มาทำอุปกรณ์เชื่อมแผ่นผ้าใบพีวีซีกันเถอะ ตอน1- 012 ทำลูกกลิ้งซิลิโคน(กดกลิ้งร้อนเชื่อมแผ่นคูนิล่อน)จากกาวซิลิโคน

 

มาทำอุปกรณ์เชื่อมแผ่นผ้าใบพีวีซีกันเถอะ EP1- 012  ทำลูกกลิ้งซิลิโคน(กดกลิ้งร้อนเชื่อมแผ่นคูนิล่อน)จากกาวซิลิโคน  DIY pressure silicone roller(from silicone glue) for Tarpaulin welding

สวัสดีครับเพื่อนๆที่สนใจในงาน DIY วันนี้เราจะมาทำลูกกลิ้งซิลิโคน กันครับ

โดยหน้าตาที่จะทำ ภาพที่ได้เป็นลูกกลิ้งซิลิโคนจากยี่ห้อ everhard

pressure silicone roller ยี่ห้อ everhard สำหรับงานเชื่อมตะเข็มของแผ่น Tarpaulin เช่น แผ่นคูนิล่อน ประมาณแผ่นพลาสติกคลุมรถบรรทุก หรือแผ่นพีวีซีบางๆ ประมาณ0.45-0.8 mm
pressure silicone roller ยี่ห้อ everhard สำหรับงานเชื่อมตะเข็มของแผ่น Tarpaulin เช่น แผ่นคูนิล่อน ประมาณแผ่นพลาสติกคลุมรถบรรทุก หรือแผ่นพีวีซีบางๆ ประมาณ0.45-0.8 mm

ที่ยังไม่ถูกคือ http://www.pui108diy.com/wp/wp-content/uploads/2015/07/pressure-silicone-roller-everhard.jpg
รอการแก้ไข

 


ดูเหมือน vdo ยังไม่ถูก https://www.youtube.com/embed/sAhrUK0ud8Q

ทำไปทำไมครับซื้อเอาก็ได้ ใช่ครับราคาอย่างถูกที่สุดคือ 600 บาท ราคาเฉลี่ยอยู่อันละ900 บาท อ่ะครับในเมื่อทำเองได้ผมก็อยากจะทำเองซะมากกว่า ผมจะเอาไปใช้อะไรหรือครับ ก็ใช้เชื่อมแผ่นคูนิล่อนสำหรับทำบ่อเล็กๆ หรือกระถางจากแผ่นผ้าใบพลาสติก ถ้าถามผมว่ามีเครื่องเชื่อมแล้วหรือยัง อ่ะใช่ครับมันคือโปรเจ็คต่อไป คือทำเครื่องเชื่อม หรือปืนเป่าลมร้อนสำหรับงานเชื่อมแผ่นผ้าใบพลาสติกคือมันราคาถูกที่สุดตั้ง6พันบาท ถ้าซื้อแนวๆเยอรมันออสเตเลียก็ราวๆ9พันบาท ไม่อยากจะซื้ออยากเอาเงินไปซื้ออย่างอื่นมากกว่าก็เลยจะทำเองอีกเหมือนกัน

หน้าตาของลูกกลิ้งร้อนซิลิโคนอันนี้ถ้าทั่วๆไปก็ประกอบด้วย ด้าม ข้างในมีลูกปืน และยางซิลิโคนสีแดงๆซึ่งมีขายหล่อเองได้เกรดทนความร้อนพิเศษ ราคากิโลละพันแปด กับกาวสำหรับเชื่อมยางซิลิโคนชนิดหล่อ(ที่ไม่ติดกับอะไรเลย)ให้ติดกับโลหะเช่นลูกปืน อีกกระป๋องละพันเจ็ด ถ้าราคานี้ผมสั่งซื้อลูกกลิ้งยางในอีเบย์ ดีกว่า Silicone Seam Roller  หรือจะหาซื้อในเมืองไทยราคาอันละ1พันบาท ดีกว่าหล่อเองใช้เองคนเดียว ถ้าจะหล่อมาขายก็ว่าไปอย่าง ซิลิโคนกิโลนึงอาจหล่อได้สัก12-14 อันทำมาขายอย่างนี้ยังพอลุ้น

หน้าตาของลูกกลิ้งซิลิโคนทั่วๆไป มีด้าม มีก้าน มีลูกปืน และมีซิลิโคนแดงๆชนิดทนความร้อนได้ถึง 280 C
หน้าตาของลูกกลิ้งซิลิโคนทั่วๆไป มีด้าม มีก้าน มีลูกปืน และมีซิลิโคนแดงๆชนิดทนความร้อนได้ถึง 280 C

รูปนี้ก็ก็อปเขามาดูเหมือนยังไม่ถูก http://www.pui108diy.com/wp/wp-content/uploads/2015/07/pressure_silicone_roller_typical.jpg

 

ก็เลยจะทำจากซิลิโคนกาวนี่แหละ ใช้กาวซิลิโคนของโซนี่(ไปซื้อร้านฮาร์ดแวร์ทั่วไปบอกซิลิโคนโซนี่เขารู้) รูปทางด้านซ้ายนี่แหละ หรือจะใช้กาวซิลิโคน100%อะไรยี่ห้ออะไรก็ได้ที่ไม่ใช่ซิลิโคนกรดเอาชนิดแบบ oxime(แพงกว่า) หรือแบบที่ไม่ใช่กรด สำหรับงานกระจกอ่ะ ขอยี่ห้อดีๆหน่อยละกัน

silicone_sealant_ex

จริงๆวิธีการเลือกใช้กาวซิลิโคนผมเลือกมามั่วๆน่ะ เท่าที่เข้าใจคุณสมบัติทางฟิสิกส์กาวที่ไม่ใช่แบบกรดน่าจะดีกว่า เป็นสมมติฐานของผมเท่านั้น ในเรื่องความเหนียวแน่นติดกับวัสดุแล้ว กาวซิลิโคนชนิดที่ไม่ใช่กรดกินขาด ติดดีกว่ามากๆ ถ้าจะใช้ซิลิโคนกรดขอแบบมียี่ห้อราคาสูงหน่อยก็จะดี เช่นกาวแดงที่ใช้ทำปะเก็น เป็นต้น ลองดูนะครับได้ผลต่างกันอย่างไรก็ช่วยบอกหน่อยนะครับ แต่ราคาต่อกรัมหรือต่อซีซีซื้อแบบโซนี่ปริมาณคุ้มกว่าครับแต่ราคามากกว่าก็แล้วแต่นะครับ

ปัญหาของวัสดุ กาวซิลิโคน

1.  ปัญหาอย่างแรกคือซิลิโคนแดงๆหรือซิลิโคนโรลเลอร์ที่เขาขาย มีความแข็งที่ใช้งานอย่างน้อย 60-80 shoreA แต่ซิลิโคนกาวตามท้องตลาดแข็งสุดก็แค่ 30 shoreA มันนิ่มเกินไปสำหรับงานนี้ ทำอย่างไรดีครับ

2.  ปัญหาอย่างที่สองคือ กาวซิลิโคนชนิดนี้ไม่เหมาะกับงานหล่อตันเพราะมันควบคุมการแข็งตัวที่ผิวไม่ได้ถ้าจะรอมันแข็งก็คงจะใช้เวลานานมากเป็นอาทิตย์ละมั้ง แล้วจะใช้แบบอะไรหล่อขึ้นมาล่ะครับ ความรู้เดิมที่ได้มาจากเรื่องซิลิโคนก็มีส่วนผสมที่ทำให้มันแข็งทั้งก้อนได้ด้วยการผสมกลีเซอรีน แต่มันไม่เหมาะกับซิลิโคนกาวชนิดที่ไม่ใช่กรด ไม่เวิกครับ

ท่านผู้อ่านครับ ถ้าท่านได้เรียนรู้เรื่องซิลิโคนในบทก่อนๆที่ผมเขียนไปแล้วช่วยแก้ปัญหาให้ทีครับ

 

อันนี้เป็นปัญหาหน้างานจริงแล้วครับ วิธีแก้มันมีหลายกรณีเยอะแยะประยุกต์ได้หลากหลาย ในที่นี้เราใช้ซิลิโคนกาว และ ต้องการคุณสมบัติที่ทนความร้อนได้ดีอย่างน้อย180-200 C ในเวลาสั้นๆผมเลยเสนอแก้ปัญหาดังนี้

1. การแก้ปัญหาเรื่องความแข็ง ต้องการปรับซิลิโคนกาวโซนี่ให้ได้ความแข็งอย่างน้อย 50 shoreA ขึ้นไปผมคงต้องผสมอะไรลงไปในเนื้อซิลิโคน แต่ผมคงไม่ได้ใช้การกวนผสมแล้วทาเพราะกลัวว่ามันจะแข็งซะก่อน แต่ที่คิดเป็นการทาซิลิโคนลงบนไฟเบอร์กลาสน่าจะช่วยได้ ให้ผิวมีความนิ่มยืดหยุ่นมีความหนาไม่เกิน1มิล ส่วนที่เหลือก็เป็นไฟเบอร์กลาสและชั้นของซิลิโคนสลับกับไฟเบอร์กลาส

2. ส่วนเรื่องการหล่อตันจริงๆทำได้แต่ใช้เวลามากกว่าแล้วต้องคิดเยอะกว่ามากสรุปว่ายากกว่า แต่ถ้าเป็นการทาซิลิโคนลงไปทีละเลเยอร์แล้วมันก็จะแห้งง่ายใช้เวลาแข็งประมาณ1วันก็แข็งใช้งานได้แล้ว  อย่างนี้ก็แก้ปัญหาได้แล้ว

