้นเขาเลยเอาเต๋ามาต่อ ใช้ไปสิบกว่าปีมีปัญหาทริ๊ปแบบหาอะไรไม่เจอ(แคล้มแอมป์ก็ไม่มี) เอาเบรกเกอร์ขึ้นใช้ๆไปก็ทริ๊ปอีก ใช้จนเต๋าไหม้สายไฟไปข้างนึงเลยสังเกตุเห็นว่าเป็นที่เต๋าหรือจุดต่อไหม้

  3. ขอราคา เซฟทีคัด 32 A 1 ตัว
    คอมซูมเอมร์ Main 32A ตู้
    ลูกเซอร์กิต 16A 2ตัว 20A 2ตัว
    081-613-6432 02-448-6448-9#555

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *