เปลี่ยนระบบการเลือกตั้งไปถ้าไม่ได้เปลี่ยนคนหรือกันคนชั่วออกจากวงการเมืองมันก็ไม่ได้ช่วยอะไร ระบบห่วยๆแต่มีคนดีๆเก่งๆ ดีกว่ามากๆเมื่อเทียบกับระบบดีๆที่มีแต่คนชั่วๆเก่งแต่เรื่องชั่วๆอยู่ในระบบ จริงๆจิตมนุษย์ตกต่ำลง ถูกความโลภเข้าครอบ ความเหนื่อยหน่าย บางทีเรายอมให้นักการเมืองโกงกันบ้างถ้ามันทำงาน แต่ถ้าพอมาถึงคนงานบ้านเรา พนักงานบริษัทเราเรากลับไม่ยอมต้องไล่มันออกไป ถึงเวลาแล้วหรือยังครับที่ต้องออกมาแสดงว่าไม่เอาคนชั่วๆหรือผู้นำจอมปลอมที่ยอมให้ลูกน้องชั่วๆโกงแล้วบอกว่าตนไม่ได้โกง
เนื้อหานี้เพิ่มเติมจากเนื้อหาในบทก่อน คือ How Silicone EP3a -012 แนะนำกาวซิลิโคนRTV ,ทดสอบตัวกันซิลิโคนติด ,ทดลองหล่อแบบด้วยกาว เนื่องจากผมได้ดู VDO ยูทูป แล้วพบว่ามีการผสมน้ำมันเพื่อให้กาวซิลิโคนเหลวพอที่จะเก็บแบบได้ และเขาก็บอกแต่ว่าเป็น Napta แนปทา ที่เป็นทินเนอร์ชนิดแนปทา ในเมืองไทยก็เลยไม่รู้กันพอดีว่าเป็นน้ำมันอะไร ไหนๆก็ไหนๆแล้วเลยทดสอบน้ำมันเอามาผสมกันดูว่าตัวไหนเวิร์ก หรือใช้งานได้ดี
ในบทนี้ผมจะมีกาวซิลิโคนที่ทำการทดสอบอยู่ 2 ชนิด คือชนิด กรด ยี่ห้ออะไรก็ได้ราคาราวๆ 65 บาท และ ชนิด oximetype ยี่ห้อโซนี่ ราคา 150 บาท ทดสอบผสมด้วยน้ำมันต่างๆ ดูว่าเหลวดีพอเก็บแบบได้ไหม แข็งตัวดีไหม หดตัวยังไง แล้วผมยังทดสอบความเป็นกาวโดยป้ายมันลงไปกับกระดาษลัง โดยมีอัตราส่วนหลักคือ ผสมซิลิโคนกับ น้ำมันที่ทำให้เหลวราวๆ 20-30% โดยปริมาตร และทดลองผสมแบบ 50% บางตัวที่ทำใหเหลวหรือได้ดีเหมือนในยูทูป แล้วก็สรุปผลมีทั้งข้อดีข้อเสีย และที่ทำผิดพลาด ในตอนท้ายๆผมยังมีเรื่องของ ตัวเร่งแข็งกาวซิลิโคนหนาๆ ลองหาดูในหัวเรื่อง ตัวเร่งแข็งประเภทเซทตัวเร็วหรือเซทตัวแบบซึมลึก
ลิงค์เทคนิกการหล่อแบบด้วยกาวซิลิโคนRTV ชนิดกรด
ส่วนหนึ่งผมได้แรงบันดาลใจจากยูทูปใน เรื่องการทำโมลด์ราคาถูกด้วยกาวซิลิโคน
ผมลองดูวีดีโอครั้งแรกรู้สึกตื่นเต้นมากเนื่องจากส่วนใหญ่ผมทำโมลด์จากการหล่อซิลิโคนชนิดทำแบบ ทั้งแบบคอนเด็นเซชั่นเคียว และแบบแอ๊ดดิชั่นเคียว รู้ถึงข้อดีข้อเสียเป็นอย่างดี พอดูวิดีโอด้านบนจบก็มาคิดว่า ใช้กาวซิลิโคนมันก็ง่ายดีเหมือนกันแต่ประหลาดใจมากที่เขาเอาซิลิโคนมาผสมน้ำมันและยังใช้งานได้ แต่ไม่รู้ชนิดของน้ำมันที่แน่นอน รู้แต่เป็นน้ำมันทินเนอร์อุตสาหกรรมชนิดแนปทา ไหนๆก็ไหนๆแล้วจะเอาไปใช้งานก็ต้องรู้กันให้จริงจังไปเลย ไม่งั้นเอาไปใช้อะไรไม่ได้แน่ อย่ากระนั้นเลยก็เลยซื้อสารพัดน้ำมันมาทดสอบดู
ยูทูปอันบนเป็นมีการผสมสีด้วยสีอะคริลิก การผสมกลีเซอรีน เขาบอกกลีเซอรีนทำให้ทำงานง่ายแข็งตัวได้ดี เขาบอกว่าถ้าไม่มีไม่เวิร์ก เขาใส่เพียง3-5หยด (เข้าใจว่ากลีเซอรีนจะช่วยเรื่องความชื้นในซิลิโคนเร่งปฏิกิริยาให้ทั่วขณะแห้งตัว ความความชื้นบ้านเขาคงต่ำกว่าบ้านเรา)แต่ผมดูแล้วยังงงๆ ว่ามันก็ยังข้นๆเหมือนแป้งเปียกเอามาเก็บรายละเอียดผิวแบบที่ผมเคยทำ(ซิลิโคนสำหรับหล่อแบบ)ไม่ได้คือต้องไม่ให้มันมีฟองที่ผิวหน้าชิ้นงานไม่งั้นมันจะหล่องานแล้วเป็นฟองๆไม่สวยโดยเฉพาะงานหล่อโมเดลเล็กๆ
ลิงค์ที่น่าสนใจอื่นๆ
- มีที่น่าสนใจอีกที http://www.instructables.com/id/Using-Silicone-Caulking-to-Make-Molds/ เขานิยมใช้กลีเซอรีน ผสมลงไปในกาวเหมือนกัน เขาบอกว่ามันทำให้เพิ่มความชื้นในเนื้อซิลิโคนทำให้มันเกิดปฏิกิริยาแห้งตลอดทั้งก้อน เนื่องจากเป็นการเพิ่มความชื้นลงไปในเนื้อซิลิโคน รวมถึงการใช้แป้งข้าวโพดลงไปผสมทำให้แข็งตัวเร็วขึ้น เขาว่างั้นนะ(ยังไม่เคยเรื่องแป้งข้าวโพด)
- และอีกที่ที่มีแต่ตัวหนังสือล้วนๆแต่เขาทดลองเยอะดีครับ http://www.myheap.com/chapter-8-silicone-caulk-molds.html
- มีที่นึงเป็น pdf ที่นี่ก็มีเทคนิคเพียบสุดยอดจริงๆ มีการเทคการผสมแป้งข้าวโพดและน้ำมันผสมสีทำให้ทำงานง่ายภาพประกอบชัด และมีอีกเทคนิคที่ต้องอึ้งคือบีบกาวซิลิโคนลงในอ่างน้ำผสมน้ำกับน้ำยาล้างจานชนิดแข็งแล้วเอามือปั้นแปะลงบนต้นแบบที่เป็นงานใหญ่ๆ http://www.vickilynnwilson.net/PSU_PDFS_WINTER_11/ SILICONE_MOLD_TUTORIAL_PP_PSU_3D.pdf
- หรือจะไปเสิขในกูเกิ้ลก็จะใช้คำว่า mold from silicone sealant
ซึ่งเป็นข้อมูลเบื้องต้นของผมในการทดลองในบทก่อนๆ และที่ผมแนะนำลิงค์หรือวีดีโอยูทูปนั้นจะใช้กาวซิลิโคนชนิดถูก คือชนิดกรดทั้งหมด
เท่าที่ค้นมา additive หรือสิ่งที่ใส่ลงไปเพิ่มเพื่อคุณสมบัติต่างๆนอกจากแป้งข้าวโพดแล้วยังมี ทัลคัมหรือแป้งทาตัวซึ่งมันมีคุณสมบัติเก็บความชื้นและปลดปล่อยความชื้นกับสารเคมีที่ต้องการความชื้นในการแข็งตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งผลเคยได้ใช้ในงานพุทตี้ปิดรูฟองเล็กๆ ด้วยกาวร้อน หรือกาวตาช้างผสมด้วย แป้งทาตัวชนิดทัลคัมก็คือแป้งทั่วๆไปส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่ดินสอพอง มันแข็งและแห้งเร็วใช้เวลาไม่เกิน 10 วินาทีหลังผสมลงไป แล้วก็ตัดแต่งหรือขัดกระดาษทรายได้เลย แต่ยังไม่เคยทดลองกับซิลิโคน เขาว่ามันทำให้แข็งเร็วขึ้นเหมือนกับแป้งข้าวโพด
วิดีโอข้างล่างเป็นวิธีการในการขึ้นรูปโมลด์ด้วยกาวซิลิโคนแบบถูก เป็นแบบกึ่งประกบกึ่งถลก ทำเสร็จเขาก็หล่อด้วยปูนปลาสเตอร์ ในขณะทำมีการพ่นสเปรย์ที่เขาไม่บอกว่าเป็นอะไรและสามารถแข็งตัวได้ในเวลาไม่กี่นาที เราจะหาได้ไหมว่าเป็นสารเคมีอะไร หรือว่าเป็นน้ำธรรมดาหว่า เขาใช้ชื่อทางการค้าของเขาว่า silicone hardener Z.L. system
ส่วนอันล่าง อันนี้ เป็นแบบประกบสองชิ้น ครับ
การทดลองผสมสารเคมีที่ทำให้กาวซิลิโคนRTVเหลว เพื่อเก็บแบบรอบแรกพร้อมข้อสรุป
เนื่องจากผมยังติดรูปแบบการทำงานกับซิลิโคนหล่อแบบธรรมดาซึ่งต้องเก็บผิวแบบรอบแรกก่อนเทลงไป เลยต้องทดลองผสมสารเคมีต่างๆเพื่อให้เก็บผิวรอบแรกให้ได้ดีอย่างที่หวัง ผลบอกข้อสรุปเลยละกันเพราะหลังๆเป็นการบันทึกผลการทดลอง ผู้อ่านอาจไม่ได้ประโยชน์มากนักแต่ผมชอบบันทึกเอาไว้เพื่อเตือนความจำ
สรุปผลจากการทดลอง
น้ำมันผสมที่เหมาะกับกาวซิลิโคนชนิดกรดในการทำให้มันเหลวลงเพื่อเก็บรายละเอียดได้
กาวซิลิโคนชนิดกรด หรือชนิดถูกๆ -Acetoxy Silicone RTV โดยผสมตัวทำละลายที่ทำให้เหลวลงประมาณ 20-30% โดยปริมาตร และต้องมีคุณสมบัติลดความข้นลงพอเก็บรายละเอียดผิวได้ ในที่นี้ให้เหลวพอเอาด้ามพู่กันเล็กๆป้ายได้ แต่ไม่ถึงกับเหลวแบบเทได้
ผสมซิลิโคนด้วยน้ำมัน 20-30% โดยปริมาตร
ความแข็งยาง น้ำมันเบนซิน95=น้ำมันก๊าด=น้ำมันสน=น้ำมันซักแห้ง= ลดลง10-15%
เป็นความแข็งขณะแห้งสนิทดี น้ำมันเหล่านี้เมื่อผสมความแข็งลดลงไปเล็กน้อยราวๆ 10-15 เปอร์เซน โดยการผสมน้ำมันเหล่านี้ดังกล่าวทำให้ความเป็นกาวลดลงจนสามารถลอกออกจากกระดาษลังได้ แต่ถ้าต้องการให้ยางแข็งผมว่าผสมทัลคัม(แป้งทาตัว)ลงไปก็น่าจะดี
ความเหลวตัว น้ำมันซักแห้ง=9.5 ,น้ำมันก๊าด=น้ำมันสน=8.5 , น้ำมันเบนซิน95 7/10
การผสมเข้ากันง่ายเป็นเนื้อเดียวดี พอๆกัน แต่ผมไม่ค่อยอยากจะแนะนำเบนซิน95 เพราะดูเหมือนมันบวมตัวมากกว่าทำให้เหลว ผสมลงไปมันดูไม่เหลวเท่าไหร่แถมคนแล้วก็มีฟองเก็บไว้ในยางเยอะกว่าตัวยอื่นๆ คิดว่าน้ำมันเบนซินมันมีความเข้ากันได้น้อยกว่า
ความเหม็นฉุน น้ำมันเบนซิน95 6 ,น้ำมันก๊าด=น้ำมันสน 6.5 , น้ำมันซักแห้ง9/10
โดยส่วนตัวผมว่ากลิ่นน้ำมันซักแห้งมันฉุนกว่า และเท่าที่สังเกตุน้ำมันพวกนี้จะค่อยๆลดความฉุนลงนานหลายวัน สุดท้ายก็ยังมีกลิ่นตกค้าง พวกที่ได้6-6.5 กลิ่นมันจะน้อยกว่า ผมชอบพวกน้ำมันสนกับน้ำมันก๊าดมากกว่า การระเหยตัวเร็วน้ำมันเบนซิน95ไวสุด ที่เหลือรองๆลงมาตามความฉุน
ความเร็วในการเซทตัว พอๆกัน เจลไทม์(ระยะเวลาก่อนที่มันจะกลายเป็นวุ้นหรือเซทตัวไม่ยอมให้เราทำอะไรกับมัน) ไม่เกิน5-6 นาที ผิวหน้าแตะได้ประมาณ1ชั่วโมง ถ้าจะได้ความแข็ง80 เปอร์เซนต้องรอ 6-8 ชั่วโมงที่ความหนาไม่เกิน 3-5 มิล
สรุป น้ำมันก๊าด, น้ำมันสน ,ซักแห้ง ก็ดีใช้ได้
ยังมีปัญหาคาใจอยู่นิดนึงคือ การที่ความเป็นกาวลดลงมากจะมีผลในการลงรอบต่อไปควรลงกาวซิลิโคนให้มีความหนารอบแรก1-2มิล และควรลงรอบต่อไปทันทีไม่ควรเกินครึ่งชั่วโมงเนื่องจากเดี๋ยวมันจะไม่กินกันจะลอกออกเป็นชั้นๆ
น้ำมันที่เรียกว่า แนปทา ส่วนใหญ่จะมีน้ำมันหลายชนิด(สารประกอบไฮโดรคาร์บอนหลายชนิด)ผสมกัน ส่วนใหญ่เป็นพวกที่เอาไปผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีโมเลกุลที่มีน้ำหนักเบาและระเหยง่ายกว่า เช่นเบนซิน95 น้ำมันโซ่ล่า รองชั้นลงมาเป็นพวกน้ำมันก๊าดมีโมเลกุลรวมหนักขึ้น น้ำมันสนก็หนักขึ้น น้ำมันซักแห้งก็หนักขึ้นอีก พวกที่ระเหยยิ่งช้ายิ่งอยู่นานยิ่งหนัก แต่ในน้ำมันเบาพวกเบนซิน95 มันก็มีส่วนผสมของน้ำมันหนักอยู่เหมือนกันแต่น้อยกว่ามากๆ ฉะนั้นความเป็นน้ำมันหนักจะตกค้างอยู่ในเนื้อนานเท่าที่มันระเหยได้ หรือไม่ทำปฏิกริยากับซิลิโคน
ผสมซิลิโคนด้วยน้ำมัน 45-50% โดยปริมาตร
ความหนาที่สุดที่ทดลอง 8 มิล สามารถแข็งเป็นเจลแข็งแกะออกจะพิมพ์ได้ใน1วัน แต่จะแห้งสนิทของน้ำมันระเหยต้องมากกว่า 1 อาทิตย์
การละลายเข้ากันดีเป็นเนื้อเดียวกัน น้ำมันก๊าด 9.5, น้ำมันสน 8.5, น้ำมันซักแห้ง 8, เบนซิน95= 3/10
เบนซิน95 ผสมแล้วรู้สึกข้นและมีฟองภายในเยอะ ไม่ค่อยเหมาะกับการใช้
ความเหนียวและการยืดตัวของยางแผ่นบางๆ น้ำมันก๊าด=น้ำมันสน=น้ำมันซักแห้ง=เพิ่มขึ้น 30-40%
ทิ้งไว้ให้น้ำมันระเหยแห้งอย่างน้อย1-2อาทิตย์ แล้วทดสอบการดึงโดยให้ดึงแล้วเอานิ้วดันให้บางๆเหมือนถุงยาง เพิ่มขึ้น 30-40% หมายถึงมีความเหนียวและการยืดตัวดีกว่ายางซิลิโคนเพียวๆ ซึ่งผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าผสมน้ำมันมากก็เพิ่มความยืดตัวได้ดีลดการขาดง่าย โดยถ้าเอาไปอบแห้งอาจจะช่วยทำให้ขาดยากขึ้น ได้ลองเอาซิลิโคนที่ผสมกับน้ำมันก๊าดไปอบร้อน150 องศา รู้สึกว่าเหนียวขึ้นอีก
การหดตัว ส่วนใหญ่ราว 20เปอร์เซนต์ จากการสังเกตด้วยตา โดยทิ้งไว้1-2อาทิตย์ แล้ววัดขนาดคร่าวๆว่าลดลงจากเดิมเท่าไหร่
ความแข็ง ส่วนใหญ่ลดลงราวๆ 20เปอร์เซนต์จากความแข็งที่ไม่ผสมอะไร ทดสอบด้วยการกดดู โดยทิ้งไว้1-2อาทิตย์
สรุปผลจากการทดลอง
น้ำมันผสมที่เหมาะกับกาวซิลิโคน Sony(Oxime)ในการทำให้มันเหลวลงเพื่อเก็บรายละเอียดได้
กาวซิลิโคนชนิด Oxime Silicone RTV ยี่ห้อโซนี่ซึ่งความแข็งมากกว่าชนิดกรดอยู่20-30% การทดลองจะผสมตัวทำละลายที่ทำให้เหลวลงประมาณ 20-30% โดยปริมาตร และต้องมีคุณสมบัติลดความข้นลงพอเก็บรายละเอียดผิวได้ ในที่นี้ให้เหลวพอเอาด้ามพู่กันเล็กๆป้ายได้ แต่ไม่ถึงกับเหลวแบบเทได้
ผสมซิลิโคนด้วยน้ำมัน 20-30% โดยปริมาตร
ความแข็งยาง เบนซินลดลง10%,น้ำมันก๊าด=น้ำมันสน=น้ำมันซักแห้ง =ลดลง5-6%
ความแข็งขณะแห้งสนิทดี น้ำมันก๊าดสนแห้ง จะลดลงไปค่อนข้างน้อย ราวๆ5เปอร์เซนต์ แต่สำหรับน้ำมันเบนซิน95ความแข็งจะลดลงไปเยอะกว่าสัก 10 เปอร์เซน รู้สึกได้ว่ามันนิ่มกว่า แต่ไม่ค่อยแนะนำเบนซิน95 ดูเหมือนจะผสมแล้วมีฟองข้างในเยอะกว่าน้ำมันอื่นๆ
ความเหนียวและความยืดตัวดี สู้ชนิดกาวกรดไม่ได้ น้อยกว่าชนิดกรด20 เปอร์เซนต์
ความเหลวตัวและการผสมเข้ากันดี
น้ำมันซักแห้ง >น้ำมันสน>น้ำมันก๊าด>น้ำมันเบนซิน95 อยู่ในเกณท์ใกล้ๆกัน
การละลายตัวการรวมตัวกันดีมากดีกว่าชนิดกรดมาก ดูดกลืนน้ำมันดีมาก
ความเหม็นฉุน น้ำมันเบนซิน95 6 ,น้ำมันก๊าด=น้ำมันสน 6.5 , น้ำมันซักแห้ง9/10
ความเร็วในการเซทตัว พอๆกัน เจลไทม์(ระยะเวลาก่อนที่มันจะกลายเป็นวุ้นหรือเซทตัวไม่ยอมให้เราทำอะไรกับมัน) ไม่เกิน5-6 นาที ผิวหน้าแตะได้ประมาณ2.5ชั่วโมง ถ้าจะได้ความแข็ง80 เปอร์เซนต้องรอ 6-7 ชั่วโมงที่ความหนาไม่เกิน 3-5 มิล
สรุป น้ำมันก๊าด, น้ำมันสน ,ซักแห้ง ก็ดีใช้ได้
ความเป็นกาว หลังแข็งสนิท ไม่สามารถลอกออกจากกระดาษลังได้มีความเป็นกาวสูงยึดติดกับผิวกระดาษได้ดี
ผสมซิลิโคนด้วน้ำมัน 45-50% โดยปริมาตร
การละลายเข้ากันดีเป็นเนื้อเดียวกัน
น้ำมันก๊าด = น้ำมันสน= น้ำมันแห้ง พอกัน พอเทได้แต่ยังข้น แต่ไม่เหลวเท่าชนิดกรด
เบนซิน95 ผสมแล้วรู้สึกข้นและมีฟองภายในเยอะ ไม่เหมาะกับการใช้
ความเหนียวและการยืดตัวของยางแผ่นบางๆ
น้ำมันก๊าด=น้ำมันสน=น้ำมันซักแห้ง= ลดลงเล็กน้อย 5%
ส่วนใหญ่แล้วต่อให้ไม่ผสมอะไรมันก็ไม่ค่อยเหนียว แผ่นบางๆไม่สามารถยืดออกได้เหมือนกับชนิดกรดหรือเหมือนกับถุงยาง มันจะขาดไปก่อนคือไม่ทนต่อการฉีกขาด เมื่อผสมลงไปแล้วก็ไม่ได้เห็นความแตกต่างเท่าไหร่คือไม่ได้ยืดตัวมากขึ้นแต่กลับลดลงและขาดก่อนแทน
การหดตัว ส่วนใหญ่ราว 20เปอร์เซนต์ จากการสังเกตด้วยตา โดยทิ้งไว้1-2อาทิตย์
ความแข็ง ลดลงเล็กน้อย= 10% น้อยคือไม่รู้สึกนิ่มมากเท่าพวกกรด
ข้อควรระวัง ถ้าความหนามากกว่า 4มิล เมื่อผ่านไป10-15ชั่วโมงภายในจะไม่แข็งผิวนอกดูแข็งแต่กดดูจะนิ่ม เมื่อฉีกดูจะพบว่าข้างในจะเหลวไม่เซ็ทตัว ชั้นของเลเยอร์ที่แข็งอย่างสมบูรณ์มีความหนาไม่เกิน 4 มิล คิดว่าน่าจะเกิดจากน้ำมันที่แห้งที่ผิวนอกจะเร่งการเกิดฟิล์มน้ำมันทำให้ไม่เกิดปฏิกิริยาที่สมบูรณ์เนื่องจากลองดมกลิ่นปฏิกิริยาที่มีสารระเหยกลิ่นเฉพาะของชนิด oximeมันน้อยลงเหมือนกับกลิ่นน้ำมันที่น้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป10 ชั่วโมง การผสม45-50%กับซิลิโคนoxime type จึงไม่เหมาะกับการเทหนาที่มีเลเยอร์หนาเกินกว่า 3 มิลลิเมตร ผิดกับชนิดกรดซึ่งเทหนาได้ 6-8มิลลิเมตรก็ยังทำปฏิกิริยาได้อย่างสมบูรณ์ อาจต้องมีการผสมทัลคัมเข้าไปหรือผสมกลีเซอรีนบริสุทธิ์ดูน่าจะช่วยได้(ยังไม่ได้ทดลอง)
..สรุปผลจากการทดลอง
น้ำมันซิลิโคน silicone oil ชนิด Dimethecone (Dimethyl Silicone) หรือน้ำมันซิลิโคนความหนืดต่ำ เทียบเท่า SF1000N-100 (DC200/100) ความหนืด 100 cST ใช้ในเครื่องสำอางค์ ผสมไม่เกิน 20% ใช้ได้ครับ ทำให้ข้นน้อยลงหรือทำงานง่ายขึ้นใช้กับกาวชนิดกรดหรือกาวชนิดoximeได้ทั้งนั้น แข็งตัวตามปรกติเหมือนซิลิโคนทั่วไปแต่อาจแห้งช้ากว่านิดหน่อย ถ้าผสมเกินหรือมากเกินไปจะแห้งช้า อ่านรายละเอียดด้านล่างครับมีรายละเอียดปลีกย่อยเยอะครับSilicone glue(acetoxy, oxime)+ silicone oil -Dimethecone 100 cST =<20% OK น้ำมันซิลิโคนชนิดไดเมทธิโคน ความหนืด 100 cST ไม่เกิน 20% ใช้ได้ครับ
Dimethecone (Dimethyl Silicone) หรือน้ำมันซิลิโคนความหนืดต่ำ มันมีรหัสดาต้าเทียบเท่าด้วย SF1000N-100 (DC200/100) ความหนืดน่าจะประมาณ 100 cST สำหรับผสมในเครื่องสำอางค์ ราคาลิตรละ สาามร้ออยบาท(ซื้อที่สำเพ็ง ร้านบุญชัยพานิช ลิงค์ที่อยู่เบอร์โทร)
โดยประมาณ แฮ่ๆตอนแรกไม่อยากจะซื้อเลยเพราะกะว่าเอามาทดลองถ้าใช้ไม่ได้จะเอาไปทำไรนี่ เนื่องจากคิดว่าคราวที่แล้วใช้น้ำมันซิลิโคนสำหรับการทำเหลวชนิดผสมกับซิลิโคนทำโมลด์ชนิดคอนเด็นเซชั่นเคียวซึ่งเป็นซิลิโคนที่มีความหนืดสูงแล้วถ้าผสมน้อยๆ20%กว่าจะแข็งก็ล่อกันเป็นวันๆหลายวัน ก็เลยมาลองหาซิลิโคนที่เหมาะสมชนิดอื่นๆซึ่งมีอยู่เยอะแยะมากมาย เลยสุ่มชี้มาตัวนึง(เล่นง่ายๆ) (คราวหน้าจะลองใช้น้ำมันซิลิโคนที่ผสมน้ำได้ชื่อ PEG-12 Dimethicone Fluid) ถ้าสนใจเรื่องซิลิโคนสำหรับเครื่องสำอางค์ เป็น pdf เมืองนอกกดลิงค์ดูเลย อีกที่ครับpdf มาดูผลการทดลองกัน
- ชนิดoxime และกรด ผสมประมาณ 20% อาจจะผสมเข้ากันยากหน่อยเพราะความหนืดต่างกันมากและมันก็ไม่ได้ละลายออกมาเหมือนกับการผสมในน้ำมันซักแห้ง คนๆเข้ามันก็ค่อยๆดูดน้ำมันซิลิโคนเข้าไปต้องใช้เทคนิกนวดๆหน่อย สรุปว่า ผสมเข้ากันได้ดี แห้งผิวเร็วตามปรกติราวๆ 10-15นาทีผิวเริ่มไม่ติดนิ้วแล้ว ไม่ไหลตัวเหลวซักเท่าไหร่แต่น่าจะพอเก็บผิวแบบได้ การคนต้องระวังถ้าไม่เคยเล่นซิลิโคนทำแบบมากก่อนการผสมจะโกยฟองอากาศเข้าไปเยอะ ต้องใช้การคนในลักษณะการนวดคือการกดหรือเกลี่ยเนื้อซิลิโคนเฉพาะตำแหน่งขึ้นลงๆหรือซ้ายๆขวาๆให้น้ำมันค่อยๆซึมเข้าไป ไม่ใช่การกวนวนเข้าไปทางซ้ายหรือขวาอย่างรวดเร็วทั้งก้อน ผมทดลองที่ความหนาประมาณ 1เซนติเมตร เท่าที่ดูๆมันก็ระเหยแข็งเหมือนกับซิลิโคนทั่วไปตามปรกติ ใช้เวลาประมาณ1วัน แกะมาตรงช่วงกลางหรือใจกลางมันยังไม่แข็ง ถ้าชิ้นงานมีความหนาหรือต้องการความหนาผมว่าต้องค่อยๆทำทีละชั้น ชั้นละ3-4มิลลิเมตร ทุก 2-3 ชั่วโมงก็น่าจะดีกว่าแล้วทิ้งพิมพ์ไว้อย่างน้อย 1 วัน เมื่อแกะพิมพ์พบว่ามันเก็บรายละเอียดได้ดีไม่มีฟองที่ผิวเอาคัตเตอร์หั่นดูมีฟองเล็กน้อย กาวทั้งสองชนิดเมื่อผสมแล้วความแข็งลดลงราวๆ 20% ความยืดหยุ่นดีครับเฟอร์เฟค แต่รู้สึกว่าชนิดoxime จะนิ่มลงมากพอสมควรแต่ผิวดีครับไม่ติดนิ้ว ถือว่าดีมากเลยครับ
ภาพข้างบนเป็นการผสมกาวซิลิโคนกับ20% v/v ซิลิโคนออยชนิด dimethecone ที่ใช้กับเครื่องสำอางค์ ความหนืด 100 cST ดีครับใช้ได้ แต่ไม่ควรผสมเกิน20% ผิวจะไม่แห้งแนะเหนียวๆอาจต้องทิ้งไว้นานหลายวัน (<20% 12hr to 1day dry vary thick layer ,>20% not recommended may be slow dry and surface may sticky a few day) - ชนิดoxime ผสมราวๆ 50% ก็คล้ายๆกันครับผสมยากสักหน่อย แต่พอเข้ากันได้ก็เก็บแบบได้ ลื่นดีแต่ไม่เหลวขนาดเทได้ ทิ้งไว้1วัน แกะออกมาพบว่ามันยังมีความเหนียวที่ผิวอยู่บ้าง ความแข็งลดลงไป50% สรุปคือไม่เหมาะครับ แค่พอใช้ได้ ผมคิดว่าผสมไม่เกิน 20 % จะดีกว่า
กาวชนิดกรดที่ผสมออยชนิดนี้ น่าจะเร่งแข็งได้ด้วยกลีเซอรีนบริสุทธิ์ 1-3% น่าจะแกะโมลด์ได้ใน 4-8 ชั่วโมง ถ้าไม่หนามาก3-4มิล ไปลองเอาเองนะครับเนื่องจากเคยลองกับน้ำมันแนปทาแล้วเวิร์ก
ผลการทดลองอื่นๆแบบไม่สรุปย่อ
เนื่องจากได้ทดลองผสมอะไรก็ตามที่อยู่ขวางหน้า มันคงไม่ได้ประโยชน์มากนักหรอกครับ แต่ดูในส่วนของกลีเซอรีนในยาสวนทวาร(ไว้จะทดลองด้วยกลีเซอรีนบริสุทธิ์ดูอีกทีน่าจะได้ผลเหมือนกันครับเนื่องจากในเว็บมีคนทดลองแล้ว)ซึ่งช่วยเร่งทำให้กาวซิลิโคนแข็งเร็วขึ้นอย่างมาก และแข็งแบบซึมลึกซึ่งจะเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแน่นอน ลองอ่านข้ามไปดูที่กลีเซอรีนดูนะครับ
ไม่ได้ผสมอะไร
- ชนิด กรด เป็นกาวยี่ห้อ… ราคา65-70 สีใส…. มีความหนืดสูง มีความเร็วในการแห้งผิวอย่างรวดเร็วประมาณ5 นาที (เอานิ้วแตะไม่ติดนิ้ว) ความแข็งยางน้อยกว่าชนิดoxime (น่าจะแล้วแต่ยี่ห้อนะ) ความหนาขนาด 4-5มิลลิเมตรใช้เวลาแข็ง( 80เปอร์เซนต์ของความแข็ง) 5-8 ชั่วโมง แต่ยังแกะพิมพ์ไม่ได้ ต้องทิ้งไว้อย่างน้อยข้ามคืน ปฏิกริยาจะสิ้นสุดพอแกะได้ก็คือเริ่มหมดกลิ่นกรด แต่ถ้าหนาเมื่อแกะแบบออกมายังมีกลิ่นกรดอยู่ ยี่ห้อที่ใช้ทดสอบ ยี่ห้อ bravo 101 ซึ่งมีความนิ่มกว่าและยืดหยุ่นกว่า ยี่ห้อ 3di ยี่ห้อ3di นี้ความแข็งใกล้เคียงกับsony อ่อนกว่านิดหน่อย ที่ใช้หลักในการทดลองส่วนใหญ่เป็นยี่ห้อ bravo
- oxime เป็นกาวยี่ห้อโซนี่ชนิดสีขาว ราคา150- … มีความหนืดสูงสูงกว่าชนิดกรด ความแข็งยางดีกว่าชนิดกรดอยู่20-30เปอร์เซนต์คือแข็งกว่า(แล้วแต่ยี่ห้อชนิดกรด) ความเร็วในการแห้งผิวประมาณ 5-10 นาที(เอานิ้วแตะไม่ติด) การแข็งตัวจะช้ากว่าชนิดกรดเล็กน้อย ความหนาขนาด 4-5 mm ใช้เวลา 7-10 ชั่วโมง (80เปอร์เซนต์) แต่ยังแกะพิมพ์ไม่ได้ ต้องทิ้งไว้อย่างน้อยข้ามคืน ปฏิกริยาจะสิ้นสุดพอแกะได้ก็คือเริ่มหมดกลิ่นเคมีที่มันปล่อยออกมา
น้ำมันซักแห้ง น้ำมันสน น้ำมันก๊าด อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยผสมในอัตราส่วน 20-30% พบว่า Good
- ชนิด กรด การละลายค่อนข้างดี แต่ถ้าเอาไม้คนมันอาจเข้ากันลำบากหน่อยเนื่องจากซิลิโคนจะแยกจากกันเป็นหย่อมๆถ้าใช้ไม้คนเนื่องความข้นเหลวต่างกันมาก ควรใช้สว่านคน หรือไม่ก็ใช้วิธีเขย่าในถ้วยปิดเหมือนในคลิ๊ปยูทูป แข็งตัวเร็วและแข็งดีแต่ความแข็งลดลงไปจากเดิม20-30เปอร์เซนต์ค่อนข้างมาก (ความเร็วในการแข็งตัวน่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย) เอานิ้วแตะไม่ติดประมาณ 1ชั่วโมง ขนาดความหนา3-5 มิลลิเมตร ใช้เวลาแข็งเมื่อรู้สึกว่าเอานิ้วกดแล้วเช็ทตัวดีใน3ชั่วโมงซึ่งยังมีกลิ่นกรดและน้ำมันซักแห้งยังมีกลิ่นค้างอยู่ การติดกับกระดาษการติดน้อยลองลอกแกะออกได้ง่ายจากกระดาษ ผ่านระยะ 8 ชั่วโมงมีกลิ่นน้ำมันซักแห้งค้างอยู่แต่กลิ่นกรดน้อยมาก
- oxime การละลายดีมากแทบเป็นเนื้อเดียวกัน เอาไม้คนก็ไม่มีปัญหา แต่แห้งหรือแข็งตัวช้ากว่าชนิดกรด ใช้เวลาเซทตัวเมื่อกดแข็ง ผิวหน้ากว่าจะแตะไม่ติดใช้เวลามากกว่า2.5 ชั่วโมง หนา3-5 mmรู้สึกว่ากดแล้วแข็งดีใน 6-7ชั่วโมงแต่ยังมีกลิ่นน้ำมันตกค้างอยู่กลิ่นสารระเหยของoximeน้อย ความแข็งลดลงไปเล็กน้อยประมาณ10-15เปอร์เซนต์ ความเป็นกาวที่ติดกระดาษได้ยังอยู่ในเกณท์ดี ลอกไม่ออกเอาเล็บขูดก็ไม่ออก เมื่อผ่านระยะ8-10 ชั่วโมงดูเหมือนกลิ่นสารระเหยขณะทำปฏิกริยาน้อยมาก
ในแง่กลิ่นตกค้าง ขณะผ่าน 10 ชั่วโมง น้ำมันก๊าด(ให้9) > น้ำมันสน(7) > น้ำมันซักแห้ง(3 เหม็นค้าง)
ในแง่การผสมเข้ากันดีสำหรับชนิดกรด น้ำมันก๊าด(ให้9) > น้ำมันซักแห้ง(8) > น้ำมันสน(6)
น้ำมันเบนซิน95 ผสม 20% ก็พอใช้ได้ครับแต่ไม่ค่อยแนะนำเท่าไหร่ การผสมราว20%มันมีปัญหาเวลาผสมลงไปมันดูไม่เหลวเท่าไหร่แถมคนแล้วก็มีฟองเก็บไว้ในยางเยอะกว่าตัวอื่นๆ คิดว่าน้ำมันเบนซินมันมีความเข้ากันได้น้อยกว่า เพราะถ้าเริ่มผสมมากเกิน 40-50% จะเกินการเก็บฟองเข้าไปในยางมากมายเป็นเพราะว่ายางบวมจากน้ำมันเบนซินมากกว่ามันละลายในน้ำมันเบนซิน95 ดูตามรูป
รูปบน ถ้าผสมประมาณ 20 เปอร์เซนต์ก็พอทำให้เหลวได้ แต่มันมีลักษณะบวมมากกว่าละลายตอนผสมจะรู้สึกว่าใส่เท่าไหร่มันก็ข้นๆ แต่พอผสม 50 เปอร์เซนต์จะรู้สึกว่ามันบวมน้ำมันมากๆจนเวลาคนมันดูดฟองเข้าไปในเนื้อมากกว่า ไม่ควรใช้
น้ำมันสน น้ำมันก๊าด อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยผสมในอัตราส่วน 45-55% พบว่า
- ชนิด กรด การผสมไม่ค่อยลื่นเข้าเนื้อกันง่ายคล้ายๆกับตัวบน ควรต้องเขย่าหรือ เอาใบพัดเล็กติดสว่านคนๆ เมื่อผสมแล้วเหลวดีพอทาได้ แต่จะเซ็ทแบบเทแล้วไม่ไหลใน10นาที ผ่านไป 6-7ชั่วโมง นิ้วแตะก็ยังเหนียวผิว ยังมีกลิ่นเปรี้ยวอยู่แต่กลิ่นน้ำมันยังแรงกว่าและแรงพอๆกันทั้งสองน้ำมัน ความแข็งลดลงไปประมาณ30-40เปอร์เซนต์ เมื่อแกะออกมาดูตอน7ชั่วโมงที่ความหนามากกว่า7-10เซนถายในจะแข็งตัวช้าแต่ก็แข็งกลิ่นเปรี้ยวภายในยังมีมากเมื่อกลับเอาในออกนอก แต่ผิวในแข็งไม่ติดนิ้วอาจเป็นเพราะมีการผสมรอบแรกที่เซทตัวดีผสมแค่ 20เปอร์เซนต์ แต่ที่ผิวนอกมันมีน้ำมันผสมอยู่เยอะกว่า
- oxime มีการละลายดีมากเป็นเนื้อเดียวกัน แต่จะเซ็ทตัวไม่ไหลใน 5 นาที ผิวแห้งแตะได้ใน3-4ชั่วโมง ผ่าน7ชั่วโมงเหมือนเริ่มแข็งได้ที่ ความแข็งลดลงไป20-25 เปอร์เซนต์ กลิ่นน้ำมันเริ่มหาย แต่กลิ่นที่oxime ยังทำปฏิกริยายังมีกลิ่นอยู่ ที่ผสมน้ำมันก๊าด ยังมีกลิ่นoximeอยู่ (เนื่องจากผสมถึง 55 เปอร์เซนต์) แต่กลิ่นน้ำมันน้อยกว่า ชิ้นงานหนาเกิน3.5มิล ภายในจะไม่แข็งตัวจะแข็งตัวแค่ 3.5 mm คล้ายกับว่าก๊าซภายในไม่สามารถระเหยออกมาได้จากถ้วยคน หรืออาจเป็นเพราะคนไม่เข้ากันดี
เบบี้ออย สามารถผสมเบบี้ออยลงใน ซิลิโคนกาวได้ทั้งชนิดกรดและ oxime แต่มันไม่ได้ช่วยทำให้เหลวหรือเก็บแบบได้ง่ายขึ้น บันทึกเอาไว้เฉยๆว่าผสมลงได้
- ชนิดกรด ผสม 10-15% ก็พอผสมได้แต่เข้าใจว่ามันไม่ได้ช่วยละลายหรือทำให้เหลวลง แต่ซิลิโคนกรดจะไม่ดูดซึมน้ำมันเบบี้ออยเท่าไหร่ น่าจะไปปนๆอยู่ระหว่างช่องว่างผิวสารซิลิโคน เมื่อเอาไปทดสอบป้ายติดกับกระดาษลังพบว่ามีน้ำมันซึมผ่านกระดาษลังเป็นวงกว้างมาก แสดงว่ามันไม่ค่อยดูดซึมเบบี้ออย สามารถแกะออกจากกระดาษลังได้เมื่อเซทตัวสนิทดีใช้เวลา 1 วันทีความหนา6-7มิล ข้อสังเกตคือมันผสมไม่ค่อยเข้าเนื้อ ก็บันทึกเอาไว้เป็นหลักฐาน ความแข็งยางก็ใกล้เคียงเดิม ส่วนระยะเวลาแห้งผิวไม่ได้บันทึกเอาไว้ ถ้าผสมมากกว่านี้ถึง 30% น้ำมันจะไม่ซึมเข้าเนื้อได้แต่กวนไปกวนมามันแข็งตัวได้ครับแต่น้ำมันที่ตกค้างก็มาออกันที่ผิวนอกของซิลิโคน
- oxime ผสม 10-15% ผสมเข้ากันได้ดีพอใช้ แต่ไม่ได้ช่วยทำให้เหลวเอาไปเก็บแบบอย่างที่คิดไม่ได้ แต่ซิลิโคนจะดูดกลืนน้ำมันแทบทั้งหมดเอาไปป้ายกับกระดาษลังก็ไม่มีน้ำมันซึมผ่านแต่อย่างใด ความแข็งยางได้ใกล้เคียงเดิมลดลงไปเล็กน้อย8-10% ถ้าผสมมากถึง 30% มันจะตกค้างอยู่ตามผิวไม่ดูดซึมอีก แต่ไม่ได้มีผลต่อการแข็งตัว ความเร็วในการเซทตัวผิวไม่ได้บันทึกเอาไว้ แต่ความแข็งยางจะลดลงไป18-25% ที่ความหนาราวๆ 6มิลใช้เวลาประมาณ 1 วันแข็ง
น้ำมันซิลิโคนหรือซิลิโคนออย (Silicone Oil) สำหรับทำให้เหลวใช้ผสมในพวกซิลิโคนRTVชนิดคอนเด็นเซชั่นเคียว ซื้อได้ที่ร้านขายเรซิ่นซิลิโคนทั่วไป ผสมในอัตรส่วน 20% และ 50%พบว่า Fail เนื่องจากซิลิโคนออยเป็นน้ำมันที่ไม่ระเหย และผลของปฏิกิริยาชนิดกาวไม่กลืนหรือไม่ทำปฎิกิริยาอย่างสมบูรณ์กับออยหรือทำปฏิกิริยาเพียงบางส่วนกับออย ที่เหลือออยแทรกซึมลงไปอยู่ในอนู
- ชนิด กรด อัตราส่วน20%จะมีการผสมเข้าเนื้อกันดีแต่ไม่ดีเท่าน้ำมัน ผ่านไป10ชั่วโมงผิวหน้ายังไม่หายเหนอะแต่เนื้อในแข็งได้พอควรไม่มีกลิ่นเปรี้ยว ความแข็งลดลงไปจากเดิม20-30เปอร์เซนต์ คุณสมบัติกาวติดกระดาษน้อยลง เอาเล็บขูดออกได้สบาย ถ้าผสม50%การผสมจะไม่ค่อยเข้าเนื้อ มีลักษณะไม่แห้งเนอะตลอดเวลาและนิ่มเหนียวเหมือนไม่เซทตัว
- oxime ลักษณะจะคล้ายกับชนิดกรด แต่ผสมเข้าเนื้อกันดีมากๆ ชนิดผสม20%จะมีการระเหยของสารระเหยจาก oxime ตลอดเวลา10 ชั่วโมงเหมือนปฏิกิริยาค่อยๆเกิดแม้หนาเพียง3-4มิลผิวเหนาะแข้งตัวช้ามากอย่างต่ำ24ชั่วโมงผิวเริ่มหายเหนอะ ความแข็งลดลงไป30เปอร์เซนต์ พอใช้ได้แต่ไม่ค่อยดี แข็งสนิทต้องทิ้งไว้2-3วัน หรือไม่ก็ผสมให้น้อยๆเหลือแค่10%อาจจดี แต่ชนิด50% มีกลิ่นปฏิกิริยานาน2วัน และผิวเหนาะตลอดเวลาแม้ทิ้งไว้เป็นอาทิตย์ ไม่เซทตัว100เปอร์เซนต์ ความแข็งต่ำมาก
..ตัวเร่งแข็งประเภทเซทตัวเร็วหรือเซทตัวแบบซึมลึก
เนื้องจากผมไม่รู้คุณสมบัติของกลีเซอรีนเมื่อได้ทดลองแล้วก็เลยตั้งหัวข้อขึ้นในภายหลัง พบว่ามันเร่งแข็งได้ดีมากและเป็นแบบซึมลึกคือเนื้อหนาๆมันก็เร่งแข็งได้ในอัตราเร็วที่เข้ากัน
กลีเซอรีนบริสุทธิ์ ในยาสวนท้องผูก เนื่องจากพอดีไม่มีกลีเซอรีนเพียวๆ ก็เลยใช้ยาสวนท้องผูกชนิดเทียนซึ่งมีส่วนผสมของโซเดียมสเตียเรทหรือสบู่เล็กน้อย(9%W/W) เปิดฝามาเอาแต่ที่ละลายเป็นน้ำ(น่าจะพอแก้ขัดได้)ผสมลงไปผสมในอัตรส่วน 3% และ 10% v/v พบว่า…
กลีเซอรีนบริสุทธิ์หาซื้อตามร้านเคมีภัณท์เครื่องสำอางค์ (เช่นย่านสำเพ็ง, หรือจะสั่งซื้อผ่านทางเว็ปก็มีขาย) ซึ่งมันมีคุณสมบัติละลายในน้ำได้ดี ไม่ระเหยในอากาศได้ง่าย(จุดเดือดสูง290 c) ถ้าถูที่มือจะมีลักษณะคล้ายน้ำมันที่ซึมซาบเร็วแต่ไม่เหนอะเหมือนน้ำมัน เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางค์ที่เป็นของเหลวหลายชนิดหลายยี่ห้อ ถ้าหายากนักก็ไปซื้อยาสวนทวารชนิดเทียนตามในรูปที่ร้านขายยาทั่วไป เอาไดน์เป่าผมเป่าสักหน่อยที่เป่าที่กล่องพลาสติก เป่าไกลๆหน่อยนะเด๋วยาเสีย หรือแช่ในน้ำอุ่นทั้งกล่องพลาสติกไม่ต้องเปิดฝา น้ำอุ่นๆสัก 50 องศาก็พอแล้วครับ พอให้มันละลายเป็นน้ำได้ ส่วนสบู่ผมไม่ทราบว่ามีส่วนเร่งปฏิกิริยาเคมีเพิ่มขึ้นหรือลดลงมากน้อยอย่างไรขี้เกียจทดสอบครับ
thank pic from http://topicstock.pantip.com/family/topicstock/2011/08/N10894482/N10894482.html ผลการผสมกลีเซอรีน 3%, 10%ไม่ได้ทำให้มันเหลวขึ้น แต่ทำให้มันแข็งเร็วขึ้น เกิดความแข็งยาง70%(ยังไม่สิ้นสุดปฏิกิริยา) ตามปรกติใช้เวลา 5-6 ชั่วโมง กลายเป็นแข็ง 10-15 นาทีซึ่งมันแข็งทั้งก้อนแบบไม่เลือกความหนาซะด้วย(ทดลองที่ความหนา 1 เซนติเมตร) เปอร์เซนต์ที่ผสมมากไม่ได้ทำให้แข็งเร็วขึ้น แต่ทำให้ผสมยากขึ้นมันเหนียวข้นยิ่งขึ้นขณะผสม
- ผลการทดลองอ่านข้างบน สรุปได้ว่ากลีเซอรีน เป็นตัวเร่งแข็งที่ดีมาก สำหรับชนิดกรด มีเจล์ไทม์(เวลาที่เซทตัวเป็นของแข็งข้นที่ไม่สามารถทำอะไรได้) ประมาณ3- 5 นาที
- ชนิดกรด ใช้เวลาในการเซทตัวได้ความแข็งยาง70% ในเวลา 15 นาที และเป็นการแข็งตัวแบบซึมลึก ซึ่งยังไม่สิ้นสุดปฏิกิริยา มันดูดซึมกลีเซอรีนได้ดีกว่าoxime ในอัตราส่วน3เปอร์เซนต์น้ำมันกลีเซอรีนจะตกค้างน้อยกว่าชนิดoximeและยังสามารถติดกระดาษลังได้ แต่ถ้าผสมมากถึง8%มันจะค่อยๆข้นขึ้นและมีกลีเซอรีนตกค้างตามผิวและเนื้อในเยอะแต่ไม่ได้ช่วยให้แข็งเร็วขึ้นเท่าที่ดูมันก็แข็งเร็วพอๆกัน ฉะนั้นถ้าจะเอาไปใช้เพื่อเร่งแข็งไม่ควรใส่เยอะ ไม่ควรเกิน 3 เปอร์เซนต์ ในยูทูปเขาใส่กันน้อยมากไม่ถึง 0.5เปอร์เซนต์ ประมาณ5 หยด ต่อซิลิโคนครึ่งถ้วยกินน้ำเล็กๆ ความแข็งยางขณะแห้งสนิทลดลงเพียง 5-10 เปอร์เซนต์ สามารถแกะโมลด์ได้ใน 2 ชั่วโมง แต่ แข็งสนิทอาจกินเวลา1วันตามปรกติ Glycerin<3% in Acetoxy Silicone,best to quicken cure moisture reaction,deep setting (thick layer can be used) , 70% hardness in 15 minute, best for acetoxy type ,unmolded time in 2 hours(not complete cure but good enough).
- ชนิด oxime น่าจะมีปัญหากับกลีเซอรีน เนื่องจากกลีเซอรีนมันทำลายความแข็งยางซึ่งเป็นข้อดีของชนิดoxime ความแข็งยางขณะแห้งสนิทลดลงมากถึง30-35% กดดูเหมือนจะเป็นลักษณะของฟองน้ำมากขึ้น ไม่ใช่นิ่มแบบยืดหยุ่น ความเร็วในการแข็งตัวแม้จะเซทตัวเร็วราวๆ 20-40 นาที แต่พบว่าภายในยังนิ่มแบบฟองน้ำกว่าจะเซทตัวสนิทก็10 ชมถึงจะได้ความแข็งพอแต่กว่าจะถอดโมลด์ได้ไม่ต่ำกว่า1วัน ผมว่าไม่ควรใช้นะครับ แม้ว่าความเป็นกาวติดกระดาษลังยังดีอยู่แต่มันดูดกลืนกลีเซอรีนได้ไม่ดีเท่าชนิดกรด Oxime type have a problem with Glycerin ,make silicone hardness decrease 30-45% ,may destroy normal bond ,it like elastic sponge ,not elastic rubber . It is quick for deep setting in 20-40 miniute but have a something wrong in internal bond (internal not steady hard), unmolded time 1 day over,not recomended.
- คนคิดได้นี่ก็เก่งนะครับมันเร่งแข็งทั่วทั้งก้อนเลยชิ้นงานหนาๆก็แข็งแบบซึมลึก ลองใช้สูตรผสมทัลคัมล้วนๆ(กับซิลิโคนกรด 1:2) มันแข็งเร็วจริง(20นาที)ที่เลเยอร์1.5มิลได้ความแข็ง70เปอร์เซน แต่ไม่แข็งเร็วแบบซึมลึกแบบกลีเซอรีน ถ้าหนาๆเกิน 1.5 มิลก็ใช้เวลาแข็งนาน5-6 ชั่วโมงจึงเริ่มแข็งแบบซึมลึก ชิ้นงานที่ทดสอบความหนา7-8 มิล สรุปทัลคัมก็ไม่ได้ช่วยให้แข็งเร็วขึ้นเท่าไหร่
- ไว้จะทดลองด้วยกลีเซอรีนบริสุทธิ์จริงๆที่ไม่ผสมสบู่จากยาสวนทวาร เพราะผมคิดว่าสบู่อาจไปลดความเหนียวของซิลิโคน ต้องไปหาซื้อก่อนค่อยมาทดลองอีกที
กลีเซอรีนบริสุทธิ์ ทดลองอีกครั้งพบว่ายังยืนยันเหมือนเดิมครับ วันก่อนไปสำเพ็งมาก็เลยซื้อ Glycerin ที่ร้านบุญชัยพานิช รู้สึกว่ามันถูกจังร้านนี้ 1ลิตร ราคาประมาณ หนึ่องร้ออยบาท เกรดเครื่องสำอางค์ด้วยครับ เนื่องจากคราวที่แล้วใช้กลีเซอรีนชนิดสวนทวารที่มีส่วนผสมของสบู่ เลยไม่กระจ่างชัด มาคราวนี้เลยทดลองกันให้ชัดไปเลยครับ รู้สึกว่ามันมีแรงตึงผิวสูงกว่าชนิดสวนทวารมากเพราะเทแล้วเป็นเม็ดน้ำกลมๆเม็ดใหญ่ๆ
- ชนิดกรด ผสมราวๆ 3-5% กะๆเอา พบว่า การผสมและการทำงานง่ายขึ้นจริงๆครับดีกว่าชนิดสวนทวารมากมาย ลื่นและป้ายไปมาได้ง่าย ผมว่าสำหรับชนิดกรดในกลีเซอรีนบริสุทธิ์ก็ทำให้ป้ายซิลิโคนไปมาได้ง่ายอาจไม่ต้องทำให้เหลวเลยก็ได้ครับ เมื่อผสมแล้วรอมันเซ็ทตัวใช้เวลาราวๆ 3-4นาทีก็ทำอะไรต่อไม่ได้แล้ว ถ้าจะได้ความแข็งสัก 70%ของความแข็งที่มันทำได้พบว่าใช้เวลาราวๆ15 นาทีตั้งแต่ตอนเริ่มผสม สรุป เวิร์กครับ แต่ต้องผสมให้เข้ากันอย่างทั่วๆ โดยอาจผสมสีอครีลิกลงไปเล็กน้อยจะได้สังเกตเห็นได้ทั่ว การแข็งก็เป็นแบบซึมลึกอย่างที่ว่า ความแข็งลดลงเล็กน้อย5-10%
- ชนิดoxime ผสมราวๆ 8% กะๆเอาเช่นกัน การผสมไม่ง่ายครับ ไม่ลื่น แต่เซ็ทตัวเจลไทม์ไล่เลี่ยกันราวๆ 3-4 นาที แต่ความแข็งมีปัญหาเหมือนกับกลีเซอรีนชนิดสวนทวารแก้ท้องผูก โดยความแข็งลดลงอย่างน้อย35% และมีลักษณะความยืดหยุ่นแบบยางลดลงไปเป็นมีลักษณะคล้ายฟองน้ำที่ยุบตัวได้มากกว่า ไม่เวิร์กครับ ไม่แนะนำ
- ชนิดoxime ผสมราวๆ 3% ผสมง่ายครับ ลื่นพอสมควรน่าจะพอเก็บรายละเอียดได้ เจลไทม์ 3-4 นาที ผมว่าเวิร์กครับไม่ต้องผสมมากครับตามที่เขาทดลองๆกันน่าจะดีแล้วครับ แต่มีปัญหาเรื่องความแข็งครับเหมือนข้างบน สรุปไม่แนะนำสำหรับการผสมกลีเซอรีนกับกาวซิลิโคนชนิดoxime ผมว่าไม่ต้องเร่งให้แข็งเร็วขึ้นเลยโดยเฉพาะชนิดoxime
จริงๆกลีเซอรีนถ้าเอาไปผสมพร้อมน้ำมันที่ทำให้เหลวโดยเฉพาะกับกาวกรด ก็เร่งให้แข็งได้ครับจะได้ถอดโมลด์ได้ใน 5-8 ชั่วโมง (ความหนาไม่เกิน 3-4มิล) เป็นสูตรที่แถมให้ แข็งเร็วดี
สูตรเหลวและแข็งเร็ว =
น้ำมันผสมให้เหลว 20% +กลีเซอรีน 1-3% +กาวซิลิโคนชนิดกรด
เบบี้โลชั่น ผสมเบบี้โลชั่นของจอห์นสันขวดสีชมพูในอัตราส่วน 15% และ 30% พบว่า เฉพาะชนิดกรดสามารถเร่งแข็งแบบซึมลึกได้ แต่การเร่งแข็งช้ากว่ากลีเซอรีนบริสุทธิ์มาก โดยเฉพาะการแข็งผิวใช้เวลาไม่น้อยกว่า1ชั่วโมง แต่สามารถแกะโมลด์ออกได้ใน 4-5 ชั่วโมง(ความแข็งที่ได้ในตอนนั้นจะได้ 70-80 เปอร์เซนต์ ยังไม่หมดปฏิกิริยา แต่ล่อนออกจากแบบได้สบายและไม่ติด) แต่ตอนผสมค่อนข้างยากกว่ามาก เนื่องจากเบบี้โลชั่นมีน้ำเป็นส่วนผสมค่อนข้างมากและมีกลีเซอรีนไม่มากและก็มีส่วนผสมอื่นๆเช่นน้ำมันเบบี้ออย เม็ดสี ผงแป้ง เวลาผสมซิลิโคนจะดูดกลืนส่วนผสมเกือบทั้งหมดที่ไม่ใช่น้ำ ถ้าผสมแล้วมีน้ำเหลือผสมไม่เข้ากันก็เทน้ำสีชมพูทิ้งไปซะ ส่วนใหญ่จะมีน้ำเหลืออยู่30-40 เปอร์เซนต์ของโลชั่นที่ใส่เข้าไป (ต้องทิ้งน้ำ)ความเป็นกาวลดลงอย่างมากลอกออกจากกระดาษลังได้สบาย ความแข็งยางลดลงเล็กน้อย 8-10% ความยืดหยุ่นดีปรกติ ผลที่ได้ก็น่าพอใจครับกลิ่นหอมดีครับ ผมว่าผสมเพียง 15% ก็พอแล้วครับหรืออาจจะน้อยกว่าก็ได้(ทดลองเอาเองนะ) ส่วนชนิดoximeใช้ไม่ได้มันทำลายพันธะไม่กินกันดังรูป
ภาพด้านบนเป็นการผสมกาวซิลิโคนด้วยเบบี้โลชั่น ชนิด oxime ใช้ไม่ได้ แต่ชนิดกรดใช้ได้ผลดีสำหรับการแข็งตัวแบบซึมลึก แต่การผสมจะยากสักหน่อยเพราะผสมไม่ค่อยเข้ากันได้ง่ายๆ
เมทานอล (Methl Alcohol 100%) หรือแอลกอฮอล์สำหรับผสมชแล็ค ผสมในอัตราส่วน 20-30% โดยปริมาตร กะๆเอา พบว่า Fail
- ชนิด กรด เมือฉีดซิลิโคนลงในเมทานอล คนผสมกันด้วยปลายด้ามพู่กันอันเล็กความไม่เข้ากันในส่วนผสมและทำลายการจับตัวกัน อีกทั้งยังแข็งช้ามากไม่แห้งเละติดนิ้วและเป็นขุยๆยุ่ยๆไม่เข้ากัน ใช้ไม่ได้ครับ เวลาผ่านไป 7ชั่วโมง เริ่มเอานิ้วแตะได้
- oxime มีการแยกตัวขณะผสมอย่างเห็นได้ชัดเหมือนผสมดินน้ำมันนุ่มๆในน้ำ ไม่เข้ากัน แต่ไม่ทำลายการจับตัวกันตอนผสมสังเกตได้ว่าไม้คนไม่จับกับซิลิโคนแม้แต่น้อย เหมือนยับยั้งความเป็นกาวระหว่างวัสดุคน กับถ้วย ทำให้เกิดผิวหยาบๆเหมือนโดนรีดน้ำมันออกจากซิลิโคน การแห้งแข็งตัวค่อนข้างเร็วตามปรกติแต่เอานิ้วแตะไม่ติดนิ้วตั้งแต่ตอนคนแรกๆ ความเป็นกาวที่ติดกระดาษยังดีเยี่ยมแกะไม่ออกเลย สรุปเอามาผสมทำให้เหลวไม่ได้ครับ เมื่อแห้งสนิทพบว่าซิลิโคนสีขาวที่ปาดเข้าไปเป็นชั้นๆรู้สึกว่ามันไม่กินกันสนิทสรุปคือมันก็ทำลายเนื้อกาวเหมือนกัน
Durex play lubricant (Durex Play Pleasure-enhancing Personal Lubricant Lube) 20% Fail ผสมแล้วไม่เข้าเนื้อกันตีกันและเกิดฟองผสมลง
น้ำยาล้างเล็บ ยี่ห้อ top ที่มีส่วนของ acetone น้ำ และ โพรไพลีนไกลคอล เกิดฟองมากมายเนื่องจากมันบวมตอนผสมดูเหมือนผสมกันได้ แต่พอเซทตัวสนิทจะเกิดฟองมากมายในชิ้นซิลิโคน ผสมในอัตราส่วน 20-40%
น้ำยาเคลือบไม้ยูรีเทนชนิดแข็งและแห้งด้วยการทำปฏิกิริยากับความชื้นในอากาศ ผสมกับกาวซิลิโคนoximeได้ครับ ในอัตราส่วน 20-40% มันก็แข็ง ดูแล้วต่างคนต่างแข็งอยู่ในก้อนเนื้อเดียวกันกดดูรู้สึกถึงความแข็งของยูรีเทนปนๆกับยางที่รู้สึกนิ่มกว่าของซิลิโคนไม่ได้เข้าเนื้อกันเป็นเนื้อเดียวกันหรอกครับ ก็คงไม่ได้เอาไปใช้ประโยน์อะไรก็บันทึกเอาไว้เป็นหลักฐาน
19,375 total views, 6 views today
Were you aware that messages that come through on your website contact form are in fact an effective method to get more visitors and sales for your website? How do we do this? Easy peasy, we craft an ad text like this one for your business and we submit it to tons of website contact forms on any kind of website you want. Do ads like these work well? You’re living proof that they do since you’re reading this message right now The best part is, this doesn’t cost more than a cup of coffee a day! Want more info? write an email to: UlisesMelinav85668@gmail.com