(ส่วนเรื่องการหล่อตันนั้นต้องทำโมล์ประกบที่มีความซับซ้อนพอสมควรและต้องผสมซิลิโคนกับวัสดุคอมโพสิตให้มีความแข็งเพิ่มขึ้นทำการหล่อทีละด้านแล้วมาประกอบกันอ่าครับซับซ้อนซ่อนเงื่อนเสียเวลามากมาย ถ้าอยากหล่อจริงๆเทครั้งเดียวจบควรใช้ซิลิโคนชนิดหล่อจะใช้ซิลิโคนทำโมลด์หรือซิลิโคนทนความร้อนสูง(ความแข็งสูง60shoreA)เทลงในแบบหล่อก็จะดีกว่า การทำแบบหล่ออย่างน้อยก็ใช้เวลา2-3วันแล้วครับ ที่สำคัญก็คือต้องมีต้นแบบอีกด้วยได้มาจากการกลึงอีกต่างหากสรุปเสียเวลาและเสียเงินมากแน่นนอน ถ้าทำขายก็ว่าไปอีกอย่าง)

ไฟเบอร์กลาสที่ใช้ทานั้นพอดีผมมีเหลือ มันเรียกว่าผ้าตาช่ายไฟเบอร์ มันเป็นไฟเบอร์กลาสชนิดตารางสำหรับทากันซึมดาดฟ้าหรือหลังคาของ TOA ใน1นิ้วมีช่องว่างหรือตารางนับได้ประมาณ17ช่อง

zoom in mesh and detail on TOA fiber glass mesh for roof seal 201
หน้าตาของตาข่ายไฟเบอร์ของTOA fiber glass mesh สำหรับเสริมแรง รองพื้นดาดฟ้า ทาด้วย roof seal 201 หรือ sun block จะเห็นได้ว่ามันเหมาะจะเอามาใช้กับงาน diy อะไรก็ได้ มีช่องว่างเยอะมากถึง 17 ช่องต่อนิ้ว ความหนาในแต่ละชั้นของแผ่นไฟเบอร์คือ0.1มิลลิเมตร เนื้อไฟเบอร์กินพื้นที่มากกว่าช่องว่าทำให้มีความแข็งแรงสูง และช่องว่านี้เองน้ำยาอะไรก็ซึมผ่านได้ดี เหมาะกับงานที่ต้องการความละเอียดและแข็งแรง

ราคาณ ปัจจุบันที่กำลังเขียนอยู่ตกม้วนใหญ่ละ 780- ราคาค่อนข้างสูง หาซื้อได้ตามโฮมโปรหรือร้านขายสีใหญ่ๆถึงจะมีขาย ถ้าถามว่าจะใช้อย่างอื่นได้ไหมเพราะซื้อมา1ม้วน ตัดมาสองเส้น เส้นละนิ้วๆกว่าดูจะไม่คุ้มเงิน ผมก็เลยลองค้นๆดู พบว่า จะใช้มุ้งลวดที่เป็นอลูมิเนียมก็ได้ หรือจะใช้มุ้งไฟเบอร์ก็ได้ หาซื้อได้ตามร้านอลูมิเนียมทั่วไปซื้อง่ายกว่าเยอะ และราคาซื้อก็ซื้อเป็นเมตรก็ได้เขาก็ขาย แต่ถ้าให้ทำงานง่ายผมแนะนำมุ้งไฟเบอร์มากกว่าแต่การทนความร้อนจะต่ำกว่าอลูมิเนียม เข้าใจว่ามุ้งไฟเบอร์คงมีการเคลือบมาและเป็นการเคลือบด้วยพีวีซี มันจึงเป็นข้อจำกัดของพีวีซีที่ทนความร้อนได้ไม่สูงเท่ากาวซิลิโคน

ข้อมูลของ มุ้งไฟเบอร์ ที่ใช่ทำมุ้งหน้าต่างกันแมลง
ภาพขยายและข้อมูลเชิงลึกของมุ้งไฟเบอร์ พบว่ามีส่วนผสมของไฟเบอร์กลาส32% ที่เหลือคือpvc ที่เคลือบอยู่มีปริมาณมากถึง 68% ฉะนั้นมันจึงทนความร้อนได้ไม่มากและแน่นอนคือ pvc ติดไฟ แต่มีช่องว่างใกล้เคียงกันคือประมาณ17ช่องต่อนิ้ว ความหนาของเส้นไฟเบอร์เคลือบอยู่ที่0.28มิลลิเมตร เนื้อไฟเบอร์เคลือบpvcมีพื้นที่น้อยกว่าช่องว่างอย่างเห็นได้ชัดจึงมีความโปร่งกว่ามาก

การทนความร้อนได้ไม่สูงของ มุ้งไฟเบอร์เคลือบพีวีซี พีวีซีทนความร้อนที่อุณหภูมิใช้งานต่อเนื่องเพียงแค่80-90องศาC จึงอาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีนักในการเอามาใช้ทำลูกกลิ้งร้อน แต่ไฟเบอร์กลาสหรือแก้วใช้งานได้ถึง280-300C (ถ้าคิดว่าpvcที่อยุ๋ในซิลิโคนไหม้เป็นถ่านหรือละลายอยู่ภายในซิลิโคนก็เหมือนส่วนผสมถ่านลงไปในซิลิโคนก็พอได้มั้ง)  ส่วนมุ้งไนล่อนทนการใช้งานต่อเนื่องได้100-110C ตัวเลือกวัสดุอีกอย่างคือผ้าขาวบางที่ทำจากฝ้ายหรือมัสลิน(ทำจากเซลลูโลสธรรมชาติ) จะทนความร้อนต่อเนื่องได้100-110c(หาง่ายดีถูก ที่อุณหภูมิเกิน250C มันก็จะเริ่มลุกไหม้หรือกลายเป็นถ่านหรือขี้เถ้าอยู่ภายในฉะนั้นก็เพิ่มความแข็งให้ยางซิลิโคนได้โดยไม่ต้องผสมแต่ใช้ทาลงไป แต่เท่าที่เข้าใจอุณหภูมิที่แผ่ไปถึงใยฝ้ายไม่เกิน150C) ไม่ควรใช้ผ้าพันแผลที่ทำจากผ้าฝ้ายเพราะมันยืดได้ทำงานยากและความแข็งก็ไม่คงทีอีกด้วย

ผ้าขาวบาง ที่ใช้กรองตอนทำอาหาร เอาแบบไม่ถี่ และไม่ยืดตัวจะดีกว่าแบบยึดตัวได้ เพราะจะทำงานง่ายกว่า
ผ้าขาวบาง ผ้ามัสลิน หรือผ้าตารางที่ทำจากเซลลูโลส หรือฝ้าย ที่ใช้กรองตอนทำอาหาร เอาแบบไม่ถี่มากจนไม่เห็นช่องว่างระหว่างเส้นด้าย และไม่ยืดตัวจะดีกว่าแบบยึดตัวได้ เพราะความแข็งที่ได้จะค่อนข้างคงที่และจะทำงานง่ายกว่า

ผ้ามัสลิน รูปก็ก็อบมาดูเหมือนยังไม่ถูก http://www.pui108diy.com/wp/wp-content/uploads/2015/07/muslin-cooking-filter.jpg

หรือจะใช้ผ้าโพลีเอสเตอร์ที่เป็นตารางประมาณพวกผ้าสกรีนที่ใช้ในงานพิมพ์ซิลสกรีน ทนอุณหภูมิต่อเนื่องได้ 130-135C  การทนต่ออุณหภูมิใช้งานของใยชนิดต่างๆผมหาได้จากเว็บนี้ คืออุณหภูมิที่ให้เป็นตัวอย่างนี้มันสามารถใช้งานได้โดยไม่เสียคุณภาพของเส้นใยทางเคมี แต่ในทางฟิสิกส์อีกเรื่องหนึ่งนะครับเช่นพวกที่ละลายได้เช่นพวกโพลีเอสเตอร์แรงดึงในผ้าหรือการยืดตัวจะเปลี่ยนไปเมื่อได้รับแรงดึงเป็นต้น

ที่ผมเลือกเป็นผ้าตารางๆเพราะต้องการทาปาดลงไปให้กาวซิลิโคนทะลุลงไปติดกาวชั้นล่าง โดยใช้หลักการเหมือนการปาดสีบนผ้าสกรีน เนื้อกาวชั้นบนที่ถูกปาดลงไปจะถูกดันให้กาวผ่านช่องตารางและแรงดันดังกล่าวทำให้กาวจะแผ่เป็นเลเยอร์ทั้งหมดแม้อยู่ใต้เส้นใยของผ้าสกรีนมันจะไม่มีช่องอากาศหรือเส้นที่เป็นตารางอยู่เลย ถ้าเอากล้องส่องดูงานพิมพ์จะไม่เห็นช่องตารางของเส้นใยแต่อย่างใด (ข้อสงสัยนี้เคยถามเพื่อนที่เรียนพวกงานพิมพ์ที่อยู่บางมดมันอธิบายได้จนผมเข้าใจ)


รูปสกรีนที่ลิงค์จากเว็บนี้ http://www.bestdealonshirts.com/wp-content/uploads/2015/04/Screen-Printing-Service-300×200.jpg
ดูเหมือนจะยังไม่ถูก

ยังไงก็ตามผมเลือกใช้ตาข่ายไฟเบอร์กลาส เพราะต้องการให้ทนได้คุณสมบัติที่ดีใกล้เคียงกับที่เขาขายกัน วัสดุพื้นฐานทางเคมีคงครบแล้ว

ทากาวซิลิโคนบนแผ่นตารางใยแก้วทาทับบนลูกปืน apply silicone glue with fiber mesh on bearing
ภาพการทากาวซิลิโคนบนแผ่นตารางใยแก้วทาทับบนลูกปืนที่เตรียมเอาไว้

เอาล่ะครับทำเสร็จแล้วได้หน้าตาแบบนี้ เด๋วผมค่อยมาเขียนวีธีทำต่อนะครับ

 

ลูกกลิ้งซิลิโคน(สำหรับกดกลิ้งร้อนเชื่อมแผ่นคูนิล่อน) DIY-pressure silicone roller from (silicone glue) for Tarpaulin welding
หน้าของลูกกลิ้งซิลิโคนที่ทำเสร็จแล้วครับ (สำหรับกดกลิ้งร้อนเชื่อมแผ่นคูนิล่อน) DIY-pressure silicone roller from (silicone glue) for Tarpaulin welding ใช้กาวซิลิโคนทำขึ้นมาละเลงกาวเป็นชั้นๆบนใยแก้วชนิดตารางห่าง ภายในมีลูกปืน4ตัว ก้านโลหะดำๆทำจากซี่ประตูยืดที่เรียกว่าเหล็กดอกไม้ ติดด้วยกาวอีพ็อกซี่บนด้ามไม้สำหรับด้ามตะไบ

อ่ะครับผมออกแบบลูกกลิ้งตัวนี้แบบชนิดไม่ต้องขึ้นเครื่องกลึงสำหรับประกอบแบริ่ง เพราะไม่อยากเสียค่ากลึงและวัสดุกลึงอีก ก็เลยต้องใช้ลูกปืนมากถึง 4 ลูกแทนแต่ต้องมีทริ๊กนิดนึงให้มันเรียงตัวได้และอยู่ในแกนหมุนเดียวกันก่อนจะละเลงซิลิโคน แน่นอนครับวัสดุทุกอันหาได้ตามร้านทั่วไปด้งต่อไปนี้

วัสดุที่ต้องเตรียมมีดังนี้

  1. กาวซิลิโคนสีขาว(หรือดำหรือใส) ยี่ห้อ Dexerials (หรือ ยี่ห้อsony เดิม ไปซื้อร้านต้องบอกโซนี่ตามร้านฮาร์ดแวร์ทั่วไป) ราคาประมาณ 160 บาทมั๊ง ลืมไปแล้ว
  2. ตาข่ายไฟเบอร์ของTOA หรืออย่างอื่นตามที่แนะนำ ตัดให้มีหน้ากว้าง31.5 มิล ยาว 2เมตร  น่าจะพอนะ เอา 3 เมครเลยก็ได้ จำไม่ค่อยได้แล้วแฮะ
  3. กาวลาเท็กซ์ TOA สำหรับทากันซิลิโคนติด ใช้ยี่ห้ออะไรก็ได้มีขายตามร้านเครื่องเขียน
  4. ลูกปืน เบอร์ 628zz หรือลูกปืนเบอร์628แบบมีฝาปิด2ข้างและมีจารบีภายใน จำนวน 4 ลูก ซื้อแบบยี่ห้อถูกที่สุดในร้าน  ประมาณลูกละ 40บาท*4=160บาท เมื่อลองเปิดดาต้าชีทของSKF(ลูกปืนฝารั่งแบบแพง)  เขาใช้ชื่อว่า 628-2Z  d*D*B= 8*24*8 mm =ขนาดรูใน*ขนาดวงนอก*ความหนาลูกปืน ลูกปืนเบอร์นี้แต่ละลูกรับแรงกดแบบไม่หมุน( basic load static) 1.66 kN หรือประมาณ 166 กิโลกรัมได้อย่างสบาย ใช้ไป4ลูกรับน้ำหนักได้ 600 kg จะเห็นว่าถ้ามันหมุนมันจะรับน้ำหนักได้อีกเท่าตัว(dynamic =3.9kN) (คงเลือกแล้วดูเป็นแล้วนะครับอยากใช้ใหญ่เล็กก็ตามสะดวก ผมชอบSKFมากก็ตรงนี้แหละครับมีดาต้าชีทให้เลือกใช้ ถ้าเป็นพวกลูกปืนมอเตอร์ก็แนะนำSKF อย่าใช้ของถูกๆแบบถูกเว่อร์ๆมันจะใช้ได้ไม่นาน เพราะลูกปืนอาจไม่กลมเท่าไหร่ และอย่าใช้ของมือสองเพราะมันอาจหมดสภาพแล้วเฉพาะมอเตอร์นะ ยี่ห้ออื่นๆก็ดีเหมือนกัน ญี่ปุ่น ,เยอรมัน ถ้าไม่มีก็ใช้ได้ดี เช่น NTN NSK KOYO ,FAG แต่แนวๆจีนไม่ควรใช้ ) ลูกปืนที่ใช้กับลูกกลิ้งนี้น่าจะของจีนยี่ห้อNHKแบรนด์จนทะเบียนบริษัทในไทยแต่ไม่ได้ใช้กับมอเตอร์ไม่แคร์ถูกๆก็ใช้ได้628 bearing data information SKF
  5. แหวนอีแปะขนาดวงนอกประมาณ 40มิล แหวนอีกแปะขนาดรองลงมา รองลงมาอีกเบอร์ และแหวนอีแปะขนาดรูใน8มิล อย่างละ 2 อัน น็อตหัวจมหรือหัวเหลี่ยม M8x60 1ตัว และ หัวน็อต  สำหรับประกอบก่อนทากาว ดังรูป วิธีการประกอบลูกปืนกับแหวนต้องละเอียดนิดนึงคือ ต้องเล็งแหวนวงใหญ่สุด40มิลให้ได้เซนเตอร์เดียวกับลูกปืนใช้เวลาสักนิดนึงไม่ต้องรีบร้อน ถ้าเล็งไม่ตรงศูนย์เดียวกัน เวลากลิ้งลูกกลิ้งที่ทำเสร็จแล้วมันจะกลายเป็นลูกเบี้ยวแทนลูกกลิ้ง ต้องเล็งต้องวัดอย่างละเอียดมากๆ ผมใช้เวอร์เนียร์วัดดูความลึกระหว่างปีกแหวนด้านนอกกับวงลูกปืนด้านนอกทุกด้านต้องลุกเท่ากันอ่ะครับ ถ้าไม่มีก็ใช้ไม้บรรทัดเหล็กก็ได้เล็งๆไปเด๋วก็ได้เอง ขันน็อตค่อยๆแล้วก็เคาะแหวนเบาๆไปเรื่อยๆ แล้วค่อยๆขันให้แน่นขึ้นจนแน่นมากไม่หลุดเลื่อน

    bearing_washer_bolt assembly before apply silicone glue
    หน้าตาของลูกปืน แหวน และน็อต เมื่อประกอบเสร็จ แหวนใหญ่กับลูกปืนต้องได้ศูนย์เดียวกันทุกตัวของลูกปืนและแหวนใหญ่ ลูกปืนมันถูกบังคับโดยน็อตหัวจม โดยแรกสุดต้องเคาะลูกปืนทุกตัวให้ติดกับน็อตด้านนึงให้แน่นเป็นภาคแรก จริงๆระยะช่องว่างระหว่าลูกปืนกับน็อตประมาณ0.1 มิล(เพราะน็อตมันยาวจึงไม่ใช่เกลียวตลอดจะใช้น็อตยาว65หรือ70ก็ได้ปลอดภัยดี อย่างไรก็ตามก็ต้องเคาะลูกปืนให้ติดกับน็อตข้างใดข้างนึงก่อนเพราะถ้ามีการเหลื่อมกันมันจะกลิ้งไม่สมูท
  6. อุปกรณ์ในการทาซิลิโคนคือ การ์ดพลาสติกแข็งๆ ตัดให้ได้ความกว้างประมาณ31.5มิลลิเมตร สำหรับทำการปาดซิลิโคนบนลูกปืนที่อยู่ระหว่างร่องระหว่างแหวน ลูกปืน4ลูกเมื่อเอามาเรียงกันจะมีความกว้าง32มิลเป๊ะๆๆ
  7. ความกล้าที่จะทำเสีย หรือความกล้าได้กล้าเสีย หรือความกล้าที่ทำแล้วได้ของดี จริงๆก็ไม่เคยทำเหมือนกันหวั่นๆอยู่แต่ความหวั่นมันแค่10เปอร์เซนต์เอง ทำได้ชัวร์ เพราะคิดก่อนแล้วจึงทำงับ
  8. เมื่อทาเสร็จแล้วก็ต้องหาก้านเหล็กแบนๆมายึด ผมใช้ซี่เหล็กประตูยืดโดยเอาใบเลื่อยๆไปเลื่อยประตูยืดตึกแถวข้างบ้านมา1อัน เอ้ยไม่ใช่ ไปร้านเหล็กหาซื้อซี่ประตูยืดที่ชื่อว่าเหล็กดอกไม้ อันยาวราคาอันละ15บาท ขนาดพอดีสำหรับทำก้าน หนา 4 มิล มันหนามากงอไม่ลงง่ายๆ จริงๆทำเสียไป1 อันแล้วล่ะครับ อันที่เห็นในรูปมันทำอีกอันอัน เพราะตอนงอใช้ปากกาเล็กๆจับแลัวใช้ค้อนทุบ ปรากดว่าเบี้ยวพยายามดัดไปมาอยู่นานเพราะต้องการให้ได้มุมสวยๆ เลยเอาสกัดเคาะทำมุมเอาไว้นิดนึงจะได้ดัดง่ายๆ ใช้ค้อนปอนด์เคาะโป๊กๆๆ ปรากดว่าหักครับเพราะมุนดัดมันน้อย ก็เลยเอาไปเจียให้บางบริเวณที่จะดัดงงอให้มันบางเหลือ3มิล แล้วจึงมางอดูปรากดว่าเวิร์กครับ
    ซี่เหล็กดอกไม้ สำหรับประกอบบนประตูยืด
    ซี่เหล็กดอกไม้ (มันเป็นภาษาช่าง ต้องไปร้านขายเหล็กรูปพรรณที่มีเหล็กขนาดไม่ใหญ่หลายๆแบบ ถ้าเขาไม่รู้ก็บอกว่าซี่เหล็กประตูยืด เขาถามว่าเป็นอย่างไร ก็ชี้ไปที่หน้าบ้านเขาอ่ะ) ชนิดซี่ยาวสำหรับประกอบบนประตูยืด ทีซื้อมามีรูเรียบร้อยแล้ว เจาะเพิ่มอีกหน่อยให้เป็น 8 มิล ตัด เอาไปเจียออกให้เหลือความหนาประมาณ3มิล สำหรับส่วนที่จะดัด แล้วก็ดัดด้วยปากกาจับเหล็กและเอาค้อนทุบ หรือไม่ก็เอามืองอเอาเลยก็ได้เพราะ ความหนา 3 มิล มันงอง่ายกว่า 4 มิลมากมายนัก

    curved steel bar -DIY pressure silicone roller
    ซี่เหล็กดอกไม้ที่ผ่านกระบวนการแล้ว ทั้ง เจาะ เจีย ดัด พร้อมใช้ประกอบกับงานแล้ว
  9. ด้ามไม้งานจะไบด้ามใหญ่ อันละ15บาทมั้งจำไม่ได้แล้ว แล้วก็กาวอีพ็อกซี่ ยี่ห้อตลาดๆเช่น Altheco ประมาณ70 บาทสำหรับทาก้านติดกับด้ามไม้ ทีผมเลือกใช้คือแบบใส

 

ขั้นตอนการทำ ดูในวีดีโอเลยครับ

 

ในช่วงกลางๆของวีดีโอมีการทดสอบหรือวัดความแข็ง เป็นการวัดความแข็งด้วย มิเตอร์วัดความแข็งยาง สเกลที่ใช้คือ shoreA การวัดความแข็งดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปเพียง 1 วัน คือมันยังไม่แข็งสนิทดี ในวีดีโอความแข็งยางซิลิโคนโซนี่อยู่ที่ 10-15 แต่เมื่อมันแข็งสนิทดีแล้วความแข็งจะได้อยู่ ที่ 20 shoreA เป็นมาตรฐาน

ผมได้ตัวอย่างยางซิลิโคนโซนี่เมื่อ 10 ปีก่อนเก็บไว้ตั้งนานแล้ว กับของปัจจุบันเมื่อเปลี่ยนชื่อยี่ห้อแล้วตอนนี้ความแข็งมาตรฐานมันอยู่ที่ 20 shoreA เหมือนเดิม

โดยความเป็นจริง ซิลิโคนโรเลอร์หรือลูกกลิ้งซิลิโคน ยางที่ขายอยู่ตามท้องตลาดจะมีความแข็งประมาณ 80 shoreA ซึ่งหล่อเป็นก้อนหนาๆได้ และซิลิโคนชนิดเทหล่อเองได้ความแข็ง80shoreAในปัจจุบันในประเทศไทยก็ยังไม่มีเจ้าไหนเอาเข้ามาขาย ถ้าจะใช้ก็ต้องสั่งให้เขาหล่อมาหรือไม่ก็สั่งน้ำยาเข้ามาเอง ยิ่งมีความแข็งมากก็ยิ่งมีความหนืดสูง ผสมยาก และต้องเข้าตู้สูญญากาศด้วยไม่งั้นฟองตรึม

ซิลิโคนโซนี่มีความแข็งยางอยู่ที่ 20 shoreA

รอรูปประกอบนิดนึงนะ

ความแข็งของลูกกลิ้งซิลิโคนอยู่ที่ 40-50 shoreA แต่ผิวกดลงเพียง 1 มิลลิเมตรเท่านั้นแต่ใช้งานได้ดีพอสมควรครับ เพราะใช้หลักการของล้อรถเข็น ความแข็งจึงไม่ได้เท่ากับ 80 shoreA แต่ใช้งานได้เหมือนกัน ที่ผิวมีความยึดหยุ่นดีมาก และที่สำคัญคือเอากาวซ่อมได้ ถ้าเป็นพวก 80 shoreA ผิวเสียแล้วก็ต้องเอาไปขัดกระดาษทรายออก ถ้าหลุดเป็นร่องลึกก็ต้องทิ้งอย่างเดียว

รูปประกอบรอนิดนึง

การใช้กาวความแข็ง 20 shoreA มาใช้งาน ทำลูกกลิ้งยางครั้งนี้ เคล็ดลับอยู่ที่เนื้อซิลิโคนเพียวๆที่ไม่มีไฟเบอร์กลาสจะมีความหนาไม่เกิน1มิลจากผิวลูกกลิ้ง ถ้าลองเอานิ้วกดดูพบว่าเนื้อลูกกลิ้งที่ลึกลงไปมากกว่า 1 มิลจะเอานิ้วกดไม่ลง เพราะไฟเบอร์กลาสมันรับเอาไปหมดแข็งมากและหนักมากด้วย จริงๆผิวที่ใช้ก็แค่ 1 มิลเท่านั้นแหละครับ ถ้าหาลูกกลิ้งเหล็กมาแล้วเอากาวซิลิโคนทาลงไปให้ได้ความหนา 1 มิล ก็ใช้งานได้เหมือนกันไม่ได้ยุ่งยากอะไร ถ้าใช้งานไม่ได้หนักมากก็หาลูกกลิ้งยางที่มีขายตามท้องตลาดมาเคลือบกาวให้มีความหนา 1 มิลก็ใช้งานได้แล้วครับ อย่าไปซีเรียสอะไร ลองหาวิธีอื่นๆที่ง่ายกว่านี้ก็ได้นะครับ หลักการคล้ายๆกับรูปล้อข้างล่าง ยูรีเทนเหลืองๆจะใช้สำหรับเทหล่อให้ติดก้บวงล้อเหล็กสีดำ

การทำลูกกลิ้งซิลิโคนด้วยกาวก็เหมือน ล้อรถเข็นแบบเฮวี่ดิวตี้ โครงเป็นเหล็กผิวล้อเป็นยางหนาไม่ถึง8มิล ความแข็งยางยูรีเทนเหลืองๆนี้ ประมาณ 90 shoreA เวลาเข็นจะไม่กระแทก แต่ละล้อรับน้ำหนักได้1ตัน (แล้วแต่การออกแบบ)

ดูเหมือนภาพนี้จะมาจาก http://img2.plazathai.com/uppic/5c/08045fb7eb969bfdae70e9db1ad83f5c.jpg

ตอนแรกผมขี้เกียจทำ จะเอาไม้นวดแป้งซิลิโคน หรือซิลิโคนลูกกลิ้งที่ใช้กลิ้งแป้งทำอาหารมาดัดแปลงๆ แต่คิดไปคิดมามันก็หลายตัง(อันละ200อัพ) แล้วต้องดัดแปลงหลายรอบ …ทำใหม่ดีกว่าง่ายกว่า ทาๆกาวกลิ้งๆนี่ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง เตรียมของก็เป็นวัน คิดออกก็หลายวันกว่าจะลงใจว่าวิธีนี้ดี

อย่างไรก็ตามตอนท้ายวีดีโอผมลองใช้ตัวเป่าลมร้อนของ dremel รุ่น versatip มาเป็นตัวเป่าลมร้อนพบว่ามันทำความร้อนได้พอสมควร แต่ไม่ค่อยดีไม่ร้อน ไม่ได้ดั่งใจเหมือนกับในวีดีโองานเชื่อมของฝาหรั่ง ก็เลยเป็นโปรเจ็คอีกรอบคือ ตอนทีสองครับ

ส่วนตัวเป่าลมร้อนดรีมเมลผมก็ยังดัดแปลงต่อเพราะนึกว่าที่มันไม่ร้อนก็เพราะลมมันเป่าออกน้อยไป ลืมนึกไปถึงเรื่องความร้อนหรือเปลวไฟมันเล็กให้ความร้อนน้อยไป ด้นไปเสียเงินกับท่อทองแดง ดัดแปลงให้เข้ากับ หัวเป่าลมร้อน dremel ประมาณ 500 บาทได้ แล้วเอาปั๊มลมที่ใช้กับอ๊อกตู้ปลาแต่มีขนาดใหญ่หน่อยมาต่อเข้าไปหาท่อลมซิลิโคนมาติดกับท่อทองแอง   ไม่น่าทำเลยเสียเงินซื้อทองแดงมาฟรี(แพงด้วยโดยเฉพาะท่อ 7/8 นิ้ว เมตรละ 400 บาท)   รูปตัวอย่างงานที่ผิดอยู่ข้างล่างแล้วครับ

อย่างที่เห็นในรูป มีข้อต่อทองแดงเป็นลำ ปลายถูกทุบแบน ได้ความกว้างของปากแบน 20 มิลลิเมตร มีท่อขาวๆคือท่อซิลิโคนต่ออกมาไปเข้ากับปั๊มอ๊อกตัวใหญ่ พบว่ามันให้ความร้อนไม่เพียงพอ คือไม่ร้อนอ่ะ ดีไซน์ก็มั่วๆมีข้อผิดวพลาอยู่เยอะเลย เพราะส่วนใหญ่ถ้ามันใช้งานได้ท่อทองแดงจะต้องร้อนเกือบ400 องศาC ดันใช้กาวซิลิโคนมาเชื่อม รูในขาวๆคือยางซิลิโคนที่เป็นซีลเอาไปประกอบกับหัวเป่าลมร้อนดรีมเมล  สรุปคืองานที่ผิดพลาด ผมลงให้ดูด้วยเพื่อเป็นตัวอย่างความผิดพลาด
อย่างที่เห็นในรูป มีข้อต่อทองแดงเป็นลำ ปลายถูกทุบแบน ได้ความกว้างของปากแบน 20 มิลลิเมตร มีท่อขาวๆคือท่อซิลิโคนต่ออกมาไปเข้ากับปั๊มอ๊อกตัวใหญ่ พบว่ามันให้ความร้อนไม่เพียงพอ คือไม่ร้อนอ่ะ ดีไซน์ก็มั่วๆมีข้อผิดวพลาอยู่เยอะเลย เพราะส่วนใหญ่ถ้ามันใช้งานได้ท่อทองแดงจะต้องร้อนเกือบ400 องศาC ดันใช้กาวซิลิโคนมาเชื่อม รูในขาวๆคือยางซิลิโคนที่เป็นซีลเอาไปประกอบกับหัวเป่าลมร้อนดรีมเมล สรุปคืองานที่ผิดพลาด ผมลงให้ดูด้วยเพื่อเป็นตัวอย่างความผิดพลาด

เอาล่ะครับ จบแล้วรอตอนต่อไป

 

 

 25,599 total views,  5 views today

Comments

comments

เผยแพร่โดย

pui

เรียน อนุบาลวัฒนา อัสสัมชัญ พระจอมเกล้าลาดกระบัง ทำงาน ซ่อมบำรุงเครื่องจักร ออกแบบโรงงาน ทีปรึกษาซ่อมเครื่องจักร อดิเรก ทำเว็บ ทำงานประดิษฐ์ ปลูกต้นไม้ เขียนบล็อก ทำสมาธิวิปัสสนา อนาคต ขายของ บวช เข้าถึงธรรมะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *