ตามแก้เนื้อหาภาพ วีดีโอ เอกสาร ที่อาจมีการอ้างลิขสิทธิ์ ตอนที่1 งมหาวิธีที่ทำให้ถูกกฎหมายลิขสิทธิ์ (กำลังเขียน)

ผมขอปิดหัวข้อเดิมทั้งหมดขอพิจารณาแก้ไขทีละเรื่องจะได้ไม่มีการละเมิดลิขสิทธิ์

ผมขอปิดหัวข้อเดิมทั้งหมดแล้วค่อยๆแก้ไขทีละอัน อาจใช้เวลาเป็นเดือนต้องขออภัยด้วยครับ อันไหนที่เปิดผมก็ยังไม่แน่ใจว่าถูกลิขสิทธิ์อีกหรือเปล่า ก็เลยต้องมาศึกษากฎหมายและวิธีปฏิบัติ ทั้งในและต่างประเทศ และผมเข้าใจว่า มีทั้งรูปฟรี เอกสารฟรี วีดีโอฟรีที่เจ้าของอุทิศให้แก่โลกนี้ โดยไม่หวังเงินทอง โดยที่มีการบอกว่ามันฟรี และไม่ได้บอกว่ามันฟรี ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์

จึงขอปิดหัวข้อพวกนี้ศึกษาและแก้ไขให้มันแน่ชัดก่อน จึงค่อยๆเปิดนะครับ

คุยเรื่อยๆดึกๆค่อยหลับ

ตัวตั้งเวลางานเกษตร

ธรรมะวันละนิดจิตแจ่มใส

พลังงาน

วัสดุ วัตถุดิบ เคมี สำหรับ DIY

เวิร์ดเพลสที่ผมต้องโฟกัส

ไฟฟ้าพื้นฐาน สำหรับ DIY

ไม่มีหมวดหมู่

 

ตอนนี้ผมกำลังศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์อยู่ ดูเหมือนจะทำอะไรผิดเยอะแยะมาก ก็เลยกำลังปรับปรุงและหาข้อมูลไปด้วย ว่าจะทำอย่างไรให้ถูกลิขสิทธิ์ เพราะงานเขียนสั้นๆในงานdiy ถ้าผู้มีความรู้ระดับเดียวกัน ก็จะเข้าใจกันสื่อได้เข้าใจ แต่ถ้าผู้ที่มีความรู้ต่างระดับกันมาก ย่อมหาความเข้าใจในการเชื่อมโยงกันได้ยากมาก ต้องทั้งอุปมาอุปไมย ทั้งมีรูปประกอบ มีวีดีโอ ค่อยๆตะล่อมที่ละเรื่องให้เข้าใจทีละเปาะ ซึ่งประมาณว่าต้องเหมือนเว็บ wikipedia แต่ต้องมีคนลงมือทำให้ดูด้วย ซึ่งมันมีทั้งข้อมูลให้ย่อยมากมายและใช้เวลาและแรงงานเยอะ ถ้าจะมาทำเองใหม่ทั้งหมด รูปทุกรูปก็ต้องเป็นของตัวเอง ทำวีดีโอใหม่เอง ดูเหมือนเวลาในโลกนี้จะไม่เพียงพอสำหรับเราๆที่มีอายุไม่ถึงร้อยปี

ผมลองค้นๆมีคำที่น่าสนใจ เช่น

copyleft

Free Art License

GNU Free Documentation License

Creative Commons

เหล่านี้ อาจะพอเป็นคำตอบสำหรับคนเขียนบล็อกก็ได้

 

มาลองวิเคราะห์กฎหมายลิขสิทธิ์ สำหรับคนเขียนบล็อก

ขอทำความเข้าใจกันนิดนึงก่อนจะได้อ่านง่ายๆและระวังๆ
ในหน้าสีแต่ละหน้าจะบ่งบอกดังนี้

หน้าสีแดงหรือชมภู หมายถึง  ต้องระวังอ่านให้ดีเพราะเป็นคำแปลหรือคำเข้าใจของผมเอง

หน้าเหลือง หมายถึง ยังก้ำกึ่งถ้าจะเอาไปใช้ควรปรึกษาผู้รู้

หน้าสีเขียว หมายถึง คำหรือสิ่งที่กฎหมาย บัญญติเอาไว้ แต่ควรพึงระวังเมื่อยกมาเพียงบางมาตรา ถ้าจะทำความเข้าใจเองจริงๆก็ต้องอ่านให้ครบทุกมาตราแล้วจะเข้าใจทั้งหมด การอ่านเพียงบางคำบางประโยคของกฎหมายเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะกฎหมายมันอิงและโยงใยกันข้ามมาตราหรือข้ามบรรทัดบางทีก็ข้ามฉบับและมีการยกเลิกหรือมีการแทรกบางมาตราบางคำหรือบางวรรค ในฉบับหลังๆ สิ่งที่ถูกควรอ่านทุกฉบับที่เกียวข้องไม่ควรอ่านเป็นประโยคๆหรือเป็นคำๆ ส่วนที่ผมยกมาบางประโยคที่เป็นหน้าสีเขียวจะเป็นคำหรือประโยคที่มีอยู่จริงในกฎหมาย และผมต้องการยกประโยคหรือมาตราเพื่อนำมาวิเคราะห์ เพราะผมอ่านทั้ง3ฉบับแล้วโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้อง (พวกนักแสดงผมอ่านข้ามๆ แต่อ่านคำเริ่มของมาตราและวรรคว่ามันเกี่ยวข้องกับอะไร)

กฎหมายลิขสิทธิ์ ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน(2558)
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗,ราชกิจจานุเบกษา
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘,ราชกิจจานุเบกษา
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๘,ราชกิจจานุเบกษา

เมื่อผมได้อ่านกฎหมายลิขสิทธิ์ทั้งหมด และผมสนใจเพียงแต่เรื่องของการแชร์ คัดลอก ใช้ ดัดแปลงงานที่มีลิขสิทธิ์มาใช้ในเว็บของเรา จะพบว่า (อันนี้ผมวิจารณ์ในกฎหมายและเจตนาของผู้ที่เข้าข่ายที่อาจจะเป็นผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ แนวๆเอารูป เสียง วีดีโอ เอกสารมาใช้ในเว็บบล็อกเท่านั้น อย่างอื่นไม่สนใจ) อันนี้เป็นการวิเคราะห์วิจารณ์กฎหมายโดยใช้ความเข้าใจส่วนตัวและมีเฉพาะในแง่คนใช้งานอินเตอร์เน็ททั่วไป ซึ่งผมไม่ใช่นักกฎหมาย นั่นหมายถึงจะเอาไปใช้งานจริงควรตรวจสอบอีกทีจากผู้รู้ให้แน่นอนก่อน

ผู้สร้างสรรค์งาน ก็คือผู้ทำผลงานชิ้นหนึ่งออกมาโดยมีลิขสิทธิ์ (ทุกอันที่อยู่ในโซนแดงคือผมแปลเอง เข้าใจนะ)

ลิขสิทธิ์ จะเกิดขึ้นเมื่อผู้สร้างสรรค์ทำผลงานออกมา ผมสนใจในเรื่อง

1. งานจิตรกรรม งานภาพถ่าย งานภาพประกอบ ถือว่าเป็นงานศิลปกรรม แม้จะมีคุณค่าหรือไม่ก็ตาม(ตามมาตรา4 นิยามคำว่างานศิลปกรรม จะมีคำว่ามีคุณค่าหรือไม่ก็ตาม )

แสดงว่า ถ่ายรูปเล่นๆกับหมาที่บ้านอย่างนี้ถือว่ารูปนี้มีลิขสิทธิ์ ลิขสิทธิ์เป็นของผู้ถ่าย ไม่มีอะไรผิดกฎหมายเนื่องจากหมาและผู้ถ่ายตนเองกับหมานั้นและวิวรอบข้างไม่ได้ไปละเมิดใคร(ละเมิดหมายถึงง่ายๆคือเขาไม่ได้อนุญาต คล้ายๆกับรายการอาหารญี่ปุ่นไปร้านอาหารที่เขากำลังกินๆกันอยู่ไปถ่ายพร้อมกับพิธีกรถ้าเขาไม่อนุญาตคนกำลังกินๆอยู่ก็จะถ่ายก็จะไปละเมิดเขา ฉะนั้นจะเห็นว่าบางทีทำหน้าภาพประกอบคนกำลังกินข้าวด้วยหน้าเบลอๆแต่พิธีกรหน้าชัด)

ถ้าแปลง่ายๆในคำว่าลิขสิทธิ์ในงานถ่ายเล่นๆไม่ใช่มืออาชีพน่าจะคล้ายกับความเป็นเจ้าของ ซึ่งตอนนี้อาจไม่มีค่าแต่คนอื่นอาจแอบเอาไปใช้หาผลประโยชน์ได้หรืออาจะทำให้เกิดเรื่องราวที่มีผลกระทบกับเจ้าของคนถ่ายรูปได้ กฎหมายจึงรับรองสิทธิ์หรือ ลิขสิทธิ์หรือความเป็นเจ้าของเอาไว้ ไม่ให้คนอื่นแอบเอาไปใช้โดยไม่ขออนุญาต ผมลองอ่านแล้วการถ่ายเล่นๆก็ควรต้องมีลิขสิทธิ์เพราะมีคำว่ามีคุณค่าหรือไม่ก็ได้

บนคอมพิวเตอร์ เราสามารถทำงานจิตรกรรมเช่นวาดการ์ตูนบนคอม หรือ วาดภาพร่าง ระบายสี ก็ถือว่าเป็นงานจิตรกรรมได้ เช่นกันวาดเล่นๆมั่วเด็กอนุบาลวาด ก็ถือว่าเป็นผลงานที่มีลิขสิทธิ์ของเด็ก ในข้อหลังๆของกฎหมายจะมีคำว่าถูกเผยแพร่ และอายุของลิขสิทธิ์ที่มีนานมาก อย่างน้อย 50 ปี ส่วนงานภาพประกอบ จะเป็นแผนที่ แบบ โครงสร้าง ภาพร่าง ประมาณว่าเป็นแบบสร้างปืนของดาวินชี่(สมมติว่าดาวินชี่จะดังหรือไม่ก็ตาม) อย่างนี้ก็ถือว่าเป็นภาพประกอบ รวมความคืองานอะไรที่ประกอบด้วยเส้นสีหรือจุดแสดงออกมาเป็นอย่างน้อยก็เข้าข่ายในงานหัวข้อนี้ซึ่งมีลิขสิทธิ์

2 งานวรรณกรรม หรืองานเขียน หรืองานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ถ้าทำออกมาก็ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ เช่น เขียนบล็อก แต่งกลอน เขียนโปรแกรม  แต่กฎหมายไม่ได้ระบุว่าถ้างานนั้นยังเขียนไม่เสร็จว่ามีลิขสิทธิ์หรือไม่

เข้าใจว่าถ้ามีบางส่วนที่แสดงออกมาหรือเป็นสำนวน อันควรเชื่อได้ว่ามาจากผู้สร้างสรรค์คนนั้นจริงก็ถือว่างานนั้นมีลิขสิทธิ์และเจ้าของคนนั้นเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ เช่นงานววรณกรรมชิ้นสุดท้ายของเจ้าของชื่อดังก่อนตายที่ยังเขียนไม่เสร็จก็ถือว่างานดังกล่าวมีลิขสิทธิ์   แม้แต่งานที่หาตัวคนทำไม่ได้แต่คนสนใจก็ยังมีลิขสิทธิ์ไป 50 ปี นับตั้งแต่วันเผยแพร่หรือสร้างขึ้น  และลิขสิทธิ์สามารถถ่ายโอนได้ด้วยหนังสือสัญญาแต่ในกรณีเรื่องมรดกทายาทจะได้รับลิขสิทธิ์ต่อไปได้เหมือนมรดกทั่วๆไป

โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ งานที่ประกอบด้วยลำดับภาพ ภาพเคลื่อนไหวหรือเสียง ก็คือวีดีโอทั้งหลายในยูทูป ภาพประกอบเพลง วีดีโอ เหล่านี้คือผลงานอันมีลิขสิทธิ์

การคุ้มครองสิทธิ์

มาตรา ๑๕ ภายใต้บังคับมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิ แต่ผู้เดียวดังต่อไปนี้

(๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง
(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
(๓) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง
(๔) ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
(๕) อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม (๑) (๒) หรือ (๓) โดยจะกำหนดเงื่อนไข อย่างใดหรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนด ในลักษณะที่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรม ไม่ได้
การพิจารณาว่าเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง (๕) จะเป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่ เป็นธรรมหรือไม่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดใน กฎกระทรวง

แสดงว่าผู้ที่ทำผลงานออกมาแล้วกฎหมายระบุการคุ้มครองสิทธฺ์ไว้ของเจ้าของสิทธิ์นั้น ภาษาอังกฤษมักชอบต่อท้ายบทความหรือรูปว่า All right Reserved หมายถึง สิทธิ์ทั้งหลายถูกสงวนไว้แล้ว และในมาตรา15(5) เฉพาะในเรื่องทำซ้ำดัดแปลงในภาพ ข้อความ เสียง หรือวีดีโอ เจ้าของสิทธิ์เท่านั้นที่อนุญาตผู้อื่นให้ทำการดังกล่าวได้

งานอันที่ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์ไม่ครบคลุมถึงความคิด ขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้ หรือวิธีการทำงานหรือการผลิต แต่จะไปละเมิดสิทธิ์ชนิดอื่น เช่นสิทธิบัตร ซึ่งมีวิธีขั้นตอนสูตรในการผลิตสินค้าเป็นต้น ประมาณว่ายาขนิดนี้ผลิตไม่ได้นะอเมริกาโดยบริษัทabcเป็นเจ้าของสิทธิ์อยู่เป็นต้น

ลิขสิทธิ์ยังไม่ครอบคลุมแนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นความจริงที่ไม่ใช่ผู้ใดผู้หนึ่งสร้างขี้นและเป็นเจ้าของมันได้

ตามมาตรา7  ข่าวประจำวัน ข้อเท็จจริง หรืออื่นๆ คืออะไรทีเกียวกับราชการเช่น กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและอื่นๆของหน่วยราชการ คำพิพากษาของศาล และคำแปลและการรวบรวมทั้งหมดที่กล่าวมาของหน่วยราชการต่างๆ ตั้งแต่ข่าวประจำวัน…. ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธาณชน

ทำซ้ำ ก็หมายถึงก็อปปี้ทำสำเนาบางส่วนหรือทั้งหมด เช่นเอารูปในอินเตอร์เน็ตเขามาทั้งรูปมาใช้ จะย่อหรือขยายหรือ corpหรือตัดบางส่วนเอามาใช้ ก็ใช่การทำซ้ำ หรือเอาข้อความของบล็อกเขาบางส่วนที่เป็นสำนวนของเขาทั้งประโยคหรือพารากราฟมาใช้

เช่นจะเห็นว่าเดี๋ยวนี้มีเว็ปดูดข้อมูลจากเว็บบอร์ดพันทิพทั้งกระทู้มีทั้งรูปและคำสำนวนมาสร้างคอนเทนต์ให้เว็บตัวเอง แน่นอนครับพันทิพไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่ได้เป็นผู้เสียหาย แต่คนถ่ายรูปและประโยควิจารณ์ที่ให้ทั้งประโยชน์สาระหรืออารมณ์ถือว่าเป็นงานเขียน การคัดลอกเหล่านี้อาศัยช่องว่างระหว่างผู้เสียหาย ผู้ถูกละเมิด ถ้ามีใครสักคนไม่ยอมเว็บเหล่านี้ก็ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์โดยเฉพาะพวกที่นำไปแสวงหากำไรหรือผลประโยชน์เป็นเงินหรือขายดีขึ้นหรือคนคลิ๊กเข้าไปแล้วหากำไรทางอื่นได้มากขึ้นเป็นต้น

ดัดแปลง  ก็หมายถึง ทำซ้ำโดยเปลี่ยนรูปบางส่วน ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม จำลองบางส่วนที่สำคัญไปทำงานใหม่โดยไม่ได้ทำใหม่เองทั้งหมด โดยจะทำเป็นบางส่วนหรือหรือทำทั้งหมดก็เข้าข่ายดัดแปลง เช่นเอารูปบางส่วนมาตัดแปะกับอีกรูปหรือเขียนข้อความลงไปบนรูปนั้น เป็นต้น

การเผยแพร่ต่อสาธารณชน ในการเอาขึ้นเว็บถือว่าเป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณชนแล้ว ถ้าเอาของอันมีลิขสิทธิ์ขึ้นเว็บถือว่าเป็นการเผยแพร่
 

การละเมิด

การละเมิดลิขสิทธิ์จะเกิดขึ้น เมื่อผู้มีลิขสิทธิ์ไม่ได้อนญาตผู้นั้นให้ใช้สิทธิ์ได้ตามมาตรา15 วงเล็บ(5) คือไม่อนุญาตให้ ทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธาณชน แก่ผู้นั้น แต่ผู้นั้นก็ยังก็อบปี้ โมดิฟาย เอาไปทำงาน หรือเอาบางส่วนไปทำงาน หรือเอาขึ้นเว็บ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมดโดยไม่ได้รับการอนุญาต แสดงว่าจะเอาไปหากำไรเพื่อการค้าหรือไม่ก็ตามก็ถือว่าเป็นการละเมิด

เช่นเอารูปของคนอื่นทำมาไปแปะบนเว็บตัวเองแล้วบอกว่า ขอขอบคุณภาพจากพันทิพ ใช่ครับพันทิพไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ขอบคุณก็ผิดตัว ผมก็ใช้อยู่แบบนี้เหมือนกัน ถือว่าเป็นการละเมิด เพราะเจ้าของภาพไม่ได้อนุญาต แต่เจ้าของภาพไม่ได้มาฟ้องร้องกับเราที่เอาขึ้นเว็บเป็นต้น

เช่นเอายูทูปไปembed โดยที่เจ้าของไม่อนุญาตก็ถือเป็นการละเมิดในเรื่องการเผยแพร่ แต่เมื่ออ่านสัญญามาตรฐานของยูทูปเองก็ยังไม่ได้รับผิดชอบว่าถ้าใครจะเอางานของคุณไปembed(ใครละเมิดใครไปฟ้องกันเอาเอง ยูทูปไม่เกี่ยว และเขาทำตามกฎหมายของยูเอสบนรัฐที่เขาตั้งอยู่เท่านั้น)  และยูทูปยังไม่อนุญาตให้เอาวีดีโอที่อัพโหลดไปใช้ในเชิงพาณิชย์ เช่นประมาณว่าอัพหนังไว้หลายเรื่องเปิดช่องไว้ให้คนอื่นเข้าใช้และหาทางเก็บตังค์หรือยัดโฆษณาในเว็บนั้น ทางยูทูปบอกว่าเขาสามารถทำได้แต่เพียงผู้เดียว(อ่านแล้วงงๆมันริดรอนสิทธิ์เราหรือเปล่าหว่า)

ข้อยกเว้นการละเมิด

ปล. การยกเว้นการละเมิด คนละอย่างกับการละเว้นไม่ต้องถูกฟ้องฐานละเมิด

ผมลองอ่านบทความของ http://www.socialmediaexaminer.com/copyright-fair-use-and-how-it-works-for-online-images/ เป็นบทความของทนายความหญิงชื่อว่า Sara Hawkins  ที่พูดถึงกฎหมายลิขสิทธิ์ของอเมริกาและการใช้งานในลักษณะ Term of Fair use หมายถึง ใช้อย่างไรให้เข้าข้อยกเว้นการละเมิด ลองอ่านยังไงๆก็แค่ป้องกันให้ได้เปรียบในคดีความเท่านั้น ในตอนท้ายๆของคอมเม้น แกยังเล่าให้ฟังว่า กูเกิ้ลถูกฟ้องร้องอยู่หลายปีจากอเมซอน ที่เอารูปของอาเมซอนขึ้นเสิชเอ็นจิ้นโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งสุดท้ายกูเกิ้ลก็ชนะคดีไป เพราะศาลสั่งว่าอยู่ในลักษณะของ Fair use แม้ว่า กูเกิ้ลเปิดเสิชเอ็นจิ้นให้ใช้ฟรี แต่ก็ยังมีลักษณะหาผลประโยชน์อยู่แต่เป็นทางอ้อม ถ้าจะลองดูให้ดี กูเกิ้ลก็เก็บภาพเล็กๆไว้ในระบบของตัวเองอยู่จริงโดยไม่เห็นมีใครอนุญาตสักราย (ไม่ใช่การส่งข้อมูลผ่านกูเกิ้ล และไม่ใช่แคชของเว็บที่มีภาพของเรา) ซึ่งเข่าข่ายการละเมิดแต่ก็ยังชนะคดีมาได้

ลองอ่านที่มาตรา 32 33 37 38 39 มีสิ่งที่หน้าสนใจค้นคว้าดังนี้

มาตรา ๓๒      การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงาน อันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่าเป็น การละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

(๑) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(๒) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและ บุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท
(๓) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(๔) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(๕) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงาน ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
(๖) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ โดยผู้สอนเพื่อประโยชน์ ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(๗) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอน หรือทำบทสรุปโดยผู้สอน หรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
(๘) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ

มาตรา ๓๓    การกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควรจากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมีการรับรู้ถึง ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง

มาตรา ๓๗   การวาดเขียน การเขียนระบายสี การก่อสร้าง การแกะลายเส้น การปั้น การ แกะสลัก การพิมพ์ภาพ การถ่ายภาพ การถ่ายภาพยนตร์ การแพร่ภาพ หรือการ กระทำใด ๆ ทำนอง เดียวกันนี้ซึ่งศิลปกรรมใดอันตั้งเปิดเผยประจำอยู่ในที่สาธารณะ นอกจากงานสถาปัตยกรรม มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมนั้น

มาตรา ๓๘   การวาดเขียน การเขียนระบายสี การแกะลายเส้น การปั้น การแกะสลัก การ พิมพ์ภาพ การถ่ายภาพ การถ่ายภาพยนตร์หรือ การแพร่ภาพซึ่งงานสถาปัตยกรรมใด มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสถาปัตยกรรมนั้น

มาตรา ๓๙   การถ่ายภาพหรือการถ่ายภาพยนตร์หรือการแพร่ภาพซึ่งงานใด ๆ อันมีศิลปกรรมใด รวมอยู่เป็นส่วนประกอบด้วย มิให้ถือว่าเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมนั้น

อ่านแล้วดูงงๆ คือละเมิดแน่นอนถ้าไม่ได้รับอนุญาต แต่บอกว่าตามมาตรา32 ถ้าไม่กระทบสิทธิ์ของเจ้าของ ไม่ขัดต่อการหาประโยชน์จากงานของเขาและไม่กระทบสิทธิ์ของเขาเกินควรซึ่งประกอบด้วย 8 ข้อที่ทำไปแล้วสามารถยกเว้นการละเมิด  ซึ่งจะลองวิเคราะห์ดูเอาอันที่เกี่ยวกับการเขียนบล็อก

แต่ถ้าเป็นเรื่องอื่นๆเช่น เพลง หนัง ซอฟแวร์ บริษัทหรือบุคคลที่เป็นเจ้าของยังสามารถหารายได้จากมันได้ มักจะไม่อนุญาต และยิ่งกว่านั้นยังไปรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นองค์กรไล่เช็กบิลคนที่แอบเอาไปคัดลอกหรือเอาไปใช้ ซึ่งองค์กรดังกล่าวจะได้ผลประโยชน์ตอบแทนกลับมาเป็นเงินหรืออะไรก็แล้วแต่ ฉะนั้นเรื่องการยกเว้นการละเมิดกับหนังเพลงซอฟแวร์มันไม่มีอยู่ในสารบบนอกจากเขาอนุญาตสิทธิ์เอาไว้ใช้สาธารณะเพราะไม่ได้อยากหาประโยชน์ส่วนตัวกับมันแล้ว

ส่วนมาตรา33 มีคำว่า มีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น ใครรับรู้? เจ้าของลิขสิทธิ์ก็รับรู้อยู่แล้วว่าตนเองเป็นเจ้าของ หรือจะหมายถึง เช่นจะเอาไปเสนอข่าวประจำวันที่มีบางส่วนของงานลิขสิทธิ์ก่อนเสนอข่าวก็ขออนุญาต ถ้าขออนุญาตแล้วเขารับแสดงว่าไม่ควรจะมีข้อความนี้ มีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น อาจหมายถึงการที่เราไม่ขออนุญาตแต่เราให้ทุกคนที่ดูข่าวรู้ว่าเจ้าของลิขสิทธิ์คือใครทำงานอะไรเป็นต้น นั่นก็คือการให้เครดิตแก่เจ้าของผลงาน

วิเคราะห์มาตรา32 (1) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร

ถ้าจะถามต่อไปว่าใครวิจัยศึกษา แสดงว่าใครก็ได้หรือเปล่า คนทั่วไปก็ได้ สามารนำไปศึกษาวิจัย โดยการทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ได้หรือเปล่า? ถ้าไม่ได้เอามาแสวงหากำไร แต่เป็นการทำเพื่อวิจัยศึกษา แต่ถ้าเรามีการขออนุญาตแล้วตามมาตรา15 (5) ขอแล้วต่อผู้มีลิขสิทธิ์ซึ่งถ้าเขาอนุญาตก็ไม่ต้องใช้กฎข้อยกเว้นข้อนี้ ซึ่งเรื่องก็ไม่ต้องถึงศาล (ยกเว้นเขากลับคำว่าเราไม่ได้รับสิทธิ์ เขาจะถามว่ามีหนังสือยินยอมหรือลายลักษณ์อักษรหรือเปล่า เพราะเขาให้แบบปากเปล่า หรือ ให้แบบตอบอีเมลล์ว่าให้ใช้ได้ )

แต่ถ้าผู้มีลิขสิทธิ์ไม่อนุญาต เราก็ฝืนทำยังสามารถทำได้หรือไม่ เพราะเราก็ไม่ได้ทำเพื่อการค้าและไม่กระทบต่อสิทธิของเขาเกินสมควร การกระทำดังกล่าวมันเป็นการละเมิดอยู่แล้ว แต่การยกเว้นได้หรือไม่ศาลจะเป็นผู้ตัดสิน จากข้อเท็จจริง

คำถามคือถ้าเราไม่ได้ขออนุญาตละจะได้ไหมจะได้รับการยกเว้นไหม  ถ้าผมเข้าข้างตัวเองและเข้าใจว่า ถ้าไม่ได้กระทบสิทธิ์ของเขา เช่นเราค้นคว้าศึกษาแล้วก็เผยแพร่บางส่วนในทางบวกก็ไม่น่าจะมีปัญหา เช่นการยกบางส่วนมาวิเคราะห์ เอารูปบางส่วนมาวิจัยศึกษาหาข้อสรุปและเผยแพร่ คำตอบคือการยกเว้นการละเมิดยังไงๆก็จบลงที่ศาลครับ แสดงว่าต้องผ่านการขึ้นโรงขึ้นศาลเป็นเวลาหลายปี เราไม่สามารถบอกได้ว่าการกระทำของเราจะได้รับการยกเว้นไม่ให้ถูกฟ้อง

แต่ถ้าก๊อปปี้และแปลทั้งหมดเป็นไทยและเผยแพร่ อันนี้ใช่การวิจัยศึกษาหรือไม่ คำตอบคือไม่น่าจะใช่  ในตอนท้ายฉบับของกฎหมายในเรื่องการแปลเป็นภาษาอังกฤษจากต้นฉบับต้องขออนุญาตทางเจ้าของเมืองนอกก่อนถ้าเจ้าของไม่อนุญาตหรือไม่ตอบมาเราก็ขอต่ออธิบดีว่าขออนุญาตแปลแบบที่ไม่ได้ใช้ในการค้าเช่นแปลระเบียบมาตรฐานทางไฟฟ้าของอเมริกาอะไรทำนองนี้แล้วก็ห้ามเอาไปพิมพ์ขาย ผมเคยเจอหนังสือลักลอบแปลไทยพิมพ์ขายเห็นถูกดีน่าซื้อพอจะซื้อเขาบอกว่าขายไม่ได้แล้วเพราะไม่มีลิขสิทธิ์สำนักพิมพ์กำลังจะถูกฟ้อง (แต่ตัวหนังสือไม่มีบอกว่าลักลอบแปลนะ) เป็นต้น

สรุปคือ ถ้าเราอาบางส่วนของ รูป หรือ วีดีโอ หรือเสียงมาทำการคัดลอก ตัดเอาบางส่วน แล้วทำข้อความมาวิจัยวิเคราะห์ถึงข้อดีข้อเสีย ความเป็นไปได้ หรือการใช้งานที่ถูกต้อง แล้วยังเผยแพร่ต่อสาธารณะชน โดยที่ไม่มีการขออนุญาต โดยไม่ขัด หรือการหาประโยชน์จากลิขสิทธิ์ หรือกระทบสิทธิ์ของเขาเกินควรก็น่าจะทำได้ โดยต้องระบุที่มาที่ไป บางส่วนของรูป หรือวีดีโอ หรือเสียง นั่นคือการให้เครดิตกับงานลิขสิทธิ์ของเขา(ตามมาตรา33) สรุปว่าอย่าไปขัดกับผลประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ และควรทำในแง่บวกจะดีกว่า ถ้าจะทำในแง่ลบ ก็ไม่ควรมีส่วนใดส่วนหนึ่งของเจ้าของลิขสิทธิ์อยู่ในหน้าเพจของเรา(เราส่งลิงค์ไปก็พอแล้ว) แต่การยกเว้นการละเมิดได้หรือไม่ ศาลจะเป็นผู้สั่งเท่านั้น ฉะนั้นยังไงๆผมก็ไม่แนะนำให้ทำถ้าไม่อยากขึ้นศาล

วิจัยหรือศึกษางานลิขสิทธิ์นั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร ตามมาตรา32(1)ทำอย่างไรจึงน่าจะเชื่อได้ว่าเราจะได้รับการยกเว้นการละเมิดจากการศึกษาวิจัยงานลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต

ผมจะลองยกตัวอย่างที่น่าจะเป็นไปได้ว่าถูกต้องเข้าข่ายการยกเว้นการละเมิดหรือไม่ เช่นผมบอกว่าผมอ่านดาต้าชีทเรื่องซิลิโคนของ ShinEtsu ซึ่งทางบริษัท ShinEtsu ก็ทำการเผยแพร่เอกสารดังกล่าวในหน้าเว็บของเขาอยู่ เกิดผมมีหน้านึงที่น่าสนใจและกำลังเขียนเรื่องซิลิโคน ผมก็บอกกับท่านผู้อ่านว่ากราฟตัวนี้น่าสนใจ บอกที่มาว่าอยู่ใน pdf ลิงค์ อะไร แล้วก็ตัดภาพมาดัดแปลงเอาดื้อๆ เฉพาะภาพที่ดัดแปลงด้านล่าง อันนี้ลองพิจารณาดูว่าเหมาะไหมควรได้รับการยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ไหม

EXample_break_copyright_law

ดูภาพตัวอย่างที่ถูกด้านล่างเลยครับ

มาลองคิดถึงใจเขาใจเราก่อนดีไหม
สมมติว่าเราทำกราฟอันนี้เองแล้วลงเผยแพร่แล้วบังเอิญมาอ่านเข้าจะพบว่า ไอ้นี่มันเล่นเขียนลงบนกราฟของเรา แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่ากราฟนี้เราทำหรือไอ้นี่มันเอาไปดัดแปลงตรงไหน ทำให้คนทำเอกสารเกิดความเสียหาย เนื่องจากในภาพดังกล่าวไม่ทราบว่าตรงไหนเป็นส่วนภาพของ ShinEtsu และตรงไหนเป็นส่วนภาพที่ดัดแปลง และไม่ทราบอีกหรือไม่อ้างอิงอีกว่ามาจากบรรทัดไหนของเอกสาร อย่างนี้ บริษัท ซิลิโคน ShinEtsu อาจเกิดความเสียหาย และฟ้องร้องเราได้ แต่จริงๆผมก็ไม่ได้อยากให้เกิดเรื่องเช่นนั้น

เพียงตัวอย่างข้างบนนี้แค่นี้ ก็แสดงว่ามันไม่ได้ถูกใช้ในลักษณะของการใช้ที่ถูกต้องเพียงพอต่อข้อยกเว้นการละเมิด ในภาษาอังกฤษ fair use ถ้าทำแบบข้างบนแสดงว่าคุณละเมิดอยู่แล้วยังไม่พอแต่คุณยังทำให้บริษัทของเขาเกิดความเสียหายได้ และอาจถูกฟ้องได้ทุกเวลา

ทำอย่างไรถึงจะถูก และสมควรได้รับการยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ตามมาตรา 32(1)

ตัวอย่างการนำบางส่วนของเอกสารมาดัดแปลงเพื่อการศึกษาของเว็บแห่งหนึ่ง มีการอ้างอิงมานำมาจากเอกสารของผู้มีลิขสิทธิ์ เขียนกระทั่งเว็บที่จัดแสดงภาพนั้น และระบุอีเมลล์ที่ติดต่อ คำบอกว่าห้ามเอาไปแชร์ต่อเพราะข้อความที่ดัดแปลงอาจไม่ถูกต้อง และไม่ได้รับลิขสิทธิ์จากผู้มีลิขสิทธิ์ อย่างนี้อาจเข้าข่ายยกเว้นการละเมิด แสดงว่าผู้ดัดแปลงยอมรับผลในการกระทำดังกล่าวถ้าถูกฟ้องร้อง เพียงแต่ผู้เขียนนำมาใช้สำหรับงานศึกษาโดยไม่ได้รับอนุญาตในลักษณะFair use โดยระบุแหล่งที่มาและพร้อมแสดงความรับผิดชอบ

อันนี้เป็นแค่ความคิดของผมเท่านั้น ถ้าคิดแบบง่ายๆคือ

1. ควรระบุภาพให้ชัดเจนว่าส่วนไหนเป็นภาพต้นฉบับและมีหน้าตาอย่างไรก่อนการดัดแปลง

2. ระบุในภาพต้นฉบับแยกส่วนให้ชัดเจนว่ามาจากเอกสารอะไรหน้าไหน ทำการคัดลอกหรือดัดแปลงโดยใคร(มีอีเมลล์ระบุ) และสื่อให้ชัดเจนว่านำไปใช้ศึกษา การเอาไปคัดลอกเผยแพร่อีกต่อเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้เพราะอาจมีบางส่วนผิดพลาดจากผู้เขียนเองและอาจทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์เดิมเสียหาย

ถ้าเป็นเอกสารต่างประเทศอย่างน้อยควรมีภาษาอังกฤษเขียนแนะนำลงในภาพ ถ้าเป็นภาษาไทยก็เขียนภาษาไทยลงไปให้ชัดเจน

การดัดแปลงโดยการเขียนชี้บ่งด้วยลายมือจะเข้าใจชัดเจนว่าส่วนนี้เป็นการดัดแปลงจะดีกว่าที่เราพิมพ์ลงไปบนภาพหรือเอกสารทำให้แยกไม่ออกว่าส่วนไหนเป็นส่วนที่เราดัดแปลง

เอาล่ะครับ เยอะเนอะ ถ้าทำไม่ได้จริงๆตามข้อเหล่านี้ก็ไม่ควรที่จะเอาไปศึกษาวิจัยเผยแพร่ ถ้าจะทำก็แค่ศึกษาวิจัยใช้ในที่จำกัดเช่นห้องเรียน หรือห้องระดมความคิด

การห้ามอย่างชัดเจนว่าไม่ควรนำไปคัดลอกนำไปใช้หรือแชร์ภาพโดยไม่มีที่มาที่ไปโดยให้ระบุลงไปใต้ภาพ(แยกส่วนกับภาพ) เพราะเรามีเจตนาป้องกันความผิดพลาดของข้อมูลของเราที่เพิ่มลงไปในภาพที่ดัดแปลงที่อาจจะก่อความเสียหายกับเจ้าของลิขสิทธิ์เดิม ซึ่งเจ้าของอาจจะฟ้องเราอีกหลายกระทงในการทำซ้ำแบบผิดๆแล้วบริษัทของเขาเสียหาย เรียกค่าเสียหายเป็นจำนวนสำเนาที่ทำเป็นเงินหลายเท่า และศาลอาจไม่เชื่อว่าคุณทำไปโดยสุจริตและเข้าข่ายได้รับการยกเว้น เพราะคุณทำไปโดยการไม่รอบคอบ

เอาล่ะครับผมบอกวิธีไปแล้วมันเป็นวิธีที่น่าจะสมเหตุสมผลในการได้รับการยกเว้นว่าละเมิดถ้าถูกฟ้องร้อง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะรอดจากการถูกฟ้องนะขึ้นกับว่าคุณเขียนอะไรและทำให้ใครเสียหายโดยไม่ได้ตั้งใจหรือเปล่า อีกทั้งยังต้องดูเจตนาการนำไปใช้ของคุณอีกด้วย

วิเคราะห์มาตรา32 (2)การใช้เพื่อประโยชน์ตนและครอบครัว ถ้าจะแอบใช้ก็คงไม่มีใครรู้ แต่ถ้าเอาขึ้นเว็บให้คนอื่นใช้ด้วยจะละเมิด เพราะคนที่ดาวโหลดอาจเอาไปทำการขัดประโยชน์หรือสิทธิหรือลิขสิทธิ์ของเจ้าของสิทธิ์  ประมาณว่าใช้โปรแกรมแอบดูดคลิ๊ปของยูทูปมาเก็บไว้ใช้ส่วนตัว อย่างนี้อาจจะได้รับการยกเว้นถ้าถูกจับเรื่องอื่นก็คงไม่ได้เพิ่มอีกกระทงความผิด ก็แค่น่าจะเท่านั้น แต่ถ้ายูทูปมาดำเนินคดีกับเราก็อีกเรื่องหนึ่ง

วิเคราะห์มาตรา32 (3)(4) สรุปในข้ออื่นๆรวมกันเลย ซึ่งชัดเจนอยู่ว่าเข้าข่ายยกเว้นการละเมิด ถ้าใช้กันพอสมควรและอยู่ในเทอมของ Fair use ข้อสังเกตอย่างหนึ่งคือในสองวงเล็บนี้ ไม่มีคำว่า อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร

แสดงว่าเอามาหากำไรได้ เช่นบริษัทห้างร้านที่ทำสินค้าเหมือนที่มีกระทู้ในพันทิพกำลังวิจารณ์ การคัดลอกมาทั้งกระทู้โดยให้เครดิตเพื่อมาทำเป็นคอนเท็นต์ตัวเอง ไม่ได้เข้าอยู่ในข้อยกเว้นนี้ เพราะไม่ได้ใช้พอสมควร ถ้าจะทำคอนเท็นโดยไม่ขออนุญาต ควรยกมาเป็นส่วนๆเป็นประโยคเป็นรูปแค่บางส่วนและประกอบคำของตนเองเพื่อสร้างคอนเทนต์ใหม่ที่มีประโยชน์ การลอกมาทั้งหมดทุกภาพและทุกคำเป็นพฤติกรรมที่น่ารังเกียจ ใช่ครับเขาไม่ได้ฟ้องคุณหรอกตอนนี้ เด๋วฟ้องย้อนหลังก็ได้ เรียกค่าเสียหายย้อนหลังดีกว่าไหมครับ เพราะคุณเอาไปทำเงินคุณก็ควรแบ่งกับเจ้าของลิขสิทธิ์

(3)ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงาน (4)เสนอรายงานข่าวทางสื่อมวลชนโดยต้องให้เครดิต ยกเอามาบางส่วน เอารูปมาบางส่วน เอายูทูปแปะ หรือเอาหน้าเว็บของเขามาวิจารณ์ขึ้นเว็บและให้เครดิตว่าเจ้าของลิขสิทธิ์คือใคร อย่างนี้จะได้รับการยกเว้นถ้าทำกันพอสมควรไม่ได้ลอกเนื้อหาทั้งหมดมาเผยแพร่ ผมยังลองอ่านเอกสารหลักปฏิบัติการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมของพวกช่องข่าว

แม้งานเสนอข่าวยังมีหลักที่ไม่ขัดกับผลประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ เช่นงานวรรณกรรมหรือภาพเขามาไม่เกิน 5 ภาพ ตัวหนังสือไม่เกิน10% หนังจะฉายโรงควรเสนอข่าวกับตัวหนังไม่เกิน3นาที ไม่ควรเสนอส่วนสำคัญของหนังหรือหนังสือของเขาทำให้เขาเสียค่าการตลาด อย่างนี้เข้าหลักได้รับการยกเว้นการละเมิด แต่ถ้ารายการทั้งช่วงเช่น10-20นาที เอายูทูปมาแปะให้คนได้ฮาๆ แล้วก็ตัดเข้าโฆษณาได้เงินอย่างนี้อาจเข้าข่ายการละเมิด เพราะทำแล้วได้เงินแต่ก็ไม่ได้แบ่งให้เจ้าของคลิ๊ปเป็นต้น บังเอิญผู้เสียผลประโยชน์ไม่ได้ไปฟ้อง ลองเอาคลิ๊ปของอีกช่องไปใช้สิเรื่องไม่จบง่ายๆนิ

การติชม หรือวิจารณ์ ถ้าส่งลิงค์ออกไปก็ไม่เข้าข่ายการละเมิด แต่ถ้ายกประโยคคำพูดหรือภาพโดยให้เครดิต แล้วนำมาติชมด้วยใจจริงเป็นธรรมก็ไม่เป็นไร การวิจารณ์ถ้าเข้าข่ายทำให้เขาเสียหายแล้วเขาฟ้องร้องจะผิดกฎหมายอื่นด้วยเช่น หมิ่นประมาท เป็นต้น

มาลองพิจารณาให้ดี คำว่าการแนะนำผลงาน แนะนำผลงานของผู้อื่นอย่างไรจึงเข้าข่ายข้อยกเว้นในการละเมิด ใช้อย่างไรจึงจะพอเหมาะพอควร เช่นเราพูดถึงเรื่องปลั๊กไฟในงานdiy แต่อยากจะแนะนำว่ามันมีรูปที่น่าสนใจแต่เราขี้เกียจทำการบ้านคือถ่ายรูป หรือไม่มีทางที่เราจะมีวัตถุดิบอย่างนี้และวัตถุดิบดังกล่าวเป็นงานเฉพาะหรือแฮนด์เมด เราจะทำอย่างไรให้อยู่ในข้อยกเว้นนี้ครับ เช่น

การแนะนำภาพโดยการดัดแปลงภาพของเขาดูเหมือนจะไม่ค่อยเหมาะ และอาจไม่ได้รับการยกเว้นในการละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์

การก็อปปี้แล้วมาโมดิฟายให้เห็นอย่างภาพข้างบนมันดูดีในภาพรวม แต่เล่นเอารูปส่วนสำคัญเกือบทั้งหมดของเว็บเขามาใช้มันไม่เหมาะ ยิ่งถ้าคุณเป็นเว็บที่ทำเพื่อกำไรแล้วคุณควรจะใช้วิธีแนะเว็บไซต์ จริงๆภาพเดิมผมได้จากกระปอก.com (ชื่อแฝง) ตอนแรกก็นึกว่ามีใครในเมืองไทยลองทำดู สุดท้ายก็แอบเอาของเขามาโดยไม่ได้ให้เครดิตแล้วก็ลบคอนเท็นนั้นทิ้ง ทำอย่างนี้จะเหมาะกว่าไหมดังรูปข้างล่าง

แนะนำเว็บไซต์การต่อปลั๊กเป็นกันดั้ม >> portal.nifty.com/kiji/121116158385_1.htm

การแนะนำเว็บไซด์ที่มีเนื้อหาคอนเท็นของเขาบางส่วนโดยระบุแหล่งที่มาเป็นการเหมาะและทำซ้ำอย่างพอสมควร อาจเข้าข่ายการยกเว้นการละเมิดได้ ถ้าคอนเท็นต์ของคุณแค่แนะนำเว็บไซด์ที่น่าสนใจ โดยอธิบายใต้รูปด้วยคำของคุณให้เหมาะสม
โดยในคอนเท็นต์ของคุณก็พูดถึงการต่อปลั๊กไฟไปหรือการเรียนรู้ไฟฟ้าไปโดยที่คอนเท็นต์ที่คุณแต่งมีเนื้อหาเฉพาะที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้นไม่ใช่เหมือนของเขาทั้งหมดเอามาเปลี่ยนคำพูดเป็นของตนเองเท่านั้นอย่างนี้ไม่เหมาะ

วิเคราะห์มาตรา 32(6) ผู้สอนเพื่อประโยชน์ ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร สามารถทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ แสดงว่า ถ้ามีคนทำ pdf สอนไฟฟ้าแก่นักเรียนของตนโดยไม่ได้ทำขาย โดยมีภาพที่มีลิขสิทธิ์เช่นไขควงคีมแต่มีการให้เครดิตภาพเหล่านั้น แต่ไม่ได้ขออนุญาตจากเจ้าของภาพอย่างนี้  แต่เรื่องราวที่เป็นตัวหนังสือนั้นเรียบเรียงเอง อย่างนี้อาจเข้าหลักการยกเว้นการละเมิดได้ มีการนำออกแสดงหมายถึงการเผยแพร่กับเด็ก กับสาธารณชนเช่นให้เด็กดาวโหลดบนเว็บไปอ่านได้ คนทั่วไปก็ได้อ่านได้ เพราะอาจต้องการสอนคนทั่วไปด้วยก็ได้จึงนำออกเผยแพร่ ส่วนการคัดลอกpdfนั้นไปให้คนทั่วไปดาวโหลดอีกต่อหนึ่งเป็นสิ่งที่ควรระวัง เพราะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของอาจารย์ท่านนั้น แม้จะให้เครดิตแล้วแต่ก็ยังเป็นการละเมิดอยู่ดีถ้าทำก็ต้องยอมรับผลที่ตามมา

วิเคราะห์ มาตรา 37 38 39  ใจความคือใช้ศิลปกรรมอย่างหนึ่งผลิตงานศิลป์ซึ่งต้นแบบมาจากงานอันมีลิขสิทธิ์และตั้งอยู่ในที่สาธารณะเพื่อเผยแพร่ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น ถ่ายภาพวัดที่อาจารย์เฉลิมชัยสร้าง หรือไปสเก็ตภาพเหมือนที่วัดนั้น หรือถ่ายวีดีโอเป็นต้น คำว่าตั้งอยู่ในที่สาธารณะถ้าตีความหมายโดยทั่วไปก็คือมีการตั้งอยู่ในสถานที่จริงๆ แต่มองอีกนัยยะหนึ่งเช่นถ้าที่สาธารณะนั้นหมายถึงการตั้งอยู่ที่เว็บไซด์หนึ่งซึ่งเปิดให้คนทั่วไปได้เขาถึง ถ้าการตีความนี้เว็บไซด์เปิดทั่วไปที่ทุกคนเข้าถึงได้ในที่สาธารณะ เช่นเว็บไซด์ โดเรม่อน คนทั่วไปก็สามารถทำศิลปกรรมในทำนองที่ลอกเลียนแต่ไม่เหมือน เช่นปั้นรูปโดเรม่อนจากรูปในไซด์นั้นแล้วถ่ายรูปเผยแพร่ ถือว่าการกระทำนั้นเข้าข้อยกเว้นการละเมิด

แต่ถ้าเราปั้นโดเรม่อนขาย จะทำพิมพ์ของมาแล้วก็อบเยอะๆขาย จะท่าทางเหมือนของเขาหรือไม่เหมือนก็ตามเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ที่ต้องถูกฟ้องแล้วครับ จะยกตัวอย่างที่ถูกให้ฟัง พอดีเพื่อนผมเล่าให้ฟังมันไปอยู่ญี่ปุ่นสักพักนึงบังเอิญได้ไปเที่ยวนิทรรศการของแฮนด์เมดขาย เขาเล่าให้ฟังว่าที่นั่นเอาของแฮนด์เมดการ์ตูนไปขายได้โดยไปซื้อลิขสิทธิ์ตัวการ์ตูนนั้นที่หน้างานซึ่งค่าลิขสิทธิ์ถูกมากเมื่อเทียบกับราคาสินค้าที่เราจะขายได้กำไร แสดงว่าการที่เซเว่นหรือธนาคารเอาตัวคาแร็กเตอร์การ์ตูนมีลิขสิทธิ์มาประกอบการค้าเพื่อการดึงดูดทำให้น่าสนใจ ทุกตัวน่าจะถูกขอใช้ลิขสิทธิ์แล้วทั้งนั้น ฉะนั้นถ้าเอาไปทำการค้าจะปั้นหรือทำอะไรขายโดยมีตัวการ์ตูนที่มีลิขสิทธิ์ประกอบอยู่จะเป็นการละเมิดและถูกฟ้องอย่างแน่นอน

แต่ถ้าเราถ่ายรูปปลั๊กกันดั้มที่เว็บเจ้าของลิขสิทธิ์ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ของเราและดูออกว่าคนละรูปกับที่ติดในเว็บและพูดคุยถึงการถ่ายรูปของเราหรือพูดถึงปลั๊กไฟหรือแนะนำเว็บของเขาและไม่ได้ใช้ในเชิงพาณิชย์ก็อาจเข้าข่ายการยกเว้นการละเมิดในข้อนี้ การนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ควรขออนุญาตกับเจ้าของงานศิลป์ก่อนจึงจะถูกต้อง

แนะนำเว็บไซต์ ประกอบปลั๊กไฟเป็นกันดั้ม >> portal.nifty.com/kiji/121116158385_1.htm โดยใช้วิธีถ่ายภาพผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์

ถ้าอย่างนั้นแล้วการcrop รูปจะทำได้ไหม ก็ต้องถามว่า การcrop รูปคือศิลปกรรมหรือเปล่าล่ะ แล้วก็ต้องดูเจตนาอื่นๆประกอบ อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่างานภาพยนตร์ต่างๆที่บางทีถ่ายติดบนจอทีวีหรืองานป้ายโฆษณาของบุคคลอื่นจึงอาจมีลักษณะเข้าองค์ประกอบการยกเว้นละเมิดลิขสิทธิ์แม้ภาพยนตร์นั้นจะเอาไปทำกำไรได้ก็ตาม แต่การใช้มือถือถ่ายภาพงานแสดงของศิลปินเอาไว้ใช้ส่วนตัวก็เข้าข่ายยกเว้น แต่ถ้าเอาไปอัพบนยูทูปอาจทำให้เสียประโยชน์ จะเข้าข่ายความผิดอื่นมากกว่าคำว่าละเมิดลิขสิทธิ์

 

สรุปเรื่อง งานอันมีลิขสิทธิ์ที่ไม่ได้รับอนุญาต ถ้าเราเอาผลงานลิขสิทธิ์บางส่วนที่เป็นส่วนน้อย มาวิจารณ์ มาติชม มาแนะนำ มาเสนอข่าว มาทำเอกสารสอนนักเรียน  โดยที่ไม่ได้แสวงหากำไร โดยมีการให้เครดิต และไม่ได้ขัดต่อผลประโยชน์ทางลิขสิทธิ์ของเขา ก็อาจเข้าข่ายการยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยศาลมีอำนาจตัดสินดังกล่าว มิใช่เข้าข้อยกเว้นแล้วจะไม่ผิด ไม่ถูกฟ้อง จึงควรระวังการใช้และยอมรับผมที่ตามมา

ถ้าเราเอาเอกสารดาต้าชีทสำหรับแนะนำผลิตภัณท์มาทำสำเนาพร้อมแจกจ่ายในที่สาธารณะโดยที่ไม่ได้ขออนุญาต เพื่อประโยขน์ของเจ้าของผลิตภัณท์เองทำให้ขายของได้ และเพื่อประโยชน์แก่เจ้าของสำเนาในการขายของได้ จริงๆเป็นการเข้าข่ายละเมิดที่ไม่มีข้อยกเว้นก็ได้หรือไม่ละเมิดก็ได้ เพราะเจ้าของลิขสิทธิ์เอกสารเอาไปเผยแพร่ในที่สาธารณะให้บุคคลทั่วไปทำการดาวโหลด ส่วนการเอาบางส่วนของดาต้าชีทมาตีแผ่ วิจารณ์ โดยให้เครดิตเอกสาร ก็อาจจะยังเข้าข่ายได้ไม่ปลอดภัย100เปอร์เซนต์

สุดท้ายเรื่องยูทูป ส่วนใหญ่ผู้คนที่อัพโหลดโดยเฉพาะงาน นวัตตกรรม สินค้า และการเรียนการสอน เขาต้องการให้เผยแพร่ไปได้ แต่ถ้าเป็นเรื่องสินค้าก็ไม่ควรเอาไปแอบอ้างเพื่อผลประโยชน์ทางการค้าของตัวเองโดยที่ไม่ได้ทำวีดีโอจะโดนฟ้องแน่นอน การเอาไปembed ควรพิมพ์เครดิตผู้ปล่อยตัวใหญ่ หรือเครดิตหรืออาจารย์ผู้สอนซึ่งเป็นการปลอดภัยกว่า ประมาณว่าอย่าไปทำให้เขาเสียผลประโยชน์ ถ้าอยากวิจารณ์ด้านลบก็ไปที่เว็ปยูทูปเลยจะสะดวกกว่า อีกอย่างหนึ่งผู้อัพโหลดจะมีพวกที่สามารถเอาไปใช้ฟรี ตัดต่อ ตัดแต่งวีดีโอได้ตามสะดวกแต่ต้องบอกแหล่งที่มาเสมอ มันคือสัญญาชนิด ครีเอทีฟคอมมอนส์ คือผู้อัพโหลดให้สิทธิ์เอาไปก๊อปรีมิกซ์ได้เลยแต่ต้องบอกแหล่งที่มาด้วย อย่างนี้ปลอดภัย100%เพราะเข้าข่ายFair use คือการใช้งานพอสมควรตามสิทธิอนุญาตที่เจ้าของลิขสิทธิ์ให้เรานำไปใช้ได้ล่วงหน้าโดยไม่ต้องไปขอก่อนใช้

 

 

การเลือกใช้ของฟรี รูป วีดีโอ เอกสาร และสื่ออื่น 

กำลังเขียนอยู่ครับ

ใช่ครับของฟรีที่คนทั่วๆไปเข้าใจนั่นแหล่ะ จริงๆมันมีอยู่มากมายในโลกนี้ ซึ่งถ้าท่านทำเว็บไซด์เพื่อการศึกษาหรือเว็บบล็อกที่ต้องการให้ความรู้ผู้คนละก็ มีสื่อที่ทั้งแบบฟรี และแบบผู้มีลิขสิทธิ์อนุญาตให้ล่วงหน้าสามารถนำไปใช้แบบมีเงื่อนไขอยู่(ให้ระบุแหล่งที่มาเสมอ และเงื่อนไขเพิ่มเติมเช่น>> เอาไปคัดลอก ดัดแปลงได้ คือไม่มีเงื่อนไขอะไร,ห้ามเอาไปดัดแปลง ,ห้ามเอาไปใช้ทางการค้า ,เอาไปใช้ทางการค้าได้)

รูปที่สามารถนำไปใช้ได้

www.flickr.com>> all creative common search สามารถนำรูปไปใช้ได้แบบมีเงื่อนไข และยังสามารถหารูปที่ใช้ได้ฟรีแบบไม่มีเงื่อนไขเช่น ใน Public domain

เมื่อลองหาแหล่งรูปฟรีที่ wiki จัดทำไว้ meta.wikimedia.org/wiki/Free_image_resources จะพบว่ามีรูปมากมายเยอะแยที่ให้ใช้มีทั้งแบบฟรีและฟรีแบบมีเงื่อนไข

และรูปและมีเดียฟรีที่wikiโดยตรง  commons.wikimedia.org/wiki/Main_Page ใช้คำเสิชหาเอาเลยครับ มีมากมายหลักล้านรูปได้ เยอะครับแบ่งเป็นแคททีกอรี่หมวดหมูมากมาย วิว งานเอ็นจิเนีย จะก็อปไปเขียนบทความก็ได้ทั้งนั้น บางอันก็เอาไปทำงานคอมเมอเชียลก็ยังได้ ให้อ่านรูปแต่ละรูปว่ามีข้อจำกัดอะไรบ้าง

เอกสารที่สามารถนำไปใช้ได้

เอกสารที่มี คำว่า GNU  Free Software Foundation ส่วนใหญ่เป็นหนังสือเอกสารที่ทำเพื่อการศึกษา เช่น หนังสือเรื่องไฟฟ้า www.ibiblio.org/kuphaldt/electricCircuits/ 

สามารถนำไปคัดลอก ดัดแปลงใช้งานได้เพราะผู้เขียนอนุญาตภายใต้แนวคิดของ GNU

เอกสารใดๆที่มีคำว่า CC หรือครีเอทีฟคอมมอนส์ ชนิดมีเงื่อนไขเบื้องต้นคือต้องระบุแหล่งที่มีหรือมีเงื่อนไขอื่นเพิ่มเติม  เช่น

เอกสารที่จัดทำและเผยแพร่โดยรัฐบาลอเมริกาและมีข้อความบางอย่างที่บ่งว่าสามารถนำไปใช้ได้

เนื่องจากตามกฎหมายอเมริกาซึ่งมีใจความว่า เอกสารที่จัดทำโดยรัฐบาลหรือลูกจ้างที่รัฐจ้างเพื่อจัดทำเอกสารและนำไปใช้งานทั่วไปในหน่วยงานรัฐและมีการเผยแพร่ ไฟล์เอกสารดังกล่าวเป็นอิสระจากกฎหมายลิขสิทธิ์

ฉะนั้นสามารถทำซ้ำ ดัดแปลงและเผยแพร่ได้ แต่ควรต้องระบุแหล่งที่มา การนำภาพบางส่วนในเอกสารPDFมาเผยแพร่ย่อมสามารถทำได้ เมื่อกฎหมายลิขสิทธิ์ของอเมริกาไม่มีผลบังคับใช้ในอเมริกาจะมีผลบังคับใช้ในเมืองไทยหรือไม่-คิดว่าคงไม่มีผล เช่น เอกสาร Navy Electricity and Electronics Training Series -Introduction to Matter, Energy, and Direct Current.pdf ซึ่งถูกทำสำเนาที่ wiki และระบุชัดเจนว่าสามารถนำไปใช้งานได้คล้ายกับมีเดียชนิด public domain ซึ่งเอกสารดังกล่าวหาโหลดทั้งเวอชั่น jacquesricher.com/NEETS/  หรือมีให้เลือกเยอะกว่า maritime.org/doc/index.htm#neets ปัญหาสำคัญคือคุณจะรู้ได้อย่างไรว่ามันยกเว้น แม้มันเป็นเอกสารที่ได้รับการยกเว้นเรื่องลิขสิทธิ์ในอเมริกา แต่อเมซอนก็ยังแปลงเป็นเอกสารkindleขายได้(น่าจะได้รับอนุญาตให้ขายจากเจ้าของแล้วนะ) การหาแหล่งที่มาชัดแจ้งและมีหลายๆคนช่วยกันดูเช่นจาก wiki อย่างนี้พอที่จะเชื่อถือเอาไปใช้ได้ หรือเราต้องรู้จักที่มาโดยเปิดเข้าไปดูหน้าแรกหรือหน้าที่สอง จะมีคำว่า “Approved for public release; distribution is unlimited” มันแปลว่าแจกจ่ายได้อย่างไม่จำกัดแต่ไม่ได้มีคำว่าเอาไปดัดแปลงใช้งานได้ และตราสัญญลักษณ์ราชการของอเมริกา แล้วก็ลองเสิชย้อนกลับไป

การเอาเอกสารเมืองนอกของรัฐที่ได้รับการยกเว้นลิขสิทธิ์ไปใช้เพื่อการศึกษานำไปดัดแปลงและมีบางส่วนเอาไปทำงานและมีที่มาแบบย้อนกลับได้ทำให้ปลอดภัยจากกฎหมายลิขสิทธิ์เมืองไทย แม้แต่ในเจ้าของเอกสารในอเมริกาที่อิงมาจากหน่วยงานรัฐยังบอกชัดเจนว่าเพื่อการศึกษาแล้วสามารถทำได้แต่ถ้าทำเพื่อขายเช่นเอาไปแต่งหนังสือขาย เขา(เจ้าของเอกสารหน่วยงานนั้นๆ)ก็บอกว่าให้ขออนุญาตก่อน

วีดีโอที่นำไปใช้ได้

วีดีโอที่มีคำว่า สัญญาอนุญาตชนิด ครีเอทีฟคอมมอนส์ Creative Commons หาดูได้ในยูทูป (youtube.com filter ตรง ครีเอทีฟคอมมอน แล้วหา) เอามาเอ็มเบ็ดได้โดยเป็นการใช้ได้ฟรีแบบมีเงื่อนไข เช่นต้องระบุแหล่งที่มาเป็นต้น  เช่นหาวีดีโอbatteryในยูทูปที่เอาไปเอ็มเบ็ดได้

 

รูปฟรีไม่มีลิขสิทธิ์ เกิดจากที่ลิขสิทธิ์ไม่คุ้มครอง หรือหมดความคุ้มครองแล้ว หรือเจ้าของลิขสิทธิ์สละให้ใช้ได้ 

no known copyright restrictions

เช่น รูปธนบัตรที่หมดอายุ เกินกว่า 50 ปี เช่น รูปแบงค์ร้อยสมัยปี1955 ที่มีรูปพระบรมฉายาลักษณ์ของพระเจ้าอยู่หัว

เช่น รูป หรือ แผนที่ ที่มีอายุมากกว่า50ปีหลังจากที่เจ้าของลิขสิทธิ์ตาย อันนี้เป็นค่าประมาณที่มากที่สุดที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ระยะเวลาเอาไว้

 

รูป วีดีโอ เอกสาร โปรแกรมฟรี มีอยู่ให้ใช้
หาอ่านเรื่อง Creative Commons wiki ภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ

สรุปใจความสั้นๆว่า Creative Commons เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร

เสนอทางเลือกให้เราสามารถเลือกใช้  ภาพ เสียง ข้อมูล นำไปประกอบงานต่างๆได้โดยเสรีมากกว่า-ข้อจำกัดในกฎหมายลิขสิทธิ์ (ตามที่ผู้สร้างสรรค์งานอนุญาตให้ใช้ได้ถึงขั้นไหน)

และ เสนอให้ผู้ที่สร้างสรรค์งาน สามารถกำหนดลิขสิทธิ์ ที่ให้ผู้อื่นนำไปใช้งานได้อย่างเสรีแบบบมีเงื่อนไขหนึ่งข้อ หรือ เงื่อนไขหลายข้อ เงื่อนไขที่สำคัญที่ต้องมีคือการให้เครดิตหรือบอกที่มาที่ไปของงานที่จะคัดลอกไปใช้ และเงื่อนไขอื่นๆที่กล่าวถึง

Creative Commons license สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (CC license)

เมื่อเราสร้างสรรค์ผลงานเราอยากให้คนอื่นมาแชร์ มาใช้ หรือเอาไปดัดแปลงแก้ไขได้ โดยผู้เอาไปใช้จะเข้าใจว่าไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์อย่างแน่นอนคือสบายใจได้ถ้าเอาไปใช้ เราต้องกำหนดงาน เช่น ภาพ เสียง ข้อมูล ให้มีสัญญาอนุญาตชนิดครีเอทีฟคอมมอนส์ พิมพ์สั้นๆว่า CC license ขี่ทับอยู่หรือให้สัญญาด้วยตนเองเพิ่มเติมไปจากกฎหมายลิขสิทธิ์(Copyright law ซึ่งให้สิทธิ์อัตโนมัติเมื่อผู้สร้างสรรค์ผลงานสร้างขึ้นโดยเงื่อนไขปรกติ) การกำหนดงานดังกล่าวให้เป็น CC license ถ้าอย่างง่ายสุดจะทำอยู่บนเว็บไซด์ที่ให้อัพโหลดเก็บไฟล์ต่างๆ โดยใช้เครื่องมือของเซิฟเวอร์ฝากไฟล์หรือวีดีโอนั้นเอง หรือเราจะกำหนดเองก็ได้บนเว็บบล็อกหรือเว็บบอร์ดโดยการเพิ่มแท็กในรูปหรือเสียงว่าเป็นชนิด CC หรือเขียนอนุญาตเอาไว้ หรือแปะสัญลักษณ์เอาไว้

ข้อกำหนดหรือรูปแบบเงื่อนไข ใน CC license

 

ไอค่อน สิทธิ ความหมาย
 Cc-by_new.svg

 Attribution

(BY)

 Licensees may copy, distribute, display and perform the work and make derivative works based on it only if they give the author or licensor the credits in the manner specified by these.  (CC SA by wiki Creative_Commons_license)(แปลไทยประมาณว่า ผู้ได้รับอนุญาต จะสามารถคัดลอก แจกจ่าย แสดง เอาไปใช้งานและ นำไปใช้อยู่ในบางส่วนของงาน(ดัดแปลง) ถ้าเพียงผู้เอาไปใช้จะได้รับอนุญาตก็ต่อเมื่อ ผู้ใช้ได้ระบุที่มาที่ไปของผู้สร้างสรรค์ผลงานเดิม(ให้เครดิต) อาจระบุส่วนที่เอาไปดัดแปลงด้วยก็ได้  (ชื่อ และ ลิงค์ ของต้นฉบับ เป็นต้น)
 Cc-sa.svg

 Share-alike

(SA)

 Licensees may distribute derivative works only under a license identical to the license that governs the original work. (See alsocopyleft.) (CC SA by wiki Creative_Commons_license)แปลไทย ประมาณว่า ผู้ได้รับอนุญาต สามารถแจกจ่ายโดยดัดแปลงเอาไปใช้อยู่ในส่วนของงานได้ก็ต่อเมื่องานนั้นจะต้องมีการอนุญาตเหมือนๆกับงานต้นฉบับก่อนการดัดแปลง (เช่นผมก๊อปปี้ ข้อความด้านบนจาก wiki ซึ่งมี ลักษณะของ SA จึงทำให้บทความนี้ของผม เป็นแบบ SA ด้วย จึงจะสามารถนำไปใช้ได้ แต่ถ้าบทความนี้ผมเอาไปอ้างว่าผมแต่งเองทั้งหมด โดยเป็นแบบ all right reversed ผมจะเอาข้อความของ wiki ไปใช้ไม่ได้)
 Cc-nc.svg  Non-commercial (NC)  Licensees may copy, distribute, display, and perform the work and make derivative works based on it only for noncommercial purposes. (CC SA by wiki Creative_Commons_license)แปลไทยประมาณว่า เอาไปก๊อป ดัดแปลงใช้ โดยไม่มีจุดประสงค์หาเงิน
 Cc-nd.svg  No Derivative Works (ND)  Licensees may copy, distribute, display and perform only verbatim copies of the work, not derivative works based on it. (CC SA by wiki Creative_Commons_license)แปลเป็นไทยได้ประมาณว่า ก็อป แจก แสดง เอาไปทำงานได้ แต่ห้ามด้ดแปลงเอาไปอยู่ในบางส่วนของงาน (มาแบบไหน ก็ต้องเป็นแบบเดิม ห้ามตัดเสริมเติมแต่ง บางที่บอกว่าอนุญาตเอาบางส่วนไปแสดงหรือ ตัดบางส่วนไปแสดง แต่ผมว่าไม่น่าจะใช่ เครื่องหมายเท่ากับก็ประมาณว่าเท่ากับแบบเดิม)

 

 

เอา 4 ไอค่อนด้านบนมาทำเป็น ไอค่อนด้านล่าง ได้อีก 6 ชนิด

CC-BY icon  บอกให้คนอื่นรู้ถึงสิทธิ์การอนุญาตเอาไปใช้ได้  CC by นายเอ CC โดย นายเอ หรือ CC licience โดย นายเอ  ใต้ภาพหรืองาน หรือแสดงไว้ต่างหาก  ผู้ก๊อปปี้เอาไปใช้สามารถเอาไปใช้หารายได้ได้ แต่เราสามารถอ้างสิทธิ์เดิมแล้วขอส่วนแบ่งได้ คือเราไม่ได้สละสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ เราให้เอาไปใช้ได้ ถ้าหาเงินได้ก็ควรต้องแบ่งกับเราบ้างตามสมควร เท่าที่อ่านๆมามันประมาณนี้นะ

 

CC-by-NC icon ส่วนอันนี้คือไม่อยากให้เขาเอาไปใช้ทำการค้าหาเงิน ก็จำกัดไม่ให้หาเงิน แต่ถ้าติดต่อกันส่วนตัวอยากจะขออนุญาตเอาไปใช้หาเงิน ผู้ให้สิทธิ์ก็ยังเป็นเราเหมือนเดิม คือไม่อยากให้มันเอาไปใช้หาเงินซี้ซั้วโดยที่ไม่ได้กำหนดสัญญาเป็นแบบนี้ก็ได้ อีกแบบคือผู้ให้สิทธิไม่อยากให้เอาไปทำการค้าจริงๆอยากเก็บไว้เป็นทีระลึกเป็นต้น

CC-BY-SA icon

CC-BY-ND icon

CC-BY-NC-SA icon

CC-BY-NC-ND icon

กก

สำหรับเงื่อนไขอื่นๆ ได้แก่ CC0 หรือ “ไม่สงวนลิขสิทธิ์” (No Rights Reserved)[5]สำหรับซอฟต์แวร์ ครีเอทีฟคอมมอนส์ใช้สัญญาอนุญาตเสรี 3 ชนิดที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยสถาบันอื่น ได้แก่ BSD License, CC GNU LGPL license, และ CC GNU GPL.

 

กก

 6,550 total views

พื้นฐานไฟฟ้าในบ้าน ตอนที่3 -1 เรียนจากป้ายไฟฟ้าเครื่องใช้ไฟฟ้า -electrical name plate (กำลังเขียน)

(กำลังเขียน)

ในเรื่องนี้เราจะเรียนเชิงค้นคว้าในเรื่องไฟฟ้า เครื่องกล พลังงาน หรืออะไรก็ได้ จากการอ่านได้ป้ายระบุไฟฟ้า(electrical name plate)หรือป้ายที่บอกถึงคุณลักษณะของผลิตภัณท์ ซึ่งจริงๆแล้วผมก็ได้ความรู้จากป้ายเหล่านี้แล้วก็ค้นคว้าจากกูเกิ้ลทำให้ได้ความรู้ความคิดอย่างกว้างขวางมากครับ

ในบทความนี้จะมีความเยิ่นเย้อ วกวนอย่างมาก เพราะป้ายระบุผลิตภัณท์อะไรก็ตามเราสามารถนำมาวิเคราะห์และแตกแขนงออกไปซึ่งมีจำนวนมากมาย แล้วจับภาพรวมมาชนกัน จะมีทั้งพื้นฐานไฟฟ้าในบ้าน เลยไปจนถึงพื้นฐานของวิชาหลายแขนง ซึ่งอาจนอกเหนือไปจนถึงไฟฟ้าโรงงานและการคำนวน เท่าที่ผู้เขียนจะสามารถหาความรู้มาบรรยายได้ การเรียนรู้เชิงค้นคว้านี้ทำให้ผู้ที่สนใจใฝ่รู้ รู้จักคุย คิด แล้วคลิ๊กไอเดีย จากนั้นก็ลงมือคลำและทำให้มีข้อผิดพลาดที่น้อยลงความสำเร็จในการทำจะมากขึ้น

จริงๆในใจผมก็แค่อย่างน้อยก็ขอให้ท่านผู้สนใจอ่านป้ายระบุผลิตภัณท์ไฟฟ้าเป็น รู้ว่ากินไฟกี่วัตต์ ใช้ไฟกี่โวลท์กี่แอมป์ หรือแยกแยะได้พอสมควร เท่านี้ก็พอใจแล้วครับ ส่วนตรงไหนยากๆแปลกๆไม่เข้าใจมีคำนวนด้วย ก็ให้อ่านข้ามๆไป ถ้าวันหน้าจะใช้งานก็พอให้มีค้นคว้าได้

เนื้อหาในเรื่องคงจะมีเรื่องเหล่านี้ ป้ายไฟฟ้าเหล่านี้

1 หลอดฟลูออเรสเซนต์ หลอดไฟฟ้า สวิทช์ ปลั๊ก เต้ารับ

2 เบรกเกอร์ รีเลย์ แม็กเนติก โอเวอร์โหลด

3 หม้อแปลง

4 ฮีตเตอร์ ปืนเป่าความร้อน เครื่องทำน้ำอุ่น กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า

5 แอร์ ชิลเลอร์ เครื่องทำน้ำเย็น ตู้เย็น

6 มอเตอร์

7 ปั๊มน้ำ

 

พื้นเรียนไฟฟ้า จากป้ายเครื่องใช้ไฟฟ้า

ขอเริ่มจากแอร์ก่อนนะ.

5 แอร์ ชิลเลอร์ เครื่องทำน้ำเย็น ตู้เย็น

 

สิ่งที่เราสนใจในเรื่องอุปกรณ์ทำความเย็นทั้งหลาย เช่นแอร์นั้น คือมันใช้ระบบไฟฟ้าหรือโวลท์กี่โวลท์ ใช้ไฟกี่สาย ใช้ไฟกี่แอมป์ ใช้เบรกเกอร์กี่แอมป์ดี ลากสายไฟใหญ่แค่ไหน กินไฟกี่วัตต์กี่บาท และสิ่งสำคัญคือมันทำความเย็นได้กี่มากน้อยเท่าไหร่และต่างกับแอร์อีกเครื่องที่ทำความเย็นได้มากกว่าอย่างไรและอันไหนจะประหยัดไฟมากกว่ากัน

   5.1 แอร์ -Air conditioner 

   แอร์ของจำเป็น?

เอาละครับ เรามาลองสนใจป้ายระบุแอร์กันดู ว่ามันมีอะไรน่าสนใจบ้าง  ป้ายระบุไฟฟ้านี้เป็นป้ายเครื่องปรับอากาศยี่ห้อ SAIJO DENKI  รุ่น SHW-13UB  ขนาดการทำความเย็น หรือ cooling capacity =13,140 Btu/h (3,850w)  (ในป้ายผมว่ามันแปลผิดนะว่าเป็นประสิทธิภาพแต่ผมว่าไม่ใช่แน่นอน)  ขนาดแอร์ประมาณ 1ตันนิดๆ(1ton=12,000Btu/h)  ดูเหมือนเรื่องขนาดการทำความเย็นจะเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจเพิ่มสักนิดซึ่งผมจะอธิบายอย่างละเอียดในภายหลัง แต่นิยามในเรื่องตันหรือบีทียูของแอร์นี้ มันเป็น Btu(พลังงานในหน่วยอังกิด) ต่อ h (ชั่วโมง) จะได้ไม่สับสน บีทียู/ชั่วโมง ในที่นี้คือแอร์ดูดพลังงานความร้อนออกไปได้เท่าไหร่ใน1ชั่วโมง คือได้ 13140 บีทียู ฉะนั้นคุยกันคนละความหมายแต่ใช้ให้ถูกกาลก็จะเข้าใจว่าทุกครั้งที่คุยกันเรื่องแอร์ว่ากี่บีทียู จะหมายถึง บีทียูต่อชั่วโมง บีทียูยิ่งมากก็ทำความเย็นได้ดีกว่าอีกเครื่อง

nameplate_saijo_denki_SHW-13UB

ส่วนเรื่องสารทำความเย็นคือ R22 ซึ่งเป็นสารเคมี ที่ชื่อว่า Chlorodifluoromethane   ซึ่งทำลายชั้นโอโซนถ้ามันหลุดรั่วออกไปแต่น้อยกว่า CFC11,CFC12 ซึ่งมีอะตอมของคลอรีนในโมเลกุลมากกว่า(3, 2อะตอม)และทำลายชั้นโอโซนมากกว่า ซึ่งสารทำความเย็น R22 เป็นเคมีทำความเย็นรุ่นเก่านี้ซึ่งจะค่อยๆเลิกใช้ไปในอีก 20กว่าปีข้างหน้า ปัจจุบันมีสารทำความเย็นอีกตัวที่เริ่มเข้ามาไม่กี่ปีนี้เองคือ R410A ซึ่ง เอาไปเติมแทนกันไม่ได้ ดูเหมือนจะดีกว่าในเรื่องโอโซน ความดันที่ใช้ในระบบก็สูงกว่า และราคาก็สูงกว่าด้วย สรุปเครื่องนี้ตามป้ายอีก 20 ปีก็ไม่มีให้เติมแล้วเนอะ R22

ส่วน ระบบไฟฟ้า 220 V  1 ph 50hz   แสดงว่าใช้ไฟกับบ้านเราได้(เมืองนอกบางประเทศเขาใช้ไฟฟ้า100V)  1 ph คือใช้ระบบสองสายไฟ หรือใช้สายไฟสองสาย มีสาย ไลน์ กับ นิวตรอลต่อผ่านเบรกเกอร์ แล้วเข้าไปที่แอร์  ใช้กระแสไฟ=5.51 แอมป์  กินไฟ1,213 วัตต์ ขนาดการกินไฟพอๆกับเตารีด อย่างนี้น่าจะเสียบปลั๊กใช้งานได้เลยนิ? แอร์เสียบปลั๊กก็ได้หรือนี่?

ผมรู้สึกว่าในป้ายบอกว่าใช้กระแส 5.5 สำหรับแอร์ 1213 วัตต์ มันแหม่งๆอยู่ไม่น่าจะใช้นะครับน่าจะมากกว่า5.5A

เรื่องโวลท์ หรือแรงดันที่ใช้งาน หลายคงพอเข้าใจแล้วว่า ประเทศไทยใช้แรงดันไฟฟ้า 220-240 โวลท์ กระแสสลับ ชนิด 50 hz (เฮิทซ์)  ส่วนประเทศอื่นๆเช่น ประเทศญี่ปุ่น ใช้แรงดันไฟฟ้าที่ 100-110v 50/60 hz   เอาล่ะครับเราไม่ได้อยู่ญี่ปุ่นไม่มีปัญหา  ส่วนแรงดันใช้งานในบ้านจริงๆจะวัดได้ประมาณ 230V แล้วแต่บ้านนะครับ ส่วนกระแสที่ใช้งานอยู่ที่ 5.5 A  กำลังวัตต์หรือการกินไฟอยู่ที่ 1,213 วัตต์ เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้วเกิดความน่าสงสัยเป็นอย่างมากว่ากระแสที่ใช้งานน่าจะมากกว่า 5.5A เพราะอัตราการกินไฟอยู่ที่ 1,213 วัตต์ แอร์หรือเครื่องปรับอากาศเป็นโหลดมอเตอร์ซะ95เปอร์เซนต์ แต่ถ้าคิดว่าเป็นโหลดฮีตเตอร์ กระแสที่ใช้จะเป็น (หาอ่านเรื่องโหลดมอเตอร์ โหลดฮีตเตอร์กับการกินไฟได้ที่นี่)

ฮีตเตอร์ขนาด 1,213w   จากP=IV  =1,213 =I*220

I= 1213/220 =5.51A

แต่อันนี้เป็นแอร์โหลดเป็นมอเตอร์หรือโหลดL กระแสควรจะมากกว่า 5.5A ควรจะเป็น 6-7A ด้วยซ้ำไป เนื่องจากพวกมอเตอร์กินกระแสสูงกว่าฮีตเตอร์เพราะพวกมันต้องการกระแสไฟฟ้าไปสร้างสนามแม่เหล็ก(มอเตอร์ชนิดเหนี่ยวนำ ไม่ใช่มอเตอร์DC) แต่การกินไฟจะมากหรือน้อยขึ้นกับโหลดที่มอเตอร์รับ(แต่จะน้อยกว่าเอากระแสคูณโวล์ทแน่นอนครับ) แต่ป้ายฉลากนี้บอกว่า 1,213 วัตต์ ค่าวัตต์นี้ก็คงพอเชื่อถือได้ มากกว่าค่าแอมป์  เนื่องจากไปลองค้นดูแอร์เจ้าอื่นที่ไม่ใช่อินเวอตเตอร์ในโบรชัวร์ ก็บวกค่านี้อย่างน้อย 0.3-0.5 A ทั้งนั้นขึ้นกับขนาดแอร์ ส่วนแอร์อินเวอตเตอร์หลังๆมอเตอร์จะเป็นแบบดีซีกำลังขับดีกินกระแสเยอะแต่วัตต์ไม่สูง กระแสกระฉูดเลยรุ่นใหม่ๆตัวไม่ถึงตันแต่กินกระแสmaxที่ 10 A 

 

คิดถึงสายไฟแอร์ และ เบรกเกอร์แอร์ นอกเรื่องไปปลั๊ก


ส่วนใหญ่แอร์หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่เป็นพวกมอเตอร์จะต่อเอามาใช้งานที่บ้านนั้น จะต่อผ่านเบรกเกอร์ โดยให้ใช้เบรกเกอร์มีขนาด 2-2.5 เท่าของกระแสไฟฟ้าที่ใช้งาน ฉะนั้นแอร์ที่กินไฟ1,213 วัตต์นี้ กินกระแสประมาณ7Amax ควรใช้เบรกเกอร์ควรใช้อย่างน้อย 10A หรือจะเลือกใช้เป็นเบรกเกอร์16A ก็ได้ราคาก็เท่าๆกัน(ถ้าเบรกเกอร์จะตัดก็คงมีประมาณช็อตแบบลัดวงจรหรือคอมเพรสเซอร์ไหม้มันก็จะตัดเหมือนๆกันไม่มีอะไรแตกต่าง) อะไรคือข้อแตกต่าง ข้อแตกต่างคือสายไฟครับ  ขนาดสายไฟถ้าคุณเลือกใช้
ตัวอย่างแอร์ ประมาณ 1 ตัน ตัวนี้กินไฟ 1213 วัตต์ ราวๆ 7แอมป์ ที่220V 1เฟส
ถ้าใช้สายไฟ1.5 sqmm (ทนกระแสได้ประมาณ 14A ) ควรใช้กับเบรกเกอร์10A เท่านั้น ซึ่งขัดกับวิธีการเลือกเบรกเกอร์กับมอเตอร์ ควรใช้เบรกเกอร์อย่างน้อย 14A ซึ่งจะเลือกใช้ 10A มันก็พอใช้ได้เพราะแอร์เครื่องเล็กปัจจุบันกระแสกระชากจะไม่สูงเหมือนแต่ก่อนคงมีรีรีสวาล์วไม่ให้ความดันตกค้างอยู่ในคอมเพรสเซอร์ก่อนสตาร์ท ไม่งั้นตอนสตาร์ทก็มีเหมือนไฟกระพริบ

แต่ที่ผมจะแนะนำเป็น ควรใช้สายไฟขนาด2.5 sqmm เพราะสายไฟมันทนกระแสได้18A    กับ เบรกเกอร์16A เท่านั้น น่าจะเหมาะและไม่ขัดกับหลักการเลือกเบรกกอร์ ส่วนพวกแอร์อินเวอเตอร์ระบบใหม่ๆจะกินกระแสสูงกว่าแอร์ระบบธรรมดาอยู่เยอะเหมือนกัน(1.5-1.8 เท่า)การเลือกสายไฟต้องดูที่สเป็กป้ายหรือโบรชัร์การกินไฟmax หรือการกินกระแสไฟที่มากที่สุดแล้วเลือกจึงเลือกใช้เบรกเกอร์ให้ถูกต้องตามครับ การเลือกสายและขนาดของเบรกเกอร์ให้เหมาะกับแอร์ขนาดต่างๆหาอ่านได้ที่นี่

สายไฟทนกระแสได้
ตารางบอกขนาดสายไฟ(mm2) หรือตารางมิลลิเมตร และกระแสไฟที่ทนได้ ที่อุณหภูมิภายนอก 40 C โดยมีชนิดฉนวนที่ทนดอุณหภูมิได้ 70 C

แต่ถ้าจะใช้เสียบปลั๊กกับแอร์ก็ต้องใช้ปลั๊กไฟที่ได้มาตรฐานมียี่ห้อปลั๊กสวมแล้วต้องแน่นถึงแน่นมาก กระแสไฟเพียง5.5A-7A ก็เสียบปลั๊กใช้งานได้อย่างสบายแต่ส่วนใหญ่จะใช้งานเพียงชั่วคราวครับเพราะถ้าปลั๊กหลวม คอมเพรสเซอร์ของคุณอาจจะไหม้พังได้ง่ายๆนะครับ แต่ปลั๊กตัวผู้ยี่ห้อดีๆหาในเมืองไทยไม่ค่อยได้ สมัยก่อนมียี่ห้อเนชั่นแนลปลั๊กยางทนได้10Aเข้าใจว่าน่าจะเป็นของที่ไม่ได้มาตรฐานการใช้งานในประเทศไทยในปัจจุบันเดี๋ยวนี้ไม่มีขายแล้ว มีอีกแบบที่เป็นพลาสติกแข็งๆแบบสองขาแบนยี่ห้อวีน่าอันละ10 บาทได้ พวกนี้ไม่เหมาะที่จะใช้กับมอเตอร์ที่มีขนาด 1kw ขึ้นไปถ้าหลวมปลั๊กก็ละลายหรือไหม้ก็เห็นมาเยอะ มีอีกยี่ห้อที่น่าจะใช้ได้พอหาได้คือยี่ห้อ Eagle ของอเมริกา ที่มีขายส่วนใหญ่จะเป็นหน้าตาแบบข่างล่าง 125V(ซึ่งหลายคนเข้าใจว่าใฃ้กับ220Vได้ ไม่ได้ผ่าน มอก.) ทนกระแสได้15A ราคาตัวละ90บาทขึ้นไป

ปลั๊กตัวผู้ที่มีคุณภาพดีที่นิยมใช้กันในหมู่พวกที่ต้องการสร้างปลั๊กไฟที่มีคุณภาพใช้งานเอง ทนแรงดันได้125V(เอามาใช้ในเมืองไทยที่แรงดัน220V) ทนกระแสได้ 15A

ภาพที่อยากจะได้ประมาณ http://www.homelectrical.com/sites/default/files/imagecache/product-full-image/images/cwd/CWD-2867.jpg
จริงๆผมมีปลั๊กอยู่แต่ขี้เกียจถ่ายเองจัง ต้องแก้ไข

เป็นที่น่าสังเกตคือ ปลั๊กตัวผู้ panasonic ไม่เห็นเคยทำออกมาขายเลย ไม่เข้าใจเหมือนกันหรืออาจเป็นเพราะมาตรฐาน มอก. ทำให้ผู้ผลิตใหญ่ๆไม่สามารถผลิตปลั๊กตัวผู้แบบที่ผู้ใช้ที่บ้านประกอบเองได้แบบฝรั่ง เพราะมีข้อกำหนดมากมาย อิงมาตรฐานของเมืองนอกดังๆแต่ไม่มีมาตรฐานแบบปลั๊กแบบประกอบเอง ผู้ใช้งานเลยประกอบปลั๊กเต้ารับยาวๆกว่า10เมตร ด้วยปลั๊กตัวผู้อันละ10-20บาทโดยไม่ได้ผ่านมาตรฐานอะไรเลย และเท่าที่ใข้งานมันก็ละลายมาเยอะแล้วครับโดยเฉพาะพวกเมืองจีนที่ทำหน้าตาเหมือนของอีเกิ้ลและขายตัวละ25บาทก็เคยลองใช้ดูแล้วในโรงงานเตะสายไปมาปลั๊กเริ่มหลวมจะหลุดออกจากเต้ารับสุดท้ายก็ละลายไหม้  ไปดูปลั๊กตัวผู้ที่ไม่ผ่าน มอก.ในประเทศ แต่บางตัวมีมาตรฐานนอก  Nema5-15P แรงดันใช้งานmax 125V

มอก.ปลั๊กตัวผู้ตอนนี้มีแต่แบบหล่อสำเร็จประกอบเองไม่มีขายครับ ปลั๊กดีๆอะไรก็สามารถหลวมหลุดและไหม้ได้ครับ อาจเป็นเพราะเต้ารับไม่ดีเสียบแล้วหลวม หรือการใช้งานเช่นพรรคพวกเดินสะดุดสายเตะไปมาไม่กี่วันก็ไหม้ละลายเหมือนกัน

ภาพปลั๊กตัวผู้ที่ได้ มอก.166-2549 ปัจจุบัน หาดูได้จากหม้อหุงข้าวญี่ปุ่นรุ่นใหม่ๆจะเป็นแนวๆนี้ครับ ภาพจาก pantip http://pantip.com/topic/30609673

ไม่แน่ใจว่าภาพนี้ว่าต้องแก้ไขในเรื่องลิขสิทธิ์หรือเปล่า

ส่วนเต้ารับที่นิยมก็คือพานาอย่างที่เคยกล่าวไปแล้วในบทก่อนๆ อย่างไรก็ตามมีปลั๊กที่เหมาะกับการใช้งานและไม่ไหม้แน่เรียกว่าปลั๊กพาวเวอร์ (power plug ip44) ดังรูปข้างล่างซึ่งรูปแบบปลั๊กนี้นิยมใช้ในงานสนามที่ต้องการความปลอดภัยสูงกว่านิยมใช้ในโรงงานหรือเครื่องมือที่ใช้งานกระแสสูง

ปลั๊กพาวเวอร์ 220V-สีปลั๊กคือน้ำเงิน มีขนาด 16A และ 32A ถ้าใช้กับไฟสามเฟสตัวปลั๊กจะสีแดงๆ

 
อยากได้รูปภาพประมาณ http://76.my/Malaysia/5-meter-32amp-commando-plug-socket-extension-wingsoft-1301-13-wingsoft@14.jpg

แอร์ที่บ้านกินไฟกี่วัตต์กี่บาท? 

การกินไฟนั้นบ่งบอกไปถึงค่าไฟ กี่วัตต์ให้ดูจากป้ายเท่านนั้น ส่วนกี่บาทนั้น อย่างแรกที่คุณควรรู้คือ ค่าไฟที่บ้านคุณหน่วยละกี่บาท? ถ้าที่บ้านคุณเสียค่าไฟหน่วยละ 4.5 บาท บ้านผมราคานี้อ่ะครับปี56  (ถ้าคำนวนค่าไฟจากบิลค่าไฟฟ้าไม่เป็นให้ไปอ่านที่นี่เรื่องมิเตอร์ไฟฟ้า)  ซึ่งแต่ละบ้านค่าไฟต่อหน่วยจะไม่เท่ากันขึ้นกับการใช้ไฟมากหรือน้อย ยิ่งใช้ไฟฟ้าน้อยค่าไฟต่อหน่วยจะถูกลง ยิ่งใช้ไฟมากค่าไฟต่อหน่วยจะเข้าใกล้ค่าคงทีค่านึง (ค่าไฟฐาน3.96บาท/หน่วย+ft+vat7%)

บิลค่าไฟบ้านกระผมเดือน พฤษภาคม ปี56 ,57 ,58   ยกตัวอย่างให้พอเข้าใจ

ค่าไฟปี2556  4.46 บาท/หน่วย 

(ค่าไฟหน่วยละ 4.46 บาท ได้จากเอา 3,498.41 บาท/783 หน่วย)

(บิล=3,498.41บาท , 783หน่วย  วันที่จด 6/6/56)

bill_domestic_electrical_usage

ค่าไฟปี2557  4.78 บาท/หน่วย

(บิล=5,420.82บาท , 1,134หน่วย  วันที่จด 6/6/57)

electrical_bill2.1.2_MAY2557

ค่าไฟปี2558  4.60 บาท/หน่วย

(บิล=6,342.71บาท , 1,378หน่วย  วันที่จด 6/6/58)

electrical_bill2.1.2_MAY2558

ดูเหมือนค่าไฟต่อหน่วยปี 2558 จะถูกลง เป็นเพราะค่า FT ลดลงจากปีก่อน 0.69 เป็น 0.49 บาท/หน่วย ดูให้ดีน่าจะเป็นผลจากน้ำมันราคาลดลงในช่วงนี้

วันที่จดคือวันที่6เดือน6 มันก็คือค่าไฟของเดือน5 ซึ่งเป็นเดือนที่ค่าไฟสูงที่สุดในรอบปีทุกปี เพราะมันร้อนที่สุด ส่วนค่าไปบ้านใครทะลุ400หน่วยไปเยอะแล้ว ค่าไปเฉลี่ยก็ใกล้เคียงกันมีสูงต่ำกว่ากันนิดหน่อยดูยาก ส่วนใหญ่ค่าไฟที่บ้านจะหนักค่าแอร์ประมาณ80เปอร์เซนต์ รองลงมาคือทีวีและคอมพิวเตอร์ ตามด้วยตู้เย็นพัดลมเตารีดและไฟส่องสว่าง ส่วนที่เหลือคือหม้อหุงข้าวไมโครเวฟ

 

ลองคำนวนค่าไฟจากแอร์กัน ชม.ละกี่บาท

ลองคำนวนว่าแอร์ที่บ้านกินไฟชม.ละกี่บาท ถ้าแอร์ไม่ตัด     ถ้าเปิดแอร์ขนาด 13,140 Btu/hr  ที่กินไฟหรือใช้กำลังไฟฟ้า 1,213 วัตต์ นาน 1ชั่วโมง จะกินไฟกี่บาท ถ้าค่าไฟหน่วยละ 4.5 บาท

ค่าไฟต่อชั่วโมง

       = ค่าไฟต่อหน่วย(บาท/กิโลวัตต์-ชม.)    x   กำลังไฟฟ้า(กิโลวัตต์)

= 4.5 (บาท/กิโลวัตต์-ชม.)    x   1,213/1000(กิโลวัตต์)

=5.46  บาท/ชม.

ค่าไฟ แอร์ 13140 Btu/hr saijo กินไฟ 

ชั่วโมงละ 5.46 บาท

สมมติว่าคืนนี้อากาศร้อนเดือนพฤษภาคมเปิดแอร์ชิวๆ ตั้งไว้ที่25องศาC  นาน 12 ชม.  กินไฟ= 65.52 บาท   โดยที่แอร์ไม่ถึง 25องศาc สักที   และจะกินไฟ 131 บาท ต่อ 24 ชม.ในหน้าร้อน  ถ้าแอร์มีขนาดทำความเย็นค่อนข้างมากอุณหภูมิจะลดลงถึง 25 ครับ แต่ห้องผมมันขนาด 22 ตรม. แต่ดันใช้แอร์ตันเดียว แถมมีกำแพงด้านนึงโดนแดด 5 ชม. อีกต่างหาก เปิดทั้งวันทั้งคืนก็ไม่มีทางถึง 24 องศาครับ เพราะอากาศด้านนอกห้องที่ไม่โดนแดดอุณหภูมิราวๆ34-35 องศา

แต่ถ้าไปเปิดในหน้าหนาว แอร์เด๋วทำงานเด๋วตัด ก็ลองดูอัตราส่วนของแอร์ที่ตัดกับแอร์ที่ทำงาน ถ้าตัดกับทำงานอยู่ที่ 50-50 ก็เสียเงินเพียงครึ่งเดียวเป็นต้น สามารถคำนวนดูได้หมดแแหละครับ

ที่บ้านคุณล่ะ เปิดแอร์ ชั่วโมงละกี่บาท?

 

 EER และ COP   ประสิทธิภาพของแอร์ 

ในป้าย Saijo  SHW-13UB   มีความสามารถทำความเย็นได้ 13,140 Btu/h(3,850w)   กินไฟ 1,213W  ระบุบนฉลากว่า ประสิทธิภาพของแอร์ตัวนี้ หรือERR =10.81/3.17   EERมันคือค่าอะไรและมาจากไหน?

มันมีค่าที่น่าสนใจในตารางคือค่า EER (Energy Efficiency Ratio) แปลตรงๆคือ อัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงาน หรือค่าประสิทธิภาพในการทำความเย็น(บีทียู/ชม.)ได้ต่อกำลังงาน(วัตต์)ที่ให้เข้าไป

และอาจจะระบุถึง COP (Coefficient of performance) หรือค่าประสิทธิภาพของแอร์ซึ่งบอกถึงประสิทธิภาพการทำความเย็น(วัตต์)ได้ต่อกำลังงาน(วัตต์)ที่ให้

 

ซึ่งถ้ามีความรู้เรื่องหน่วย ถ้าแปลงหน่วยจาก Btu/hr เป็น Watt ได้ EERกับCOPมันก็คือค่าๆเดียวกัน แต่ดันไปพูดกันคนละหน่วยทำให้คนทั่วๆไปงงเล่น (คุยเรื่องแอร์ก็คุยเรื่องบีทียูเพราะฝารั่งเป็นคนคิด) เพราะ บีทียู/ชม. ก็แปลงเป็นวัตต์ได้อยู่แล้วเอาเป็นว่าแปลง่ายคือ EER และ COP ก็คือประสิทธิภาพของแอร์ในการทำเย็นต่อกำลังไฟฟ้าที่ให้  ถ้ามีค่าสูงแสดงว่าอะไรครับ?

 

ในป้าย Saijo  SHW-13UB รุ่นเล็ก   มีความสามารถทำความเย็นได้ 13,140 Btu/h(3,850w)   กินไฟ 1,213W  ระบุบนฉลากว่า ประสิทธิภาพของแอร์ตัวนี้ หรือERR =10.81/3.17   EERมันคือค่าอะไรและมาจากไหน?

nameplate_saijo_denki_SHW-13UB

ถ้าเราลองเอาปริมาณทำความเย็นได้ของแอร์เครื่องนั้น หารด้วย การกินไฟ หรือกำลังไฟฟ้าที่มันต้องใช้ในการทำเย็น ก็จะได้ประสิทธิภาพ(EER)ของแอร์ (ถ้าเอาปริมาณการทำความเย็นเป็นหน่วยวัตต์ หารด้วยการกินไฟ ก็จะได้ค่าCOP ตัวหลังเครื่องหมาย/)

ประสิทธิภาพของแอร์ไซโจ รุ่น 13,140 บีทียู หาได้จาก

           EER            =13,140/1,213  =10.832    (Btu/h)/w

       หรือCOP         = 3,850/1,213 = 3.1739       w/w

    ซึ่งได้ค่าตรงกับฉลากแอร์ EER = 10.81/3.17

ฉะนั้น EER ของแอร์จึงบอกถึงประสิทธิภาพการทำความเย็นของเครื่องนั้นๆว่าประหยัดไฟกว่าแอร์อีกเครื่องหรือไม่ เมื่อให้กำลังงานไฟฟ้าเท่ากัน

และแอร์ Saijo Denki รุ่นใหญ่  SHW-18up ขนาดทำความเย็น 1,8950 Btu/h  (หรือทำความเย็นได้ 5,590W)    ระบบไฟ 220V 1ph  50hz  กระแส=7.9A  กินไฟ 1,668w

EER /COP =  11.36/3.33  <<คราวนี้ป้ายระบุชัดเจน ว่าEER และ COP

nameplate_saijo_denki_SHW-18UB
ป้ายระบุไฟฟ้าแอร์ไซโจSHW-18UB ประมาณ 1คันครึ่ง

ประสิทธิภาพของแอร์ไซโจรุ่นนี้ 18,950 บีทียู หาได้จาก

EER          =18950/1668 = 11.3609   (Btu/h) /w

มาถึงคำถามที่สำคัญแล้ว

 

แอร์ที่มีค่าEER มากกว่าจะประหยัดค่าไฟได้กี่บาท?

ถ้าห้องผมยัง 22 ตารางเมตรเหมือนเดิม แต่ตอนนี้มีแอร์ ตัวเล็ก1ตัน ถ้าเปลี่ยนเป็นตัวใหญ่ตันครึ่งที่มีEERมากกว่าเดิม0.52 (Btu/h) /w จะประหยัดค่าไฟกว่าไหมครับ?? เดือนละกี่บาท?? ถ้าผมยังเป็นคนเดิม นิสัยเหมือนเดิม ความขี้ร้อนเท่าเดิม

nameplate_energy_efficiency_ratio_EER_compare_biger_smaller_save_money?
ทั้งสองเครื่อง EER ไม่เท่ากัน เครื่องใหญ่ มากกว่า เครื่องเล็ก เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ถ้าเราเลือกเครื่อง EER มากกว่าแล้วจะประหยัดไฟได้เดือนละกี่บาทครับ ช่วยกันคิดหน่อยเร็ว

แอร์สองตัวนี้ มีค่า     ตัวเล็ก    EER 10.81    <   ตัวใหญ่  EER 11.36   เมื่อเอามาลบกัน จะได้ผมต่างของ EER = 0.52   (Btu/h) /w    เมื่อตั้งคำถามว่าเดือนละกี่บาทอ่ะที่ประหยัด

สมมติสภาพแวดล้อมให้ถูกต้องก่อนแก้โจทย์

ป้ายมันบอกว่าแอร์18,950 บีทียู/ชม.  ประสิทธิภาพดีกว่า คือ ถ้าห้องเล็กๆของผมเปลี่ยนจากแอร์ 13,140 บีทียู/ชม. เป็นตัวใหญ่ จริงๆจะบอกว่าแอร์ทั้งสองตัวเป็นแอร์ที่บ้าน ผมก็เคยนอนทั้งสองห้องมาแล้วใช้เวลาเปิด-ปิดแอร์เหมือนที่สมมติไว้จริงๆครับ ผมเอาพฤติกรรมของผมจริงๆเป็นเกณท์แล้วจึงสมมติเรื่องความร้อนที่ต้องเอาออกจากห้องนอน    การที่จะตอบคำถามว่ากี่บาท ต้องสมมติโจทย์ให้ถูกต้อง ดังนี้

ถ้าผมยังเป็นคนเดิมสมมติอยู่ในหน้าฝนเซทติ้งอุณหภูมิเหมือนเดิมทุกอย่าง จาก30C เย็นถึง28ผมรู้สึกเย็นพอก็ปิดแอร์ทันที(เปิดพัดลมเป่าตลอดเวลา พอรู้สึกร้อนก็ค่อยเปิดใหม่ )  ตัวใหญ่จะทำความเย็นได้เร็วกว่าเพราะแอร์ตัวใหญ่กว่าบีทียูเยอะกว่า มันทำให้อากาศในห้องเย็นได้ในเวลาประมาณ 20นาที ส่วน ไอ้ตัวเล็กใช้เวลาประมาณ30นาที  ซึ่งแอร์ทั้งสองของที่บ้านปรกติก็ตั้งเวลาประมาณเท่านี้จริงๆ มันบอกว่าอะไรครับถ้าความรู้สึกเย็นแล้วผมรีบปิด ก็คือไอ้ตัวใหญ่ประหยัดไฟกว่าหรือเปล่า  คำตอบคือใช่ครับ แล้วมันประหยัดไฟกว่ากี่บาท กี่บาทมันตอบยากครับเอาอย่างงี้ครับ ถ้าในห้องมีอากาศที่มีค่าความร้อนที่ต้องเอาออกเพื่อให้อากาศเย็นเย็นปุ๊ปปิดไม่สนใจความร้อนจากกำแพงและสิ่งของในห้อง สมมติว่าอากาศมีความร้อนต้องเอาออกเพื่อให้อุณหภูมิในห้องลดลงจาก30C เป็น 28C   เป็นปริมาณความร้อน 6,570บีทียู(หน่วยของพลังงานไม่ใช่บีทียูต่อชม.) หรือ 6955 กิโลจูลที่ต้องเอาออกจากอากาศ  มาลองคำนวนดูว่าแอร์เครื่องเล็กและแอร์เครื่องใหญ่เอาความร้อนออก 6,570 บีทียูออกไป จะกินไฟต่างกันกีบาทครับ

หมายเหตุ ที่ผมตั้งค่า 6,570 บีทียู นี้แสดงว่าความร้อนที่เอาออกประมาณนี้ไม่ว่าเครื่องเล็กหรือเครื่องใหญ่ทำให้ผมรู้สึกเย็นพอที่จะปิดแอร์แล้ว ค่าความร้อนนี้ผมคิดง่ายๆว่าเครื่องเล็กเปิดครึ่งชม. ก็เลยเอาขนาดบีทียูเครื่องเล็กมาหารสองจากแอร์ 13,140 บีทียู/ชม  แสดงว่า1ชม. เอาความร้อนออกได้ 13,140 บีทียู  ครึ่งชม.เลยได้ค่าความร้อน 6,570 บีทียู

ส่วนเครื่องใหญ่เมื่อลองเอาค่าความร้อนที่ต้องเอาออกจากห้องมาหาร ด้วยบีทียูต่อชั่วโมงจะได้ค่าชั่วโมงออกมาดังนี้

      จำนวนชม.เปิด เครื่องใหญ่1ครั้ง เมื่อเอาความร้อนออก 6570บีทียู

      = ค่าความร้อนที่ต้องเอาออก/ค่าความร้อนที่แอร์เอาออกได้ต่อชม.

      = 6,570 (บีทียู)/ 18,950 (บีทียู/ชม.)

     = 0.3467 ชม.   (*60 จะได้ 20.8 นาที )

  ใกล้เคียงกับที่เปิดแอร์ตัวใหญ่จริงๆในชีวิตประจำวัน ครั้งละ20นาที

เปิดแอร์เล็ก 1,3140 บีทียู/ชม.    เอาความร้อน6,570 บีทียูออกใช้เวลา 0.5 ชั่วโมง กำลังไฟฟ้าที่แอร์ต้องการคือ 1,213W (อ่านจากป้าย) ใช้ไฟฟ้าไปกี่หน่วยกี่บาท

 แอร์เล็กนี้เปิดครึ่งชั่วโมงใช้ไฟไปกี่หน่วย

=  (1,213W /1000) *0.5 ชั่วโมง = 0.6065 หน่วย

หน่วยมิเตอร์ไฟฟ้า คือ Kwh (กิโลวัตต์-ชั่วโมง) หรือ 1ชั่วโมงกินไฟ1000w

แอร์เครื่องเล็กเดินครึ่งชม.เย็นแล้วปิดแอร์คิดเป็นเงิน

=0.6065หน่วย*4.5 บาทต่อหน่วย = 2.72925  บาท

เปิดแอร์ใหญ่ 18950 บีทียู/ชม.    เอาความร้อน6570 บีทียูออกใช้เวลา0.3467 ชม. (20.8 นาที) กำลังไฟฟ้าที่แอร์ต้องการคือ 1,668W(อ่านจากเนมเพลท) ใช้ไฟฟ้าไปกี่หน่วยกี่บาท?

ใช้ไฟไปกี่หน่วย = 1.668Kw * 0.3467 h =0.5782 หน่วย

คิดเป็นเงิน =0.5782หน่วย*4.5 บาทต่อหน่วย= 2.6019 บาท

 

ผลต่างของการกินไฟคือเครื่องใหญ่หรือแอร์ที่มีEERมากกว่าอีกเครื่องอยู่0.52   (Btu/h) /w จะประหยัดเงินกว่าเมื่อเปิด1ครั้งแล้วความเย็นถึงเป็นเงิน

        =   2.72925-2.6019

=  0.12735 บาท /ครั้งที่เปิด 

ถ้าวันนึงผมเปิดๆปืดราวๆ6 ครั้งต่อวัน ใน1เดือนถ้าใช้เครื่องใหญ่ประหยัดเงินไปกี่บาท

1เดือนประหยัดเงินไป = 0.12735 บาท/ครั้ง*6ครั้ง/วัน*30วัน/เดือน

= 22.923   บาท/เดือน
จบการพิสูจน์ เงินที่ประหยัดได้ แปรผันตามผลต่างของค่าEER

(ปรกติถ้าใช้เครื่องเล็กและมีพฤติกรรมแบบนี้ใน1เดือนผมเสียค่าไฟประมาณ 491 บาท)

พฤติกรรมการใช้งานเปิดๆปิดๆแบบนี้มันเป็นเชิงสมมติ ก็สรุปวันนึงในหน้าฝน เปิดแอร์เครื่องเล็กไป 3 ชม. ต่อวัน พอเย็นก็ปิดแล้วนอน ส่วนเครื่องใหญ่จะเปิดไป 2.08 ชม.ต่อวัน  อย่างนี้เครื่องใหญ่กินไฟน้อยกว่าเดือนละ 22.923 บาท อันนี้เป็นพฤติกรรมการใช้แอร์ของผมโดยที่เปิดพัดลมไปด้วยตลอดเวลาครับ

สำหรับผมผมตอบได้ว่าการเปลี่ยนแอร์ที่มีค่าEER เพิ่มขึ้นจะประหยัดค่าไฟกี่บาทนั้น เป็นคำตอบของผม ซึ่งขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้แอร์ของแต่ละคนแต่ละบ้านซึ่งมันซับซ้อนตรงที่แอร์ทั่วๆไปจะตัดคอมเพรสเซอร์และชุดพัดลมคอยล์ร้อนเมื่ออุณหภูมิต่ำถึงจุดที่ตั้งไว้ซึ่งจะต้องคำนวนให้ละเอียด แม้ฤดูก็มีส่วนซึ่งพฤติกรรมแอร์แต่ละฤดูก็ไม่เหมือนกัน จะได้ค่าไฟต่างกัน ยิ่งถ้าเป็นแอร์ชนิดอินเวอตเตอร์มันปรับรอบช้ารอบเร็วได้ยิ่งคำนวนยากแต่เอาแบบกลางๆคำนวนที่ๆมันเป็นรอบปรกติกช่วงทำความเย็นช่วงกลางเราเอาค่าEER เฉพาะช่วงนั้นมาลองคำนวนดูคร่าวๆก็ได้ เพราะEER ของแอร์อินเวตเตอร์บางตัวมัน กด EER เข้าไปถึง 18 แต่มันไม่ใช่ค่า EERคงที่สิครับ

     ถ้าEER ในระบบอินเวตเตอร์คงที่ตลอดเวลา ถ้าผมเปลี่ยนไปใช้ ตัวเล็กกว่านี้ตัวท็อบที่เขาโฆษณากัน แต่ค่าEER กดไป18 ผมจะประหยัดเงินได้เดือนละ200 บาท สรุปเดือนนึงค่าไฟ ประมาณ 300 บาท ว่ะ เป็นไปได้หรือครับ จาก 491 ลดเหลือเป็นประมาณ 300 (ประมาณ 40% คำนวนเดาๆอย่างงี้มันผิดเปล่าหว่า? เอามาจากไหน?  ) 

สมมติว่าแอร์ตัวเล็ก(1,3140 บีทียู/ชม.)ตัวเดิม มีค่า EER จาก 10.8 เป็น 18  จะประหยัดเงินได้เดือนละกี่บาท ยังไงมาลองเดาๆกันดู มันก็เปิดครึ่งชม./ครั้ง เหมือนเดิมก็เย็นแล้วแล้วปิด (ตกวันละ3ชม. เดือนละ 90 ชม.) แต่กำลังไฟอินพุทหรือกำลังไฟที่แอร์ใช้ไปมันน้อยลงไปมากเลย

   EER = การทำความเย็นได้(Btu/h)/กำลังไฟฟ้าที่ใช้(w)

      18   = 1,3140/กำลังไฟฟ้าที่ใช้

กำลังไฟฟ้าที่ใช้ = 1,3140/18 =730 วัตต์

ฉะนั้น ใน1เดือนจะใช้ไฟไป = 0.730กิโลวัตต์*90ชม.

                                             =65.7 Kwh  หรือ 65.7 หน่วย

1เดือนเปิดแอร์ EER=18 จะเสียค่าไฟเป็นเงิน

                      =65.7หน่วย*4.5 หน่วย/บาท = 295.65 บาท

แต่เมื่อไปสอบถามคนอื่นๆบางคนไม่นอนแอร์ บางคนต้องเปิดแอร์ให้ฉ่ำนอนห่มผ้าห่มตลอดคืน กด24C ทั้งคืน บางคนมีเปิดให้พอเย็นจะนอนแล้วปิด บางคนใช้แอร์เครื่องเล็กกว่าพื้นที่ห้องที่เขาแนะนำแล้วเปิดพัดลมตลอดเวลา ค่าไฟของแต่ละคนจะเป็นอย่างไร ดูจะน่าสนใจไม่น้อย

 

พฤติกรรมการใช้แอร์เป็นแบบเย็นซาดิสก็จะประหยัดเงินได้มากขึ้นยิ่งถ้าค่า ERR ต่างกันมากๆแล้ว เป็นหลักร้อยถึงหลักพันบาท สมมติว่าเลือกใช้แอร์อินเวอตเตอร์บางตัว กดERR=18 ตอนช่วงรักษาความเย็น หรือเร่งรอบตอนเปิดค่าERRก็มากกว่าแบบที่ไม่ใช้อินเวอตเตอร์ แต่ถ้าเวลาปรกติก็กดได้11-13 เท่านั้น ตอนโหลด100% ความเร็วมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ปรกติที่ 50-60รอบ/นาที ดูแล้วก็เหมือนๆกัน ERR ตามป้ายแอร์ทั่วไป เป็น EER ขณะโหลดแอร์ 100% หรือแอร์คอมทำงานอยู่และไม่มีแบบอินเวอตเตอร์หรือปรับความเร็วรอบไม่ได้ ส่วนแอร์อินเวอตเตอร์มักบอกค่า ERR ที่ขณะโหลดไม่ใช่100% หรือขณะโหลดมากกว่า100% หรือเร่งรอบมากกว่า 50hz ในระยะเวลาสั้นๆ แต่พอเดินแบบธรรมดา ค่า EER ก็แทบไม่แตกต่างกันเลย อยู่ที่10.5-13.5  ฉะนั้นการเลือกแอร์ถ้าเลือกได้ก็เลือกEER สูงๆ และเลือกจากพฤติกรรมการใช้แอร์จะดีกว่า ไม่ต้องคิดมากปวดหัว แต่ระวังเรื่องค่าซ่อมสำหรับแอร์อินเวอตเตอร์สักหน่อยโดยเฉพาะคอนโทรลซึ่งต้องมีสักวันอยู่แล้วที่ชำรุดหยอดกระปุกเอาไว้บ้างสำหรับค่าซ่อมคอนโทรล ซึ่งเอาค่าประหยัดไฟกว่านี่แหละหยอดกระปุกไป อาจจะมีการชำรุดเมื่อมันมีอายุมากกว่า5ปีมั้งอันนี้ไม่รู้เหมือนกัน

 

เลือกแอร์จากEER?? 

บัดนี้เราพอรู้แล้วว่า EER ช่วยประหยัดค่าไฟและประหยัดเงินในกระเป๋า ฉะนั้นเราควรศึกษาต่อไปว่า จะเลือกแอร์จากEER อย่างไร เพราะถ้าเลือกแต่EER เป็นหลักโดยไม่คิดถึงพฤติกรรมหรือนิสัยการนอนแอร์ หรือพวกอินเวอตเตอร์ถ้าเลือกแอร์ขนาดเล็กเกินไปอาจทำให้จ่ายค่าไฟมากกว่าแอร์ปรกติก็ได้ มาลองดูว่ามันจริงหรือเปล่า

55
5

ถ้าเรามาดูแอร์ของมิตซูเปรียบเทียบกันดูจาก catalog เอาเลยดีกว่า 

ขนาด Btu/hr และ ขนาดห้องเป็นตารางเมตรที่แนะนำ (ดูในแคตตาล็อกก็มี)

Btu/hr >> 9000 13000 18000 24000
ตรม.พื้นที่ห้องที่แนะนำ>> 9-14 14-20 20-28 28-36

 

กรณีการเลือกแอร์
1 เลือกแอร์ที่มีขนาดBtu/hr เล็กกว่าขนาดห้องเล็กน้อยแล้วเปิดพัดลมเป่า ห้องนอนเปิดประมาณ2-3ชม.ก่อนนอนแล้วปิด
ก1.1 แอร์ธรรมดา
ก1.2 แอร์อินเวอตเตอร์
2 เลือกแอร์ที่ประหยัดไฟที่สุด ต้องศึกษา EER และพฤติกรรมของแอร์และของคนที่ทำให้ประหยัดไฟ

มาลองเลือกแอร์จาก EER โดยการคำนวน EER อย่างละเอียดจะพบว่า มีไม่กี่รุ่นที่น่าใช้

มาลองคำนวน EER ของแอร์ Mitsubishi Econo 2012 น้ำยา R22
มาลองคำนวน EER ของแอร์ Mitsubishi Econo 2012 น้ำยา R22
มาลองคำนวน EER ของแอร์ Mitsubishi Econo 2014 น้ำยา R410A
มาลองคำนวน EER ของแอร์ Mitsubishi Econo 2014 น้ำยา R410A
มาลองคำนวน EER ของแอร์ Mitsubishi Inverter
มาลองคำนวน EER ของแอร์ Mitsubishi Inverter 2015 น้ำยา R410A

มีคำว่า SEER  อีกน่าสนใจไหมครับ ไม่รู้จะมีทำไมเยอะแยะ เอาเป็น S มันมีความหมายว่า seasonal

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าควรซื้อตัวไหน
ซื้อตัวไหนก็ได้ที่ควรซื้อ แต่ผมจะยกตัวอย่างในเรื่องประหยัดเงินในกระเป๋ามาเปรียบเทียบกันดูก่อน แต่เดิมผมใช้แอร์ไซโจ ขนาด13,140 Btu/h EER10.84 นิสัยของผมชอบเปิดแอร์ให้เย็นเร็วที่สุดแล้วปิดไม่เกินครึ่งชม. ร้อนแล้วเปิดใหม่ แอร์ตัวนี้ปรกติเปิดครั้งละครึ่งชม. ในหน้าฝน (แต่ละครั้งเอาความร้อนออกจากห้อง 6570 บีทียู ) อย่างที่ลองคำนวนไปแล้ว
ถ้าผมเปลี่ยนแอร์เป็นแอร์มิตซู ขนาดตันใกล้ๆกัน เอารุ่นEcon air MSGK-13VA 12430 Btu/h EER11.92 (แม้กดเครื่องคิดเลขได้ 12.19 แต่เอาตัวน้อยดีกว่าครับ)

เปิด 1 ครั้ง เย็นปิด เปิด6ครั้งต่อวัน จะประหยัดเงินได้กี่บาทใน1เดือน

ในเรื่องแอร์อินเวอตเตอร์ อย่างแรกเราต้องรู้พฤติกรรมการเร่ง ผ่อน คง และลดของแอร์ แล้วจะรู้ว่าตัวไหนประหยัด

จังหวะการทำงานของแอร์อินเวอตเตอร์
กราฟสมมติจังหวะการทำงานของแอร์ การทำความเย็น
และเวลาโดยสมมติเทียบเคียงกับการใช้งานในชีวิตจริงๆ

ของผมเป็นประเภทเร่งให้เย็นเร็วที่สุดแล้วปิด

ถ้าดูจะพบว่า แอร์อินเวอตตเตอร์ ช่วงเร่งแรงจัดที่มีค่ามากกว่า10สำหรับผมแล้วมีแค่2รุ่นที่ประหยัดไฟ โดยเฉพาะรุ่น 12.2 ตอนเร่ง แต่ถ้าถามว่าแล้วจะจ่ายแพงกว่าทำไม ไม่เอารุ่น Eco ล่ะ มันได้12 อัพทุกตัว ถ้าโดยนิสัยการใช้แอร์ของผมแล้ว รุ่น Eco ประหยัดไฟที่สุดครับ

 

Inverter Operation Image (cooling mode) Mitsubishi

ยืมลิงค์เขามา ทำไงให้ถูกหว่า
http://www.mitsubishielectric.com/bu/air/technologies/image/img_inve_02.jpg

 

แต่ถ้าชอบแบบม้าตีนปลาย มันต้องปรับหลายขั้นตอน ใช้ยากนะแต่ประหยัดไฟโคตร แล้วต้องให้มันค่อยๆเย็นช้า เช่นถ้าผมเลือก แอร์ อินเวอตเตอร์ รุ่นๆๆประหยัดไฟสุดๆ8870บีทียู ผมทำไงถึงจะได้ EER=22 ซึ่งมันเย็นช้ามากๆแต่ประหยัดไฟสุดๆๆ เริ่มแรกเปิดแอร์ต้องตั้งอุณหภูมิให้ต่ำกว่าอุณหภูมิห้อง1องศาพอ ….4780btu/hr ถ้าจะเอาออก6700btu ต้องเปิดอย่างน้อยชม.ครึ่ง แล้วต้อง..  อ่ะรอก่อนนะครับพอดีหมดวันแล้วจะมาพิมพ์ใหม่

รอกก่อนเด้อ

 

 

 

มาเข้าเรื่องขนาดการทำเย็นกันสักนิด ซึ่งจะยากสักนิดนุงนะครับ

ในป้ายบอกว่า ขนาดการทำความเย็น =13,850 Btu/h  หรือ 3850 วัตต์ มันหมายถึงอะไรครับ  การกินไฟเรารู้อยู่แล้วว่าแอร์ตัวนี้กินไฟ เท่ากับ 1,213วัตต์  แต่สามารถทำความเย็นได้ 3850 วัตต์

คำถามที่ถามเล่นๆ แสดงว่าถ้าผมเปิดเตารีด4 ตัวในห้องที่มีแอร์นั้น ห้องจะร้อนขึ้นหรือเย็นลงครับ ถ้าเตารีดทำงานตลอดเวลาโดยไม่ตัด

ใช่แล้วครับ เตารีด1ตัว ทำความร้อนได้1000วัตต์ เตารีด4ตัว=4000วัตต์  แอร์ตัวนี้ ไม่สามารถเอาชนะเตารีด 4 ตัวได้ เพราะมันทำความเย็นได้เพียง 3850 วัตต์ ห้องนั้นจึงค่อยๆร้อนขึ้นๆ

ทำไมผมยกตัวอย่างนี้ครับ ในหน้าร้อน กำแพงและสิ่งของต่างๆในห้องอุณหภูมิราวๆ35 องศาก่อนเปิดแอร์ ถ้ากำแพงและสิ่งของมีการสะสมความร้อนไว้มากมันก็เหมือนมีเตารีดอยู่ 3 ตัว กว่ากำแพงและโต๊ะตู้เตียงมันจะเย็นขึ้นทีละ1องศา อาจใช้เวลา2-3ชม. แต่อากาศในห้องอาจลดลงได้ถึง 29-30 องศาลงใน1ชม.  แต่เราก็ยังรู้สึกร้อนเพราะกำแพงสามารถแผ่รังสีความร้อนมาที่เราโดยตรง ยิ่งถ้ามีกำแพงด้านนึงโดนแดดเราก็ยังรู้สึกร้อนแม้เปิดแอร์ทั้งวันเป็นต้น

ขนาดการทำความเย็น มีคำจำกัดความอยู่ดังนี้

Btu (British thermal unit)  ความร้อน 1 Btu คือ ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1ปอนด์ มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1 องศาฟาเรนไฮต์    (ถ้าเอาออกก็ลดลง1องศาฟาเรนไฮต์)

Btu มันเป็นนิยามเรื่องหน่วยความร้อนของฝาหรั่ง ซึ่งอ่านแล้วไม่เข้าใจก็อ่านข้ามๆไปก่อน  เรามาลองแปลงหน่วยกันจะได้เข้าใจดังนี้

1 kcal(กิโลแคลอรี่ ที่ 15 C)   = 3.9673727  Btu

1 kg  (กิโลกรัม)                     = 2.2046        ปอนด์(pound)

หน่วยกิโลกรัมกับ หน่วยกิโลแคลอรี่ คงพอเข้าใจนะครับ ที่เขาบอกว่ากินไอ้นี้ เช่นขนมปังแผ่นใหญ่หนา1แผ่น ได้ 150 แคลอรี่ จริงๆมันต้องได้ 150 kcal แต่เขาเรียกสั้นๆว่าแคลอรี่ เช่นผู้ชายหนุ่มควรกินอาหารให้ได้วันละ 2000 แคลลอรี่ หมายถึง 2000 kcal  ลองดูการคำนวนแคลอรี่ และการออกกำลังลดน้ำหนัก http://www.doodeedai.com/diary/plan

 

 

 

 

(กำลังเขียน)

 

 

 

 

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=all4u&month=03-2007&date=17&group=7&gblog=7

 25,727 total views,  9 views today